Krishnamurti Subtitles

MA7879T4 - อะไรนำมาซึ่งความไร้ระเบียบในความสัมพันธ์

พูดต่อสาธารณชนที่มัทราส (เชนไน) อินเดีย ครั้งที่ 4
วันที่ 7 มกราคม 1979



0:22  เราควรจะนั่งเงียบๆ กันสักครู่
หรือว่าคุณต้องการให้ผมพูดเลย
  
0:24   
 
0:45  ผมไม่เคยเข้าร่วมประชุมที่ไหน
 
0:53  มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ผมไปงานประชุม
ทางการเมืองในประเทศนี้...
  
1:00  ...แล้วดร. บีเซนต์บอกว่า
"อยู่ห่างๆ การเมืองไว้นะ"
  
1:19  บ่อยครั้งที่ผมสงสัยว่า...
 
1:22   
 
1:27  ...เหตุใดเราถึงมารวมกัน
เพื่อฟังใครคนหนึ่งพูดเช่นนี้...
  
1:34  ...ด้วยความอยากรู้อยากเห็น
เอาจริงเอาจังครึ่งๆ กลางๆ...
  
1:38   
 
1:40  ...แต่ไม่ได้ต้องการจะเปลี่ยนแปลง
ชีวิตของตนอย่างสิ้นเชิงจริงๆ
  
1:48  เราค่อนข้างจะเป็นคนที่ทำอะไร
ครึ่งๆ กลางๆ ไม่เคยทำถึงที่สุด...
  
1:55  ...ไร้พรสวรรค์ ไร้อัจฉริยภาพ
 
1:58   
 
2:05  อัจฉริยภาพที่ผมพูดถึงนี้
ไม่ได้หมายถึงความสามารถพิเศษ...
  
2:08   
 
2:15  ...หรือพรสวรรค์ด้านใดโดยเฉพาะ
แต่เป็นอัจฉริยภาพของจิต...
  
2:19   
 
2:24  ...ที่เข้าใจชีวิตทั้งหมดอย่างรอบด้าน
ซึ่งก็คือชีวิตของเรา...
  
2:31   
 
2:34  ...ที่เป็นอยู่อย่างสลับซับซ้อนยิ่ง
ทั้งยังขัดแย้งในตัวเองและไร้สุข
  
2:38   
 
2:44  เมื่อเราฟังสิ่งที่ผู้พูด
พูดมาทั้งหมดแล้ว...
  
2:48   
 
2:55  ...เราก็จากไป
ด้วยความเข้าใจเพียงบางส่วน...
  
2:59   
 
3:04  ...ทั้งยังไม่มีความตั้งใจอันแน่วแน่
 
3:08  ...และไม่ได้ใส่ใจอย่างจริงจัง
ที่จะให้เกิดการปฏิวัติหยั่งลึกลงในจิตใจ
  
3:12   
 
3:15   
 
3:23  เรามักสงสัยว่า ทำไมมนุษย์
ถึงทนอยู่ได้กับการดำรงชีวิตเยี่ยงนี้
  
3:27   
 
3:31   
 
3:37  คุณอาจจะตำหนิสภาพแวดล้อม
กล่าวโทษสังคม...
  
3:41   
 
3:46  ...หรือองค์กรทางการเมือง...
 
3:52  ...แต่การกล่าวโทษผู้อื่น
ก็แก้ปัญหาให้เราไม่ได้
  
4:00  ชีวิตของเราดูเหมือนจะสูญเปล่า
โดยปล่อยให้ล่องลอยไป...
  
4:06   
 
4:12   
 
4:17  ...ถ้าไม่ไปทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำ
อีก 50 ปี หรือประมาณนั้น...
  
4:20   
 
4:24  ...แล้วก็เกษียณเพื่อรอวันตาย
หรือไม่ก็อยู่อย่างซังกะตาย...
  
4:27  ...พร่ำบ่น หรือร่วงโรยไปเงียบๆ
 
4:32  แต่เมื่อเรามองดูชีวิตของเรา...
 
4:37  ...รวมทั้งความงาม
ที่พิเศษทั้งหมดของมัน...
  
4:45  ...มองดูความสำเร็จทางเทคโนโลยี
อันยิ่งใหญ่ของมนุษย์...
  
4:54  ...เราก็ได้แต่สงสัยว่า...
 
4:59  ...เหตุใดชีวิตของเรา
จึงมีความงามเพียงน้อยนิด
  
5:10  ความงาม ที่ผมหมายถึง ไม่ใช่เพียง
แค่ความงามที่ปรากฏเห็นชัดเจน...
  
5:12   
 
5:17   
 
5:20  ...หรือการประดับตกแต่ง
ภายนอกเท่านั้น...
  
5:25  ...แต่หมายรวมถึงคุณภาพ
ของการสื่อสารกับธรรมชาติได้ดีเยี่ยม
  
5:34  ถ้าเราขาดการติดต่อ
สัมพันธ์กับธรรมชาติ...
  
5:42  ...เราย่อมสูญเสียความสัมพันธ์...
 
5:49  ...กับเพื่อนมนุษย์คนอื่นๆ ด้วย
 
5:53  คุณอาจชอบอ่านบทกวี...
 
5:56  ...หรือชอบอ่านบรรดาโคลงกลอน
อันไพเราะ...
  
6:01  ...และชอบลีลาการบรรยาย
ถึงอารมณ์ของบทกวีที่น่าฟัง...
  
6:13  ...แต่จินตนาการก็มิใช่ความงาม
 
6:20  การชื่นชมเมฆและพิสมัยในแสงสี
ที่ฉายฉาบเมฆนั้น...
  
6:24   
 
6:32  ...หรือชื่นชอบสายน้ำที่ไหลริน
ขนานไปกับถนนอันแห้งผาก...
  
6:42   
 
6:49  ...หรือชอบดูนก
ที่เกาะอยู่บนกิ่งไม้...
  
6:55  ...เราแทบจะไม่เคยมอง
สิ่งที่เจริญใจทั้งหมดนั้นเลย
  
7:02  ...หรือไม่เคยชื่นชมหรือรักมัน
เพราะเรามัวแต่อยู่กับปัญหาของตัวเอง...
  
7:06   
 
7:12  ...หมกมุ่นกับความกังวลของเรา
กับแนวคิดแปลกๆ ของเรา
  
7:16   
 
7:21  เราไม่เคยเป็นอิสระเลย
 
7:25  ทว่าความงาม
คือภาวะแห่งอิสรภาพนี้เอง...
  
7:32  ...ซึ่งต่างกันอย่างสิ้นเชิง
กับการไม่พึ่งพิง
  
7:40  เมื่อคุณได้ฟังทั้งหมดนี้แล้ว
ผมไม่รู้ว่าคุณเข้าใจอย่างไรบ้าง
  
7:42   
 
7:50  ไม่ว่าเราจะเห็นสุนัขตัวหนึ่ง
แล้วรักมัน...
  
7:54   
 
8:01  ...หรือเห็นภูผา
หรือปุยเมฆที่ลอยผ่าน...
  
8:08  ...เมื่อใดที่เราขาดการสื่อสาร
ที่พิเศษกับโลก...
  
8:10  ...อันนำมาซึ่งความงามอันยิ่งใหญ่...
 
8:18  ...เราก็จะเป็นเพียง
มนุษย์ตัวเล็กๆ กึ่งสุกกึ่งดิบ...
  
8:23   
 
8:28  ...ทำให้ชีวิตอันพิเศษของเรา
สูญเปล่า...
  
8:36  ...การดำรงชีวิตสูญเสียความงาม
และความล้ำลึกไปหมดสิ้น
  
8:52  ผมเกรงว่าเราต้องกลับมาสู่
ความเป็นจริง
  
8:54   
 
9:02  ถึงแม้ว่าสิ่งนั้น
จะเป็นจริงด้วยเช่นกัน...
  
9:05   
 
9:08  ...หรือจริงอย่างยิ่ง
เช่นกิ่งไม้ ร่มเงา...
  
9:12  ...แสงที่สาดส่องกระทบใบไม้
หรือนกแก้วที่กระพือปีก...
  
9:17   
 
9:20  ...นั่นเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
เป็นจริงเหมือนกัน
  
9:25  เมื่อเราเข้าใจต้นปาล์มที่โอนเอน...
 
9:30   
 
9:32  ...และเข้าใจความรู้สึกทั้งปวง
ของชีวิต...
  
9:37  ...จากนั้นเราจึงจะมีความรู้สึกล้ำลึก
อันประเสริฐต่อความงามได้
  
9:43  แต่เรากลับไม่สนใจเรื่องเหล่านั้น
 
9:47  คุณสนใจไหม
ผมเกรงว่าพวกเราคงไม่สนใจ
  
9:50  เราจะฟังแล้วก็ปล่อยให้มันผ่านไป
 
9:55  มันอาจจะฟังดูเพ้อฝัน
หรือสะเทือนอารมณ์...
  
10:01  ...แต่ความงามไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน...
 
10:04  ...หรือเรื่องของอารมณ์
ความรู้สึกอ่อนไหว
  
10:09  แต่มันเป็นสิ่งที่แข็งแกร่งมาก...
 
10:15  ...ดั่งภูผาท่ามกลาง
สายน้ำอันเชี่ยวกราก
  
10:20   
 
10:29  เราจะพักเรื่องนั้นไว้ก่อน...
 
10:33  ...แล้วกลับมาดู
เรื่องที่พูดไว้เมื่อวานนี้...
  
10:43  ...ผมคิดว่ามีบางเรื่อง
ต้องทบทวนเช่นกัน...
  
10:48   
 
10:53  ...และหวังว่าคุณคงไม่รังเกียจ
หากผมจะพูดซ้ำอีกครั้ง
  
10:57   
 
11:02  เราบอกไว้ว่า...
 
11:11  ...ที่ใดมีจารีต
ที่นั่นย่อมไม่มีวัฒนธรรม
  
11:15   
 
11:24  จารีตสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่ง
สู่คนอีกรุ่นหนึ่ง...
  
11:28   
 
11:31   
 
11:38  ...เช่น แนวความคิด ความเชื่อ...
 
11:42  ...คุณค่า หลักการต่างๆ ทั้งหมดนั้น
ถูกจัดแบบแผนโดยปัญญานึกคิด...
  
11:47   
 
11:49   
 
11:54  ...และจารีตดังกล่าว
อาจยืนยงมาถึงสามพันปี...
  
12:02  ...หรือมีอายุเพียง 10 วันก็ได้
 
12:09  แต่ในผืนดินแห่งจารีตนั้น
วัฒนธรรมไม่อาจผลิบานได้
  
12:15   
 
12:19  วัฒนธรรม หมายถึง เติบโต พัฒนา
ไม่เฉพาะด้านปัญญานึกคิดเท่านั้น...
  
12:32   
 
12:36   
 
12:43  ...แต่หมายถึงชีวิต
โดยรวมทั้งหมดของเรา
  
12:50   
 
12:56  ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่โดยสมบูรณ์
ในทิศทางเดียวเท่านั้น...
  
13:01  ...เช่น ทางการเมือง
หรือมีอัจฉริยภาพในการใช้ถ้อยคำ...
  
13:08  ...หรือแกะสลักหิน หรือวาดภาพ...
 
13:14  ...แต่เพื่อพัฒนา บ่มเพาะจิต
และหัวใจของตนเองด้วย
  
13:21  แต่นั่นจะเป็นไปไม่ได้หากมีจารีต...
 
13:25  ...ซึ่งก็คือมีการสืบทอด
คุณค่าต่างๆ...
  
13:30  ...ในผืนดินเช่นนั้น
ไม่มีอะไรเติบโตได้
  
13:40  นั่นคือสิ่งที่เราพูดไว้เมื่อวานนี้
 
13:43  และเรายังได้พูดเกี่ยวกับกาลเวลา
ซึ่งเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อน...
  
13:49   
 
13:55  ...เราต้องสืบค้นและพิจารณากัน
 
13:57   
 
14:02  เราบอกว่ากาลเวลา
เป็นกระแสที่มีการแบ่งแยก
  
14:12  ถูกต้องไหม
 
14:15  แบ่งแยกเป็นเมื่อวานนี้
วันนี้และพรุ่งนี้...
  
14:22  ...ความรู้ซึ่งผู้คนสั่งสมไว้...
 
14:26  ...ทั้งทางวิทยาศาสตร์
และที่เรียกว่าทางศาสนา...
  
14:30   
 
14:33  ...ตลอดจนประสบการณ์ก็คืออดีต
 
14:41  และเมื่ออดีตบรรจบกับปัจจุบัน
ก็จะปรับเปลี่ยนตัวมันเองไปสู่อนาคต
  
14:45   
 
14:50  นั่นคือกระแสของกาลเวลาทั้งหมด
 
14:55  และเมื่อวานนี้เรายังพูดอีกด้วยว่า...
 
14:59   
 
15:05  ...จิตของเราถูกครอบงำหนักมาก
จนยอมรับว่า...
  
15:13  ...กาลเวลาเป็นหนทาง
ไปสู่ความเข้าใจ...
  
15:17  ...สู่ความมีความเป็น
การพัฒนาและวิวัฒนาการ
  
15:25  ชีวิตทั้งหมดของเรานับแต่วัยเด็ก...
 
15:29  ...มีพื้นฐานมาจากแนวความคิดนี้...
 
15:31  ...คือต้องการจะมีจะเป็น
ต้องการเติบโตและวิวัฒนาการ
  
15:38  ในแง่หนึ่งกาลเวลาก็มีอยู่จริง...
 
15:42   
 
15:46  ...วิวัฒนาการทางชีวภาพ
และกายภาพต้องอาศัยเวลา
  
15:53  การเจริญเติบโตจากเมล็ด
จนเป็นต้นโอ๊คต้องใช้เวลา
  
15:57   
 
16:01  และเรายังบอกด้วยว่า
ในทางจิตใจกาลเวลามิได้มีอยู่จริง
  
16:05   
 
16:14  ส่วนความคิดที่ว่า โดยอาศัยกาลเวลา
เพื่อเข้าใจเรื่องทางจิตใจ...?????
  
16:24  ...การจะเข้าใจจิตแห่งศาสนาได้จริงๆ
ต้องใช้เวลา...
  
16:27  ...ซึ่งเป็นเรื่องจริยธรรม ศีลธรรม
และจิตวิญญาณ...
  
16:29  ...หากเราสามารถใช้คำว่า
"จิตวิญญาณ" ได้...
  
16:32  ...โดยไม่รู้สึกว่าเพ้อฝัน
หรือไร้สาระ...
  
16:41  ...การจะเข้าใจ
จิตแห่งศาสนาได้จริงๆ...
  
16:45  ...กาลเวลากลับเป็นปัจจัย
ที่นำพาไปสู่หายนะ
  
16:50  นั่นเป็นสิ่งที่เราได้พูดกัน
เมื่อวานนี้
  
16:53   
 
17:02  ถ้าทำได้เราต้องสืบค้น
ว่าอะไรคือระเบียบ
  
17:07   
 
17:12  ขอให้ฟังอย่างเดียว...
 
17:20  ...อย่าเพิ่งเห็นด้วย
หรือไม่เห็นด้วย...
  
17:24  ...ให้เรารับรู้เหมือนกับที่
เรารับรู้ว่ามีลมพัดโชยมา...
  
17:31  ...ดังนั้นในลักษณะเดียวกัน
ขอให้ฟังเฉยๆ...
  
17:36  ...ระเบียบคือการเรียงลำดับ
ในเนื่อที่ว่าง
  
17:46  คุณเข้าใจไหม
 
17:48  ไม่เข้าใจซิ
 
17:53  เราบอกว่าระเบียบจะมีไม่ได้
หากไม่มีการเรียงลำดับ...
  
17:59   
 
18:07  ...และไม่มีเนื้อที่ว่าง
 
18:11   
 
18:18  เรากำลังจะตรวจสอบสิ่งนั้น
 
18:22  (วันนี้เกิดอะไรขึ้นกับผม...
 
18:23   
 
18:35  ...อาจจะเป็นเพราะอากาศร้อน
ผมไม่คุ้นเคยกับอากาศร้อนแบบนี้)
  
18:38   
 
18:47  ชีวิตของเราไร้ระเบียบ สับสน
ขัดแย้งไม่ลงรอยกัน
  
18:54   
 
18:59  เราคุยกันแบบตรงไปตรงมา
 
19:03  ที่ใดมีความไม่ลงรอยกัน
ที่นั่นก็ไร้ระเบียบ
  
19:11  ที่ใดมีความสับสน ความขัดแย้ง
ที่นั่นก็ไม่มีระเบียบ
  
19:16   
 
19:20   
 
19:25  และในชีวิตความเป็นอยู่ของเรา
แต่ละวัน...
  
19:33  ...เป็นแหล่งรวมของความไม่ลงรอยกัน...
 
19:37  ...ความสับสน ความขัดแย้ง
และความไม่ซื่อตรงใช่ไหม
  
19:46  นั่นคือความเป็นจริง
 
19:48   
 
19:52  เราสงสัยว่าท่ามกลางความสับสนเช่นนี้
ระเบียบจะเกิดขึ้นได้หรือไม่
  
19:56   
 
20:02  เพราะหากขาดระเบียบ
ก็ย่อมไร้ประสิทธิภาพ...
  
20:05   
 
20:08  ...ทั้งทางปัญญานึกคิด...
 
20:10   
 
20:14  ...หรือถ้าคุณจะมีสมรรถภาพ
คุณก็ต้องมีระเบียบด้วย
  
20:19  ระเบียบไม่เกี่ยวกับความรู้สึกอ่อนไหว
หรือความคิดเพ้อฝัน
  
20:28   
 
20:31  ระเบียบเป็นการเรียงลำดับ
อย่างเป็นเหตุเป็นผล...
  
20:36  ...และสมเหตุสมผลปรกติอย่างยิ่ง
 
20:45  ดังนั้นเรากำลังสืบค้นว่า
ระเบียบคืออะไร...
  
20:48   
 
20:52  ...และเราจะมีระเบียบได้หรือไม่...
 
20:57  ...แต่ไม่ใช่ระเบียบ
ที่เป็นแบบพิมพ์เขียว...
  
21:00   
 
21:04  ...ไม่ใช่สิ่งที่ถูกกำหนดโดยจารีต
ประเพณี โดยคุรุ หรือโดยผู้นำ...
  
21:09  ...หรือด้วยความอยาก
และแรงขับเล็กๆ น้อยๆ ต่างๆ ของเรา...
  
21:16  ...แต่เรากำลังจะสืบค้นว่า
ระเบียบที่ยั่งยืนคืออะไร
  
21:20   
 
21:24   
 
21:31  คุณสนใจเรื่องนี้บ้างไหม
 
21:38  เราจะนำระเบียบ
มาสู่ชีวิตของเราได้อย่างไร...
  
21:44  ...เพื่อว่าจะได้
ไม่มีคู่ตรงกันข้าม...
  
21:50  ...หรือไม่มีทวิภาวะ ความไม่ลงรอยกัน
ความไม่ซื่อตรง...
  
21:53  ...ทั้งด้านการเมือง ศาสนา...
 
21:57  ...หรือในความสัมพันธ์
ระหว่างกันและกันของเรา
  
22:06  คุณสนใจเรื่องนี้ไหม
 
22:09  หรือคุณต้องการให้ผมพูดเรื่องสมาธิ
 
22:17  คุณจะได้หนีเข้าสู่มายาบางอย่างได้
แล้วคิดเอาว่าคุณกำลังทำสมาธิ
  
22:19   
 
22:24  คุณเห็นไหมว่า หากชีวิตประจำวัน
ของเราปราศจากระเบียบ...
  
22:27   
 
22:36  ...ไม่ว่าคุณจะทำอะไรก็ตาม
สมาธิก็เกิดขึ้นไม่ได้
  
22:39   
 
22:42  ใช่ไหม
 
22:45  ดังนั้นเรากำลังวางรากฐาน
ของสิ่งที่เป็นสมาธิ
  
22:51   
 
22:59  ถ้าเราตระหนักรู้จริงๆ ว่า
ชีวิตในแต่ละวันของเราเป็นอย่างไร...
  
23:05   
 
23:11  ...มันไร้ระเบียบเพียงใด...
 
23:14  ...หรือขัดแย้งในตัวเองอย่างไร...
 
23:19  ...ชีวิตถูกควบคุมด้วยความอยาก
อันหลากหลาย...
  
23:27  ...เช่น การแสวงหาอำนาจ
ตำแหน่งหน้าที่...
  
23:33  ...ดำรงชีวิตอย่างยโส
และหลงตนลืมตัว...
  
23:39  ...แต่ในขณะเดียวกันก็พูดถึงผู้คน...
 
23:43  ...ความดีงาม และอ่านหนังสือต่างๆ...
 
23:48  ...คุณก็รู้ว่าคุณไม่ได้จริงจังอะไร
กับสิ่งทั้งหมดนั้น
  
23:51   
 
23:54  ซึ่งทั้งหมดนั้นชี้ให้เห็นว่า
นั่นเป็นชีวิตที่ไม่ซื่อตรงเลย...
  
24:01  ...เป็นชีวิตซึ่งเต็มไปด้วย
ความขัดแย้งในตัวเองใช่ไหม...
  
24:07   
 
24:15  ...เหมือนกับทนายความชั้นยอด...
 
24:21  ...ที่สามารถโต้แย้ง
เอาชนะอีกฝ่ายหนึ่ง...
  
24:24  ...แล้วหลบไปสวดอ้อนวอน
ตามวัดที่อยู่ห่างไกล
  
24:27  คุณเข้าใจความขัดแย้ง
ไม่ลงรอยกันนี้ไหม
  
24:31  แต่พวกเขาไม่ตระหนักในเรื่องนี้กันเลย
 
24:38  ดังนั้นก่อนอื่น
(วันนี้เสียงไม่ค่อยดี ขออภัยด้วย)...
  
24:42   
 
24:50  ...ก่อนอื่นจะต้องตระหนักรู้ว่า
ชีวิตของเราไร้ระเบียบเพียงใด
  
24:52   
 
24:56  เพียงตระหนักรู้มัน...
 
24:59  ...ไม่ใช่จะทำอย่างไรให้มีระเบียบ
เกิดขึ้นในความไร้ระเบียบ...
  
25:05  ...กรุณาตั้งใจฟังให้ดี...
 
25:07  ...ไม่ใช่ปัญหาว่าจะทำอย่างไร
ให้เกิดระเบียบขึ้นในความไร้ระเบียบ...
  
25:11  ...แต่ให้เข้าใจธรรมชาติ
ของความไร้ระเบียบ
  
25:15  ถูกไหม
 
25:17  เมื่อผมเข้าใจธรรมชาติ
ของความไร้ระเบียบ...
  
25:20  ...จากความเข้าใจนั้น...
 
25:24  ...หรือจากความเป็นจริง
ที่เห็นได้ชัดนั่นเอง...
  
25:30  ...ความงามแห่งระเบียบ
ก็จะปรากฏขึ้น...
  
25:35  ...โดยมิได้ยัดเยียด
หรือใช้กฎระเบียบบังคับ...
  
25:37   
 
25:42  ...หรือกดข่ม หรือเอาอย่างกัน...
 
25:51  ...แต่จากการสืบสวน
ความไร้ระเบียบนั่นเอง...
  
25:56  ...ระเบียบก็จะปรากฏขึ้นมา
ตามธรรมชาติ
  
25:58  ถูกไหม
 
25:59  ตรงนี้คุณเข้าใจไหม
 
26:02  ทีนี้เราลองทำดู
 
26:07  ประการแรกขอให้เราตระหนักรู้...
 
26:11  ...ในฐานะมนุษย์
ผู้มีความสามารถพิเศษยิ่ง...
  
26:13   
 
26:19  ...ดูสิว่าด้านเทคโนโลยี
มนุษย์ได้สร้างสิ่งต่างๆ มากมายมหาศาล
  
26:22   
 
26:30  และในฐานะมนุษย์
ผู้มีความสามารถพิเศษมากเหลือเกิน...
  
26:34   
 
26:39  ...เราได้คิดค้นแนวความคิด
หลักการ ข้อคิดเห็น...
  
26:46  ...และการสร้างแนวคิด
ทางศาสนาเกือบจะทุกรูปแบบ...
  
26:48  ...ทั้งยังได้ประดิษฐ์พิธีกรรมต่างๆ
ทางศาสนาขึ้นมา...
  
26:51   
 
26:54  ...ซึ่งบางอย่างก็งดงามที่สุด
แต่กลับไม่มีความหมายอะไรเลย
  
27:02  สำหรับจิตใจของมนุษย์นั้น...
 
27:07  ...ผมไม่ทราบว่าคุณเคยสำรวจ
จิตใจของคุณเองบ้างไหม
  
27:15  หากคุณเคยสังเกตดูจะพบว่า...
 
27:20  ...คุณสมบัติแห่งจิตใจมนุษย์นั้น
ยิ่งใหญ่นัก
  
27:23  ขอบคุณพระเจ้า!
 
27:32  และเพื่อท้าทายจิตใจเช่นนั้น...
 
27:39  ...เพื่อเรียกร้องให้มันทำงาน
เต็มขีดความสามารถสูงสุดของมัน
  
27:42   
 
27:48  คุณจะสังเกตดูจิตใจของคุณ
ในขณะที่เรากำลังพูดกันอยู่นี้ไหม...
  
27:52   
 
27:54  ...จิตใจของคุณ...
 
27:57   
 
28:00  ...ไม่ได้เป็นแค่กิจกรรมของประสาท
สัมผัสในลักษณะต่างๆ เท่านั้น...
  
28:05  ...แต่จิตใจของคุณยังรวมถึงอารมณ์...
 
28:11  ...ความเอ็นดู ความรัก
ความใส่ใจ ความตั้งใจ...
  
28:13   
 
28:17  ...สมรรถนะทางปัญญานึกคิด
และความรู้สึกแห่งรักอันยิ่งใหญ่...
  
28:21   
 
28:26  ...ทั้งหมดนั้นคือจิตใจ
ความเป็นทั้งหมดของจิตใจ
  
28:30   
 
28:33  คุณเข้าใจที่ผมพูดไหม
 
28:37   
 
28:39  ...เพื่อท้าทายจิตใจให้ทำงาน
เต็มขีดความสามารถอันเลิศสุดของมัน
  
28:44   
 
28:51  เพราะถ้าคุณไม่ท้าทายมัน
คุณก็จะดำรงอยู่อย่างไร้ระเบียบต่อไป
  
28:57   
 
29:01  ทั้งหมดนี้คุณตามทันไหม
 
29:04  ดังนั้นเราจึงสืบค้นว่า
เป็นเพราะอะไร...
  
29:10   
 
29:14   
 
29:16  ...หรือทำไมมนุษย์จึงยอมรับ
การดำรงอยู่อย่างไร้ระเบียบ...
  
29:21  ...มาเป็นศตวรรษแล้วศตวรรษเล่า...
 
29:26  ...ทั้งในทางการเมือง ศาสนา
เศรษฐกิจ สังคม...
  
29:29  ...และในความสัมพันธ์ระหว่างกัน
 
29:33  คุณเข้าใจไหม
 
29:37  ทำไมเราจึงยอมรับการดำรงชีวิตแบบนี้
 
29:54  แล้วคุณคาดหวังคำตอบจากใครกัน
 
29:59  คุณเข้าใจไหม
 
30:01  การท้าทายหมายความว่า
คุณจะต้องตอบสนอง...
  
30:11  ...และตอบสนอง
ด้วยสมรรถนะสูงสุดของคุณ...
  
30:20  ...โดยไม่รอให้ผู้พูดตอบ
หรือบอกว่าจะต้องตอบสนองอย่างไร
  
30:23   
 
30:27  ตามทันไหมครับ
 
30:30  คุณเข้าใจที่ผมพูดบ้างไหม
 
30:34  ผมกำลังท้าทายจิตใจของคุณอยู่
 
30:38  ผู้พูดบอกให้คุณ
ใช้สมรรถภาพสูงสุดของคุณ...
  
30:44   
 
30:53  ...ใช้พลังทั้งหมดของคุณ
ค้นหาว่าเป็นไปได้หรือไม่...
  
31:00   
 
31:03  ...ที่จะดำรงอยู่ในโลก
ซึ่งกำลังเสื่อมสลาย ฉ้อฉล ไร้ศีลธรรม...
  
31:05   
 
31:13  ...โดยที่คุณยังสามารถดำรงชีวิต
อันปกติ ชีวิตที่เป็นทั้งหมด...
  
31:17  ...ไม่มีการแบ่งแยกใดๆ เลย
ได้หรือไม่ นั่นคือสิ่งที่ท้าทายคุณอยู่
  
31:21  คุณเข้าใจไหมครับ
 
31:24  คุณจะตอบสนองมันอย่างไร
 
31:34  คำว่า 'เป็นทั้งหมด' ประการแรก
หมายถึงมีสุขภาพดี
  
31:43  ทั้งร่างกายและจิตใจ...
 
31:50   
 
31:53  ...พร้อมด้วยสมรรถภาพทั้งปวง
ของจิตใจ และด้วยสุขภาพจิตที่ปกติ
  
31:58   
 
32:02  และคำว่า 'เป็นทั้งหมด' ยังหมายถึง
เป็นองค์รวม...
  
32:05   
 
32:12  ...หรือศักดิ์สิทธิ์อีกด้วย
นั่นคือทั้งหมดแห่งชีวิต
  
32:18  ดังนั้นเราจึงถามคุณ
ในฐานะที่เป็นมนุษย์คนหนึ่ง...
  
32:21   
 
32:27  ...คุณได้ตระหนักรู้หรือไม่ว่า
ความไร้ระเบียบอย่างสิ้นเชิง...
  
32:32  ...และกระบวนการเสื่อมสลาย
กำลังเกิดขึ้นในโลก...
  
32:35  ...ทั้งรอบๆ ตัวคุณ และในตัวคุณเอง
 
32:41  คุณตระหนักถึงมันไหม
 
32:49  ตระหนักรู้ด้วยการเฝ้าสังเกต
สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริงๆ...
  
32:52   
 
32:58  ...ไม่ใช่จินตนาการหรือนึกคิดเอา
ว่าอะไรกำลังเกิดขึ้น...
  
33:01   
 
33:06  ...แต่เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นจริง
ทั้งด้านการเมือง ศาสนา สังคม...
  
33:10   
 
33:13  ...และความเสื่อมถอย
ทางศีลธรรมของมนุษย์
  
33:16   
 
33:24  และไม่มีสถาบันใด คุรุคนไหน...
 
33:29   
 
33:31  ...หรือหลักการสูงส่งอันใด
จะสามารถยับยั้งการเสื่อมถอยนี้ได้
  
33:34   
 
33:43  เราตระหนักรู้ถึงสภาพเช่นนี้ไหม
 
33:46  ถ้าเรารู้ แล้วเราควรจะทำอย่างไรต่อไป
 
33:51   
 
33:55  ถูกไหม
 
33:57  ใช่ไหมครับ เราควรจะทำอย่างไร
 
33:59   
 
34:02  คุณทำอะไรบ้าง - ไม่ใช่ในอนาคตนะ
แต่ในขณะนี้คุณทำอะไรบ้าง
  
34:08   
 
34:11   
 
34:21  คุณจะไปเข้าร่วมกับกลุ่ม
หรือนิกายบางกลุ่ม...
  
34:25  ...หรือคุณจะไปเป็น
ลูกศิษย์คุรุบางคน...
  
34:29  ...หรือคุณจะหันกลับไปสู่
จารีตเก่าแก่...
  
34:31  ...ทำพิธีกรรม หรืออะไรบางอย่าง
ที่เคยทำๆ กันมา...
  
34:34  ...เพื่อหลีกหนีจากความเป็นจริง...
 
34:38  ...ที่ว่าสมองกำลังชราและเสื่อมสลาย
 
34:42   
 
34:49  หรือว่าคุณกับผม...
 
34:58  ...จะร่วมกันสืบค้น หรือสำรวจว่า
เพราะเหตุใดมนุษย์จึงเป็นแบบนี้
  
35:02   
 
35:09  มันกำลังเกิดขึ้นทั่วโลก...
 
35:11  ...ไม่ใช่เฉพาะแต่ในดินแดน
แห่งจิตวิญญาณนี้เท่านั้น
  
35:17  ขออภัยที่ใช้คำว่า
'จิตวิญญาณ'...
  
35:19  ...เพราะคุณภาคภูมิใจ
ในวัฒนธรรมของคุณเหลือเกิน
  
35:30  เหมือนกับที่นักการเมืองคนหนึ่งพูดว่า
ชาติของเราเก่าแก่มาก...
  
35:36  ...วัฒนธรรมของเราก็มีมาแต่โบราณกาล
 
35:42  นั่นทำให้เขารู้สึกมีศักดิ์ศรี
แต่ในจิตใจของเขา...
  
35:49   
 
35:53  ...คุณก็รู้ว่ามันเป็นอย่างไร
ผมไม่จำเป็นต้องบอกคุณ
  
35:59  ดังนั้นเราควรจะทำอย่างไรกันดี
 
36:05  ผมขอเสนอแนะว่า
ก่อนอื่นเราควรจะมองดูชีวิตของเรา...
  
36:07   
 
36:13  ...ว่าจริงๆ มันเป็นอย่างไร...
 
36:16  ...กำลังเกิดอะไรขึ้นในชีวิตของเรา...
 
36:19  ...เพราะการดำเนินชีวิตของเรา
ก็คือสังคม
  
36:24  ถูกไหมครับ
 
36:25  คุณเข้าใจไหม
 
36:27  เห็นด้วยไหมครับ
 
36:29  การกระทำทั้งหลาย
ในชีวิตของเราก็คือสังคม...
  
36:35  ...และคุณมิอาจจะเปลี่ยนแปลง
สังคมได้...
  
36:40  ...นอกจากคุณจะเปลี่ยนแปลง
ตัวคุณเองก่อน
  
36:44  นั่นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ชัดเจนมาก
 
36:49  พวกคอมมิวนิสต์ นักประชาธิปไตย...
 
36:50  ...นักสังคมนิยม
ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้
  
36:57  ไม่ว่าการอ่านคัมภีร์ภควัตคีตา
หรืออุปนิษัทของคุณก็ช่วยไม่ได้...
  
37:02  ...หรือคุณจะหันมาสนใจอย่างจริงจัง
ว่าพุทธศาสนาสอนอะไร...
  
37:07  ...หรือจะทำสมาธิแบบเซ็น
คุณก็รู้ว่าไม่มีอันไหนแก้ไขสังคมได้...
  
37:10   
 
37:16  ...ไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้นทุกวันนี้
 
37:20  ดังนั้นเรามามองดูว่า...
 
37:28  ...เกิดอะไรขึ้นกับชีวิตของเรา
ชีวิตแต่ละวันของเรา
  
37:30  ชีวิตประจำวันของเรา
อยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์
  
37:35  คุณไม่อาจดำรงอยู่ได้
หากปราศจากความสัมพันธ์
  
37:38   
 
37:44  ถูกไหม
 
37:47  ความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน
ของเราเป็นอย่างไร...
  
37:54  ...ไม่ใช่คุณสองคนนั่งด้วยกันนะ
ผมไม่ได้หมายความอย่างนั้น...
  
37:59  ...แต่หมายถึงความสัมพันธ์
กับภรรยาหรือสามีของคุณ...
  
38:02  ...กับเจ้านาย กับคนงาน
หรือกับเพื่อนบ้านของคุณ...
  
38:05  ...ความสัมพันธ์ระหว่างกันและกัน
เป็นอย่างไร
  
38:13  ในความสัมพันธ์นั้น
มีระเบียบอยู่หรือไม่
  
38:24  ไม่ใช่กิจกรรม
ที่มีตัวตนเป็นศูนย์กลาง...
  
38:27  ...ตัวตนหนึ่ง
เป็นปรปักษ์กับตัวตนอื่น...
  
38:30  ...คุณตามทันไหม
นั่นเป็นความไม่ลงรอยกัน
  
38:36   
 
38:40  ผมอาจจะแต่งงานแล้ว
มีลูก มีเพศสัมพันธ์ และอื่นๆ...
  
38:43   
 
38:47  ...แต่ถ้าผมยึดตัวตนเป็นศูนย์กลาง
สนใจแต่เรื่องของตัวเอง...
  
38:52  ...เช่น ความสำเร็จ
ความทะเยอทะยาน สถานภาพ...
  
38:55   
 
39:00  ...และกังวลเกี่ยวกับ
อะไรต่อมิอะไรของผม...
  
39:05  ...ส่วนเธอก็เหมือนกัน
สนใจเฉพาะเรื่องของเธอเท่านั้น...
  
39:09  ...ปัญหาของเธอ ความงามของเธอ...
 
39:11  ...หน้าตาของเธอ
และอื่นๆ คุณก็รู้...
  
39:15  ...แล้วอย่างนี้ความสัมพันธ์
ระหว่างคนสองคนจะมีได้อย่างไรกัน
  
39:20  คุณเข้าใจทั้งหมดนี้ไหม
 
39:25  ถ้าคุณมีความเชื่ออย่างหนึ่ง
ส่วนอีกคนมีความเชื่ออย่างอื่น...
  
39:28   
 
39:32  ...หรือมีข้อสรุปอย่างอื่น
หรือมีความเชื่อฝังหัวอย่างอื่น...
  
39:36  ...ความสัมพันธ์
ระหว่างคนทั้งสองย่อมไม่มี
  
39:37  คุณไม่เคยสังเกตเห็น
สิ่งทั้งหมดนี้บ้างเลยหรือ
  
39:43  ดังนั้นเป็นไปได้หรือไม่...
 
39:47  ...ที่จะนำความเป็นระเบียบ
มาสู่ความสัมพันธ์ของเรา...
  
39:52  ...กับภรรยาหรือสามีของเรา
 
39:56  ไม่ใช่กับจักรวาล ไม่ใช่กับอวกาศ
และไม่ใช่กับพระเจ้า
  
39:59   
 
40:04   
 
40:06  พระเจ้าเป็นสิ่งประดิษฐ์ของความคิด
 
40:13  คุณสามารถมีความสัมพันธ์พิเศษ...
 
40:16  ...กับสิ่งต่างๆ ที่คุณประดิษฐ์ขึ้นมา
หรือกับมายาภาพต่างๆ
  
40:19   
 
40:23  แต่การมีความสัมพันธ์
กับภรรยาหรือสามี...
  
40:26   
 
40:32  ...และกับลูกๆ ของคุณ
เพื่อจะได้ไม่ขัดแย้งกัน
  
40:38  นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของระเบียบ
 
40:42  ถูกไหม
 
40:44  ใช่ไหมครับ
 
40:48  ทีนี้คุณจะนำระเบียบ
มาสู่ตรงนั้นได้อย่างไร...
  
40:50   
 
40:54  ...กรุณาตั้งใจฟัง
อย่างน้อยก็ฟังความงดงามของมัน...
  
40:57  ...ระเบียบคือการเรียงลำดับ
ในเนื้อที่ว่าง...
  
41:00  ...เรากำลังจะตรวจสอบเรื่องนี้กัน...
 
41:02  ...'เนื้อที่ว่าง' เราหมายถึงอะไร
'การเรียงลำดับ' หมายถึงอะไร...
  
41:05   
 
41:09  ...และ 'ระเบียบ' เราหมายถึงอะไร
 
41:25  ถ้าเราไม่มีความสัมพันธ์ต่อกันแล้ว
ความกลัวย่อมเกิดขึ้น
  
41:31   
 
41:34  ใครคนใดคนหนึ่ง
จะต้องข่มอีกฝ่ายหนึ่ง...
  
41:44  ...หรือไม่ก็ต่างคนต่างอยู่
แต่จะพบกันก็บนเตียงนอนเท่านั้น
  
41:54  ดังนั้นเราจึงดำรงชีวิต
ที่โหดร้ายต่อกัน
  
42:00  คุณไม่เคยสังเกต
เห็นสิ่งเหล่านี้บ้างหรือ
  
42:05  คุณไม่รู้เรื่องทั้งหมดนี้เลยหรือ
 
42:11  และมีวิธีใดบ้างที่เราจะทำให้เกิด
ระเบียบอันยืนยงตลอดไป...
  
42:18  ...ไม่ใช่วันนี้มีระเบียบ
พรุ่งนี้ไร้ระเบียบ
  
42:29  อะไรเป็นสาเหตุให้เกิด
ความไม่ลงรอยกันในความสัมพันธ์
  
42:45  ความไม่ลงรอยกัน
ระหว่างสิ่งที่ผมพูดออกไป...
  
42:48  ...กับสิ่งที่ผมต้องการจะพูดจริงๆ...
 
42:59  ...บางทีผมควรจะดื่มน้ำสักหน่อย
ก่อนจะมาที่นี่
  
43:05  Avanti (ต่อไปนะ)
 
43:06  ต่อไปนะ
 
43:10  อะไรทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างคุณ...
 
43:14  ...กับภรรยาหรือสามี
และกับลูกๆ ของคุณ
  
43:18  การแบ่งแยก คือ ความไร้ระเบียบ
 
43:21  ถูกไหม
 
43:23  ใช่ไหมครับ
 
43:26  การแบ่งแยกระหว่างชาวมุสลิม
กับชาวฮินดู ชาวยิวกับชาวอาหรับ...
  
43:32  ...คอมมิวนิสต์ เผด็จการกับเสรีนิยม
 
43:38  คู่ตรงกันข้ามเหล่านี้
เป็นเเก่นแท้ของความไร้ระเบียบ
  
43:44  ถูกไหม
 
43:48  ดังนั้นอะไรทำให้เกิดความไร้ระเบียบ
ในความสัมพันธ์ของมนุษย์เรา...
  
43:52  ...ทั้งกับคนที่สนิทกันมากที่สุด
และกับคนอื่นๆ
  
43:55  คุณเคยคิดถึงเรื่องนี้บ้างไหม
 
44:01  เอาเลยครับ
 
44:09  หรือว่าคุณกลัว
ที่จะมองดูความไร้ระเบียบนี้
  
44:19  เพราะเมื่อคุณตระหนักว่า
ภรรยากับตัวคุณ...
  
44:21   
 
44:24  ...หรือเมื่อสามีกับภรรยา
ตระหนักรู้ถึงความไร้ระเบียบนี้...
  
44:26   
 
44:30  ...ไม่ว่าทั้งสองคนจะยอมรับมัน
และอยู่กับมัน...
  
44:34  ...หรือเลือกจะวิเคราะห์ สืบค้น
สอบสวนมัน...
  
44:41  ...ซึ่งนั่นอาจจะนำมาซึ่ง
การเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวง...
  
44:45  ...จึงเกิดความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลง
 
44:48  คุณเข้าใจที่เราพูดกันไหม
 
44:53  หือ
 
44:57  ถูกไหมครับ
 
44:59  นั่นเพื่อนผม
อย่างน้อยผมก็พูดกับเขาได้
  
45:07  อะไรที่นำมาซึ่งความไร้ระเบียบ
 
45:19  ทีนี้ผมกำลังจะพูดถึงอะไรบางอย่าง
กรุณาตั้งใจฟังให้ดี...
  
45:23  ...เรากำลังสืบสวนกันอยู่
ผมไม่ได้บอกว่ามันถูกหรือผิด
  
45:28  มันคือความอยากใช่ไหม
 
45:40  ความอยาก ผมหมายถึง
การตอบสนองทางประสาทสัมผัส...
  
45:48   
 
45:57  ...พร้อมด้วยมโนภาพของมัน
ที่ความคิดสร้างขึ้น...
  
46:01  และการกระทำ แรงกระตุ้น
ของความอยากนั้น
  
46:07   
 
46:11  คุณเข้าใจไหม
 
46:17   
 
46:28  ความอยากที่ผู้พูดหมายถึง...
 
46:32   
 
46:35  ...กรุณาสืบค้นตามไปด้วย
อย่าเพิ่งยอมรับในสิ่งที่พูด...
  
46:37   
 
46:43  ...ความอยากหมายถึง
การรับรู้ การเห็น...
  
46:47  ...การเห็นทางประสาทสัมผัส
การกระทบ...
  
46:50   
 
46:52  ...ความรู้สึกทางประสาทสัมผัส...
 
46:56  ...และจากความรู้สึกของประสาทสัมผัส
เกิดเป็นมโนภาพ...
  
46:58   
 
47:01  ...ซึ่งความคิดสร้างขึ้น
แล้วความอยากก็เกิดขึ้น
  
47:03  อันนี้คุณเข้าใจไหม
 
47:07  ที่พูดนี่ชัดเจนไหมครับ
 
47:12  เมื่อคุณเห็นของสวยๆ งามๆ อย่างหนึ่ง
 
47:16  มีการเห็น การสัมผัส
การดมกลิ่น การลิ้มรส...
  
47:18   
 
47:21   
 
47:23  ...และเกิดความรู้สึกต่างๆ
ทางประสาทสัมผัส...
  
47:26   
 
47:30  ...ความรู้สึกซึ่งเข้าไปยึดเกาะ
กับมโนภาพที่ความคิดสร้างขึ้น...
  
47:35   
 
47:37  ...ก็จะเกิดเป็นความอยากขึ้นมา
 
47:40  ถูกไหม
 
47:43  ชัดเจนไหม
 
47:50  ดังนั้นเราจึงถามว่า...
 
47:54  ...การขาดความสัมพันธ์ระหว่างกัน...
 
47:59  ...เป็นเหตุปัจจัย
ของความไม่ลงรอยกันนี้ไหม...
  
48:03  ...ผมใช้คำว่า 'ความสัมพันธ์'
ในความหมายที่ถูกตรงของมัน...
  
48:07   
 
48:11  ....คือการเชื่อมสัมพันธ์
ระหว่างกันอย่างรอบด้าน...
  
48:16  ...ไม่ใช่เพียงแค่การสัมพันธ์กัน
ทางประสาทสัมผัส หรือทางเพศสัมพันธ์...
  
48:20  ...แต่เป็นการเชื่อมสัมพันธ์
กับผู้อื่นอย่างรอบด้าน...
  
48:22  ...ด้วยสมรรถทั้งหมดแห่งจิตคุณ
 
48:28  ความอยากไปปิดกั้นความสัมพันธ์
เช่นนั้นหรือไม่
  
48:38  ดังนั้นเรากำลังสอบสวนว่า
ความอยากใช่ความรักหรือไม่
  
48:40   
 
48:53  เพราะความกลัวมาควบคู่กับความอยาก...
 
49:01  ...และปัจจัยหนึ่งในหลายๆ ปัจจัย
ของความไร้ระเบียบก็คือความกลัว
  
49:10  ถูกไหม
 
49:15  พวกคุณต้องเอาตะเกียงเหล่านี้ไหม
คุณต้องเข้าใจทั้งหมดนี้ไม่ใช่หรือ
  
49:24  เฮ้อ (Phew)
 
49:35  ดังนั้นเราบอกว่า
ปัจจัยของความไร้ระเบียบ...
  
49:37   
 
49:44  ...ก็คือความอยากและความกลัว...
 
49:48  ...รวมทั้งการแสวงหาความพึงพอใจ
อย่างไม่สิ้นสุด
  
49:58  เราได้อธิบายไปแล้วว่า
ความอยากคืออะไร
  
50:04  ความอยากก่อให้เกิดเจตนา
 
50:12  เจตนาคือการกระทำ เป็นการกระทำ
อันมุ่งมาดของความอยาก
  
50:16   
 
50:20  ถูกต้องไหมครับ
 
50:24  ลองสืบสวนดู
 
50:27  ในการดำเนินชีวิตของเรา
ชีวิตของเรามีพื้นฐานมาจากความอยาก...
  
50:32   
 
50:36  ...มีเจตนาและการเติมเต็ม
ให้สมปรารถนา ความคับข้องใจจึงตามมาด้วย
  
50:42   
 
50:47  แล้วจากนั้นความกลัวก็เกิดขึ้น
ความกลัวมีหลายรูปแบบ
  
50:50   
 
50:53  เช่น กลัวจะไม่ประสบความสำเร็จ
กลัวตกงาน กลัวเหงาว้าเหว่...
  
50:56   
 
50:58   
 
51:00  ...กลัวไม่มีใครรัก หรือไม่ได้รักใคร
กลัวสูญเสียความผูกพัน...
  
51:04   
 
51:07   
 
51:11  ...กลัวความมืด กลัวเจ็บตัว และอื่นๆ
 
51:15   
 
51:22  คุณคุ้นเคยกับทั้งหมดนี้ดีใช่ไหม
 
51:27  ดังนั้นเราจึงบอกว่า
ปัจจัยหลักของความไร้ระเบียบ...
  
51:31   
 
51:34   
 
51:40  ...ก็คือการปฏิบัติการของความอยาก...
 
51:49  ...ที่มีภาพของความสำเร็จ
และความกลัวประกอบอยู่ด้วยเสมอไป
  
51:54  ความกลัวซึ่งมนุษย์ยังแก้ไม่ตก
เช่น กลัวความตาย...
  
52:04   
 
52:09  ...กลัวความเหงา
กลัวจะไม่เก่งพอ และอื่นๆ
  
52:15   
 
52:19  และอีกสาเหตุหนึ่งในหลายๆ สาเหตุ
ของความไร้ระเบียบก็คือ...
  
52:24  ...การแสวงหาความพึงพอใจ
อย่างไม่รู้จบสิ้น
  
52:31  ดังนั้นเรากำลังจะตรวจสอบ
ปัจจัยทั้งสามนั้นอย่างรอบคอบ...
  
52:36  ...เพราะสิ่งสำคัญสำหรับเราก็คือ
การทำให้เกิดระเบียบขึ้นมา...
  
52:42  ...และการจะทำเช่นนั้นได้...
 
52:44  ...เราจะต้องเข้าใจความสับสน
ที่มีอยู่ในชีวิตของเรา...
  
52:49  ...และความสับสนนี้ก็คือ
กิจกรรมของความอยากนี่เอง...
  
52:52   
 
52:56  ...โดยเปลี่ยนสิ่งที่มันต้องการ
ไปเรื่อยๆ
  
53:00  เมื่อคุณยังหนุ่มยังสาว
คุณอาจจะไม่ต้องการมีสถานภาพใหญ่โต...
  
53:05   
 
53:09  ...ไม่ได้ต้องการตำแหน่งหน้าที่สูงๆ
หรือความร่ำรวยมากมายนัก...
  
53:14  ...แต่เมื่อคุณอายุมากขึ้น
ทุกอย่างก็เปลี่ยนไป
  
53:19  เมื่อความตายใกล้เข้ามา
คุณต้องการบรรลุธรรม...
  
53:20  ...ต้องการเข้าถึงพระเจ้าและอื่นๆ
 
53:25  ดังนั้นสิ่งที่คุณอยากได้
เปลี่ยนไปตลอดเวลา
  
53:32  และความกลัวซึ่งเป็นปัจจัยหลัก
ปัจจัยหนึ่ง...
  
53:35   
 
53:38  ...ของความไร้ระเบียบ
ในความสัมพันธ์ของเรา...
  
53:42  ...ทั้งที่สนิทสนม
และที่ไม่คุ้นเคยกัน...
  
53:45  ...และการโหยหาความพึงพอใจ
ส่วนตัวของแต่ละคน
  
53:49   
 
53:58  ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยหลัก...
 
54:01  ...ที่หยั่งรากลึกซึ่งทำให้เกิด
ความไร้ระเบียบในชีวิตของเรา
  
54:13  เราได้อธิบายถึงกระบวนการ
ที่ความอยากเกิดขึ้น...
  
54:20  ...เมื่อเห็น เมื่อสัมผัส
ลิ้มรส ดมกลิ่น...
  
54:22   
 
54:24  ...คือมีการตอบสนอง
ทางประสาทสัมผัสต่างๆ...
  
54:28  ...จากการตอบสนองทางประสาทสัมผัส...
 
54:32  ...ความรู้สึกทางประสาทสัมผัส
ก็เกิดขึ้นด้วยกับการกระทบ...
  
54:34  ...จากนั้นความคิดก็พูดว่า
"ถ้าฉันได้สิ่งนั้นมา คงจะวิเศษมากเลย"
  
54:38   
 
54:43  ซึ่งก็คือความคิด
ที่สร้างมโนภาพขึ้นมาว่า...
  
54:48  ...คุณกำลังขับรถยนต์อย่างสนุกสนาน
 
54:53  นั่นคือการเคลื่อนไหวของความอยาก
 
54:57  แล้วเรากำลังจะถามว่า
ความกลัวคืออะไร
  
55:03  กรุณาสืบค้นไปพร้อมกับผม
ค้นหาด้วยตัวคุณเอง...
  
55:06   
 
55:09  ...เพราะเรามีชีวิตอยู่ด้วยความกลัว
มาทุกยุคทุกสมัย
  
55:15  สมองของเราดี
 
55:18  เรามีสมรรถนะ
ที่จะแก้ปัญหาความกลัวได้...
  
55:22  ...เราไม่จำเป็นต้องมีชีวิตอยู่
ด้วยความกลัว
  
55:24  การมีชีวิตอยู่กับความกลัว
ก็เหมือนอยู่ในความมืด
  
55:29  การมีชีวิตอยู่กับความกลัว
เป็นการปฏิเสธความงามแห่งชีวิต...
  
55:33   
 
55:37  ...ความงดงามของโลก
และความงามของท้องฟ้า
  
55:45  ดังนั้นเราต้องเข้าใจความกลัว...
 
55:48  ...ไม่ใช่ด้วยปัญญานึกคิด
หากแต่ขุดลึกจนถึงรากเหง้าของมัน
  
55:50   
 
56:03  ความกลัวคือกาลเวลา
 
56:17  ขอให้มองดูมันด้วยความรอบคอบ
 
56:22  มีความกลัวที่เกี่ยวกับร่างกาย...
 
56:25   
 
56:33  ...เช่น ความเจ็บปวดของร่างกาย
มีความทรงจำถึงความเจ็บปวดนั้น...
  
56:38  ...และหวังว่าความเจ็บปวดนั้น
จะไม่เกิดขึ้นอีก
  
56:43  นั่นคือช่วงแห่งกาลเวลา
 
56:46  ถูกต้องไหม คุณเข้าใจตรงนี้ไหม
 
56:50  ถ้าคุณยังไม่ได้ใส่ใจกับมัน
กรุณาใส่ใจด้วยเพราะว่ามันสำคัญมาก...
  
56:52  ...ที่เราจะต้องเข้าใจเรื่องนี้...
 
56:57  ...เพราะจิตใจ
เรียกร้องให้มนุษย์เป็นอิสระ...
  
57:04  ...เพราะเมื่อคุณเป็นอิสระแล้ว
ชีวิตจะแตกต่างไปโดยสิ้นเชิง
  
57:07   
 
57:12  และบุคคลที่แบกความกลัวเอาไว้
ไม่มีทางเป็นอิสระได้เลย
  
57:23  เมื่อจิตใจถูกครอบงำด้วยความกลัว
ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่จะมีความกระจ่าง...
  
57:28   
 
57:30  ...การหยั่งรู้ หรือการรับรู้สิ่งต่างๆ
ได้อย่างบริสุทธิ์และไม่บิดเบือน
  
57:34   
 
57:36   
 
57:45  ดังนั้นเราจึงบอกว่า กาลเวลา คือ
การเคลื่อนไหวของความกลัว
  
57:47   
 
57:49   
 
58:00  เช่น เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว
ผมได้รับบาดเจ็บ...
  
58:04  ...ความทรงจำถึงความเจ็บปวด
ทางกายนั้นยังมีอยู่...
  
58:08  ...และมีความกลัวว่า
มันอาจจะกลับมาอีก
  
58:11   
 
58:13   
 
58:16  ใช่ไหม
 
58:19  ถูกไหม
 
58:22  นั่นเป็นความกลัวอย่างหนึ่ง
 
58:23  เป็นความกลัวที่เกี่ยวกับร่างกาย
กลัวได้รับบาดเจ็บ...
  
58:26  ...กลัวต้องทนทรมานกับความเจ็บปวด
หรือกลัวการป่วยไข้...
  
58:29  ...และหวังว่ามันจะไม่กลับมาเป็นอีก
 
58:35  ทีนี้กรุณาฟังให้ดีๆ
เมื่อคุณได้รับบาดเจ็บทางกาย...
  
58:39  ...และเมื่อมันหายเป็นปกติแล้ว
คุณจะลืมมันไปทั้งหมดได้ไหม...
  
58:49  ...โดยไม่บันทึก
ในความทรงจำไว้เลยได้ไหม
  
58:51   
 
58:56  คุณเข้าใจไหม
คุณเข้าใจสิ่งที่ผมพูดไปแล้วไหม
  
58:58   
 
59:04  ผมแน่ใจว่าพวกเราส่วนใหญ่
ต้องเคยได้รับบาดเจ็บ...
  
59:06  ...ทางร่างกายกันมาบ้างแล้ว
ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง...
  
59:10  ...ซึ่งมีมากมายหลายแบบ
 
59:17  เมื่อมันเกิดขึ้น ขอให้สังเกตดูมัน...
 
59:20   
 
59:24  ...อย่าปล่อยให้สมอง
บันทึกความเจ็บปวดนั้นไว้
  
59:28   
 
59:37  คุณจะทำอย่างที่เราพูดกันไหม
 
59:40  เอาละ ลองมาดูกันสักหน่อย
 
59:43  ความสามารถของสมองอยู่ที่...
 
59:50  ...การบันทึก
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น
  
59:58  เช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์
บันทึกข้อมูล
  
1:00:03  คุณต้องเคยสังเกตเห็นมาบ้างแล้ว
 
1:00:07  สิ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกาย
ถูกบันทึกเอาไว้แล้ว
  
1:00:13  แล้วสิ่งที่ถูกบันทึก
ก็คือความทรงจำ...
  
1:00:21   
 
1:00:23  ...และความทรงจำถึงความเจ็บปวดนั้น...
 
1:00:27  ...ก็จะนำไปสู่ความกลัว
ว่ามันอาจจะเกิดขึ้นอีก
  
1:00:31  เรากำลังถามถึงสิ่งที่ธรรมดาๆ มาก
แต่ก็ละเอียดอ่อนแยบคายมาก
  
1:00:37  ขอให้สืบค้นเข้าไป
แล้วคุณจะเห็นด้วยตัวคุณเอง
  
1:00:40  เมื่อเกิดความเจ็บปวดทางร่างกาย...
 
1:00:43  ...แต่อย่าปล่อยให้มัน
กลายเป็นความทรงจำ
  
1:00:51  คุณเข้าใจไหมครับ
 
1:00:57  ที่ผมพูดไปคุณตามทันไหมครับ
 
1:01:04  เอาล่ะ เดี๋ยวนะ
 
1:01:08  เช่น คุณทำให้ผมเสียใจ
เรียกชื่อล้อเลียนผมต่างๆ นานา...
  
1:01:11  ...หรือคุณเยินยอผม
อย่างที่ใครบางคนพูดเมื่อวานนี้...
  
1:01:19  ...อย่าบันทึกคำยกย่องสรรเสริญ
หรือคำสบประมาทเอาไว้...
  
1:01:27  ...เพื่อที่สมองของคุณจะได้สดใหม่
 
1:01:34  เมื่อคุณบันทึกมันไว้
มันก็เป็นการเคลื่อนไหวของกาลเวลา
  
1:01:36   
 
1:01:40  ถูกไหม
 
1:01:42  ดังนั้นเราจึงบอกว่า
ความกลัวเป็นการเคลื่อนไหวในกาลเวลา
  
1:01:44   
 
1:01:56  เราเข้าใจได้เกี่ยวกับ
ความเจ็บปวดทางร่างกาย
  
1:01:59  ผมรู้ ผมสามารถสังเกตดูมัน
ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง...
  
1:02:03  ...ในขณะที่มันกำลังเกิดขึ้น...
 
1:02:05  ...ขอให้ใส่ใจมันมากๆ...
 
1:02:09  ...หรือไม่ก็ปล่อยให้มันเกิดขึ้น
โดยไม่เข้าไปยุ่งกับมันเลย
  
1:02:20  ผมกำลังบอกอะไรคุณบางอย่าง
ซึ่งเกิดขึ้นกับผู้พูดจริงๆ
  
1:02:22   
 
1:02:26  ผมไม่ได้สร้างเรื่องขึ้นมานะ
 
1:02:30  ความกลัวก็คือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น...
 
1:02:36   
 
1:02:41  ...หรือสิ่งที่ได้เกิดขึ้นมาแล้ว...
 
1:02:45  ...และยังมีความทรงจำ
เกี่ยวกับมันอยู่...
  
1:02:49  ...แล้วก็สร้างเรื่อง
จากความทรงจำนั้นขึ้นล่วงหน้า...
  
1:02:53  ...แล้วพูดว่า "ผมกลัว"
 
1:02:58  คุณเข้าใจไหม
 
1:03:00  นั่นคือการเคลื่อนไหวจากอดีต
ผ่านปัจจุบัน สู่อนาคต
  
1:03:07   
 
1:03:14  พวกเราส่วนใหญ่กลัวอะไรกันหรือ
 
1:03:19  มองตัวคุณเองซิครับ สืบค้นดู
 
1:03:22  คุณกลัวอะไร
 
1:03:24  ขณะนั่งอยู่ตรงนั้น
ในเวลานี้คุณไม่ได้กลัว
  
1:03:28  อันนี้ชัดเจน
 
1:03:32  แต่เมื่อคุณจากที่นี่ไปแล้ว
ความกลัวต่างๆ ทั้งในระดับจิตสำนึก...
  
1:03:39  ...หรือที่ซ่อนตัวอยู่ลึกๆ จะกลับมา
 
1:03:41   
 
1:03:46  คุณกลัวอะไรกันบ้าง
 
1:03:49  กลัวความตาย กลัวความเหงา...
 
1:03:52   
 
1:03:56  ...กลัวจะไม่ได้บรรลุธรรม
กลัวจะไม่ประสบความสำเร็จและมีเงินมากๆ...
  
1:04:03   
 
1:04:07  ...กลัวจะต้องเป็นรองคนอื่น...
 
1:04:12   
 
1:04:16  ...ไม่ว่าจะเป็นสามีหรือภรรยาก็ตาม
เรากลัวอะไรกัน
  
1:04:20   
 
1:04:39  คุณวิเคราะห์ได้หรือ
 
1:04:46  กรุณาตั้งใจฟัง
 
1:04:48  ในการวิเคราะห์มี...
(ขอบคุณครับ)
  
1:04:55   
 
1:04:58  ขอผมดื่มน้ำนะครับ
Audience:ครับ
  
1:05:01  Krishnamurti:มันอาจจะช่วย
แต่ผมไม่แน่ใจ
  
1:05:23  ...ในการวิเคราะห์
แสดงนัยอะไรหลายๆ อย่าง
  
1:05:28  มีผู้วิเคราะห์
และสิ่งที่จะถูกวิเคราะห์
  
1:05:31   
 
1:05:37  ถูกไหมครับ
 
1:05:39  ในการวิเคราะห์
แฝงนัยแห่งกาลเวลาอยู่ด้วย
  
1:05:46  คุณเข้าใจไหม
 
1:05:50  เช่น ผมต้องวิเคราะห์อยู่ตลอดเวลา
นั่นได้รวมกาลเวลาไว้ด้วยแล้ว
  
1:05:54  การวิเคราะห์ทุกๆ เรื่อง
จะต้องจบบริบูรณ์
  
1:06:02  มิฉะนั้นผมก็จะจำ
เมื่อความทรงจำนั้นยังดำเนินอยู่...
  
1:06:08  ...และคุณวิเคราะห์จากความทรงจำนั้น
 
1:06:10  เพราะฉะนั้นมันจึงไม่เคยจบบริบูรณ์
สักที คุณเข้าใจไหม
  
1:06:14  ไม่เป็นไร ขอให้คุณสืบค้นดู
 
1:06:19  ก่อนอื่นในการวิเคราะห์
จะมีผู้วิเคราะห์และสิ่งที่ถูกวิเคราะห์
  
1:06:20   
 
1:06:26  ผู้วิเคราะห์ก็คือสิ่งที่ถูกวิเคราะห์
 
1:06:30  ใช่ไหม
 
1:06:34  นั่นคือความคิดได้แบ่งแยกตัวมันเอง...
 
1:06:39  ...ออกเป็นผู้วิเคราะห์
และสิ่งที่ถูกวิเคราะห์
  
1:06:42  ดังนั้นมันได้สร้างการแบ่งแยกขึ้นมา
 
1:06:46  ในกระบวนการคิดนั้น
ความคิดจำกัด...
  
1:06:51  ...เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นส่วนเสี้ยว
และมีความสามารถที่จะแบ่งแยก
  
1:06:52   
 
1:07:00  อะไรก็ตามที่จำกัด
ย่อมสามารถแบ่งแยกได้เสมอ
  
1:07:04   
 
1:07:08  ส่วนอะไรก็ตามที่สมบูรณ์
ไม่อาจแบ่งแยกได้
  
1:07:14  ผมสงสัยว่าคุณจะจับใจความ
ทั้งหมดนี้ได้ไหม
  
1:07:20  กรุณาอย่าเห็นผมเป็นคุรุก็พอแล้ว
 
1:07:25  นั่นเป็นประการสุดท้าย
 
1:07:32  ดังนั้นเราบอกว่าการวิเคราะห์
จะไม่ช่วยแก้ไขปัญหา
  
1:07:41   
 
1:07:49  คุณอาจจะหาสาเหตุพบ
และการค้นพบสาเหตุและผลแห่งสาเหตุนั้น...
  
1:07:53   
 
1:07:56   
 
1:08:00  ...แล้วผลอันนั้นก็กลายเป็น
อีกสาเหตุหนึ่งของเหตุการณ์ถัดไปอีก
  
1:08:04  ดังนั้นมันจึงเป็นลูกโซ่ไปเรื่อยๆ...
 
1:08:07  ...จากเหตุกลายเป็นผล
แล้วผลกลายเป็นเหตุของอันถัดไป
  
1:08:09   
 
1:08:14  ถูกต้องไหม
 
1:08:16  ในวัฏจักรนั้นย่อมไม่มีคำตอบ
 
1:08:25  คุณจะต้องคิดด้วยตัวคุณเอง
หากคุณเป็นคนที่ชอบวิเคราะห์...
  
1:08:28   
 
1:08:32  ...เพราะเราคุ้นเคย
กับการวิเคราะห์มากเหลือเกิน...
  
1:08:36  ...ซึ่งปิดกั้นการรับรู้โดยตรง
 
1:08:41  ดังนั้นเราจึงถามว่า...
 
1:08:44  ...อะไรคือสาเหตุของความกลัว
ที่ไม่ธรรมดานี้...
  
1:08:48  ...ความกลัวที่มีอยู่ในมนุษย์
ทั้งในระดับจิตสำนึก...
  
1:08:53  ...และที่ซ่อนตัวอยู่ลึกๆ
 
1:09:12  ถ้าคุณสังเกตหรือมองดูความกลัว
ความกลัวไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริง
  
1:09:19   
 
1:09:25  คุณเข้าใจไหมครับ
 
1:09:26  คุณเพียงแต่บันทึกมันไว้
หลังจากที่มันจบไปแล้ว...
  
1:09:29  ...หรือไม่คุณก็คาดว่ามันจะเกิดขึ้น
ในอนาคตเท่านั้น
  
1:09:37  ถูกไหม
 
1:09:38  ผมไม่ทราบว่าคุณเข้าใจตรงนี้ไหม
 
1:09:40  ไม่เป็นไร ผมจะพูดอีกแบบหนึ่ง
 
1:09:44  ผมทำงานอย่างหนักให้คุณทำไมกัน
 
1:09:50  เมื่อวันก่อน ตอนที่ผมพูดจบ
แล้วเดินออกไป...
  
1:09:56  ...มีผู้ชายคนหนึ่งพูดกับผมว่า
ที่คุณถามพวกเราว่าเรามากันทำไม...
  
1:10:01  ...มีเหตุผลอะไร เป็นเพราะ
อยากรู้อยากเห็นหรืออะไรกัน
  
1:10:04  แล้วเขาก็ถามว่า
แล้วคุณล่ะพูดทำไม
  
1:10:16  คุณต้องการทราบไหมว่าผมพูดทำไม
 
1:10:24  เพราะว่า...เออ...ช่างมันเถอะ
 
1:10:27   
 
1:10:31  มันไม่สำคัญหรอก
 
1:10:43  ความพึงพอใจก็เช่นกัน...
 
1:10:47   
 
1:10:52  ...ในขณะที่ความพึงพอใจเกิดขึ้น
มันยังไม่มีการบันทึก
  
1:10:55  ในเสี้ยววินาทีต่อมา
การบันทึกจึงเกิดขึ้น
  
1:10:59  คุณไม่เคยสังเกตเห็นเลยหรือ
 
1:11:04  คุณเคยไหม
 
1:11:08  ความพึงพอใจทางเพศหรืออะไรก็ตาม
ในขณะที่มันกำลังเกิดขึ้นจริงๆ...
  
1:11:11  ...คุณไม่รู้ด้วยซ้ำ
ว่านั่นเรียกว่าความพึงพอใจ
  
1:11:18  หากคุณโกรธอยู่ - (ผมหวังว่าคุณไม่
ได้โกรธ) - แต่ถ้าคุณกำลังโกรธมาก...
  
1:11:21   
 
1:11:24  ...ณ ขณะนั้น มันเป็นแค่เพียง
ความรู้สึก...
  
1:11:31   
 
1:11:33  ...แต่พอคุณเริ่มเรียกชื่อมัน...
 
1:11:36  ...ในวินาทีต่อมา
มันก็กลายเป็นความโกรธ
  
1:11:40  แล้วคุณก็พูดว่า
"ฉันต้องควบคุมให้ได้"
  
1:11:42  หรือบอกว่า"ฉันต้องไม่โกรธ"
และอะไรต่อมิอะไรก็ตามมา
  
1:11:47  ดังนั้นเพียงกรุณาตั้งใจฟัง
ในขณะที่ความพึงพอใจเกิดขึ้นกับคุณ...
  
1:11:53   
 
1:12:01  ...จะยังไม่มีการบันทึกข้อมูล
สมองยังไม่ทำงาน
  
1:12:07   
 
1:12:12  แต่เพียงเสี้ยววินาทีต่อมาเท่านั้น
ความคิดก็เข้ามาและพูดว่า...
  
1:12:15  ..."มันช่างวิเศษอะไรอย่างนี้"...
 
1:12:19  ..."อาหารมื้อนั้นอร่อยเหลือเกิน"
"ยามอาทิตย์อัสดงนั้นงดงามมาก"...
  
1:12:24   
 
1:12:28  ..."ฉันต้องการ
กินอาหารอย่างนั้นอีก"...
  
1:12:31  ...หรือ "ฉันต้องการรู้สึกอิ่มเอมใจ
ยามเห็นตะวันลับฟ้าเช่นนั้นอีก"
  
1:12:36  คุณตามทันไหม
 
1:12:38  ดังนั้นคุณตระหนักรู้
ในขณะที่เกิดความกลัวไหม...
  
1:12:45  ...ณ วินาทีที่สิ่งนั้นเกิดขึ้น...
 
1:12:54  ...แต่ขณะที่มันเกิดขึ้น
อย่าปล่อยให้ความคิดเข้ามา...
  
1:12:58   
 
1:13:03  ...ความคิดจดจำความกลัว
จากประสบการณ์ในอดีตของมัน...
  
1:13:06  ...แล้วพูดว่า "นั่นเป็นความกลัว"...
 
1:13:08  ...แต่ให้ตระหนักว่าความคิด
ไม่ได้มีบทบาทหน้าที่อะไร...
  
1:13:12  ...ณ ขณะที่ความกลัวเกิดขึ้น
 
1:13:15  คุณเข้าใจทั้งหมดนี้ไหม
 
1:13:18  นั่นจำต้องมีความตื่นตัวอย่างยิ่ง
 
1:13:25  ดังนั้นถ้าจิตใจตื่นตัวจริงๆ...
 
1:13:30  ...ในทันทีที่เกิดความรู้สึก
ซึ่งเรียกว่าความกลัวนี้...
  
1:13:32  ...ขอให้ตระหนักรู้มัน
และการตระหนักรู้มันนั่นเอง...
  
1:13:41  ...หรือการรู้ความจริง
ของมันนั่นเอง...
  
1:13:45  ...ที่สกัดกั้นไม่ให้ความคิด
เข้ามาแทรกแซง
  
1:13:53  คุณเข้าใจตรงนี้แล้วไหม
ใครเข้าใจบ้าง
  
1:13:56  คุณกำลังทำอย่างนั้นหรือเปล่า
 
1:14:07  ดังนั้นความกลัวกับความพึงพอใจ
จึงคู่กันไป
  
1:14:14  คุณได้ตระหนักรู้อย่างนั้นด้วยไหม
 
1:14:17  คุณไม่อาจจะเก็บอันหนึ่งไว้
แล้วผลักไสอีกอันหนึ่งไปได้
  
1:14:23  ดังนั้นเพื่อขุดค้นลงไป
ในทั้งสองเรื่อง...
  
1:14:30  ...ให้เห็นความเคลื่อนไหวทั้งปวง
ของความกลัวและความพึงพอใจ...
  
1:14:38  ...รวมทั้งเห็นความอยาก
ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง...
  
1:14:42  ...ทั้งกับความกลัวและความพึงพอใจ...
 
1:14:45  ...เห็นธรรมชาติ
และโครงสร้างทั้งหมดของมัน...
  
1:14:50   
 
1:14:51  ไม่ใช่ด้วยการขบคิด
หรือเพียงคำพูด...
  
1:14:59  ...แต่เห็นจริงๆ เหมือนกับที่
คุณเห็นไมโครโฟนตัวนี้...
  
1:15:02  ...แล้วคุณก็จะมาถึงปัญหาที่ว่า...
 
1:15:06  ...ความกลัวหรือความพึงพอใจ
ไม่ได้แตกต่างไปจากผู้สังเกต
  
1:15:10  ผู้สังเกตก็คือความกลัว
 
1:15:16  กรุณาตั้งใจฟัง
 
1:15:20  หากไม่มีความคิดก็ไม่มีผู้คิด
ความคิดแบ่งแยกผู้คิดออกจากตัวมันเอง...
  
1:15:24   
 
1:15:28  ...เหมือนกับที่แบ่งแยกตัวมันเอง
ออกจากสิ่งที่มันสร้างขึ้น
  
1:15:31   
 
1:15:36  ถูกไหม
 
1:15:38  ดังนั้นผู้คิดจึงพยายามเสมอ
ที่จะควบคุม ปั้นแต่งความคิด
  
1:15:46  ดังนั้นความกลัวจึงไม่ได้แยกออก
จากผู้สังเกต หรือจากตัวคุณ
  
1:15:50   
 
1:15:54  แต่คุณเป็นส่วนหนึ่งของมัน
 
1:15:56  และเมื่อคุณพูดว่า
"ฉันต้องควบคุมมันให้ได้...
  
1:15:58  ...ฉันต้องกล้าหาญ
ฉันต้องหนีจากมัน...
  
1:16:00  ...ฉันต้องหลบมันให้พ้น
ฉันต้องวิเคราะห์มัน"...
  
1:16:02  ...นั่นคุณกำลังเล่นเกมกับตัวเองอยู่
 
1:16:08  แต่ทว่าหากคุณตระหนัก
ถึงความเป็นจริงอันนั้น...
  
1:16:11  ...ว่าความกลัวก็คือตัวคุณ
 
1:16:17  คุณเป็นผลลัพธ์ของกาลเวลา
คุณเป็นผลของความคิด...
  
1:16:23   
 
1:16:29  ...ที่ปะติดปะต่อกันเข้าโดยหลายๆ
ผมคงจะไม่พูดถึงล่ะ
  
1:16:32  มันเป็นเรื่องง่ายมากๆ
 
1:16:34  ดังนั้นความกลัวก็คือคุณ...
 
1:16:38   
 
1:16:41  ...และเมื่อคุณตระหนักได้อย่างนั้น
คุณย่อมรู้แก่ใจว่าคุณทำอะไรไม่ได้..
  
1:16:45  ...และนั่นคุณจึงได้แต่เฝ้ามองมัน
โดยไม่ทำอะไรกับมันเลย...
  
1:16:49  ...เมื่อคุณเพียงแต่เฝ้ามองสิ่งนั้น
โดยไม่ทำอะไรกับมันเลย...
  
1:16:51  ...สิ่งนั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลง
ชนิดถอนรากถอนโคน
  
1:16:55   
 
1:16:59  คุณกำลังทำอยู่หรือเปล่า
แล้วคุณจะทำไหมครับ
  
1:17:03  คุณจะเฝ้ามองโดยปราศผู้สังเกตได้ไหม
เพราะว่าผู้สังเกตเป็นอดีต...
  
1:17:09   
 
1:17:12  ...และผู้สังเกตจะปิดกั้น
การรับรู้โดยตรง...
  
1:17:15   
 
1:17:19  ...ทำให้การรับรู้ไม่แจ่มชัด
หรือบิดเบือนไป
  
1:17:23  ดังนั้นเมื่อตระหนักรู้อย่างนั้น
ผู้สังเกตจึงพูดว่า
  
1:17:26  ..."ในการสังเกตการณ์
ไม่มีที่ว่างสำหรับฉันอีกแล้ว"...
  
1:17:30  ...เพราะฉะนั้น
จึงเป็นการสังเกตการณ์ล้วนๆ
  
1:17:35  เมื่อคุณสังเกตดูความกลัว
โดยปราศจากผู้สังเกตซึ่งเป็นอดีต...
  
1:17:42  ...จากนั้นความกลัว
ซึ่งคุณเฝ้าดูอยู่นั่นเอง...
  
1:17:45  ...จะเปลี่ยนแปลงอย่างถอนรากถอนโคน
 
1:17:50  มันจะไม่เป็นความกลัวอีกต่อไป
 
1:17:59  คุณจะจำมันไหมนี่ อย่างน้อยที่สุด
 
1:18:09  ก็คิดตามไปด้วย
จะได้เห็นว่ามันมีนัยอย่างไร
  
1:18:14  ความกลัวและการหลีกเลี่ยงมัน
หรือการกดข่มมันไว้...
  
1:18:20   
 
1:18:22  ...หรือเปลี่ยนรูปมัน หรือพูดว่า
"ฉันต้องเอาชนะมัน"...
  
1:18:24   
 
1:18:30  ...ทั้งหมดนั้น
ไม่อาจจะขจัดความกลัวได้...
  
1:18:34  ...เพราะคุณเคยทำมาแล้วทั้งสิ้น...
 
1:18:39  ...แต่มันก็ยังคงอยู่กับคุณ
มานานนับพันปี
  
1:18:42  และเรากำลังพูดถึง
มีบางสิ่งที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง
  
1:18:46  เราบอกว่า ความกลัว ก็คือคุณ
 
1:18:51  คุณคือผลลัพธ์ของกาลเวลา...
 
1:19:00  ...และถามว่าการเฝ้าดูความกลัว
โดยปราศจากกาลเวลา...
  
1:19:04  ...และความทรงจำจะเป็นไปได้ไหม
 
1:19:06   
 
1:19:08  เพียงแต่ดูเฉยๆ
 
1:19:15  นั่นคือคุณจะมองดูภรรยา
หรือสามีของคุณ...
  
1:19:19  ...ราวกับว่าคุณเพิ่งจะเห็นเธอหรือเขา
เป็นครั้งแรกในชีวิตของคุณ...
  
1:19:21   
 
1:19:27  ...โดยปราศจากความทรงจำทั้งปวง
ไม่ว่าจะเป็นความพึงพอใจในเพศรส...
  
1:19:31  ...การประชดประชัน การคุกคาม
หรือการข่มอยู่เหนือ...
  
1:19:34  ...ปราศจากทุกอย่างที่กล่าวมา
เพียงแต่ดูเฉยๆ คุณจะทำได้ไหม
  
1:19:39  เพราะว่าความรู้จะปิดบังไม่ให้คุณดู
 
1:19:51  และการเป็นอิสระจากความรู้เท่านั้น...
 
1:19:53  ...ที่จะลบล้างความกลัวได้อย่างหมดจด
ไม่ใช่แค่เพียงบางส่วน
  
1:19:57  และไม่ใช่ลบเฉพาะ
ความกลัวอันนั้นหรืออันนี้...
  
1:20:02  ...แต่ลบล้างจนถึงรากเหง้า
แห่งความกลัว
  
1:20:10  คุณจะมองดูความพึงพอใจ
ในทำนองเดียวกันได้ไหม
  
1:20:15   
 
1:20:22  ถูกไหม
 
1:20:24  คุณมีความพึงพอใจ
ในเรื่องต่างๆ มากมายใช่ไหม
  
1:20:27  เช่น ความพึงพอใจในเรื่องเพศ
ความพึงพอใจในเงินทอง...
  
1:20:30   
 
1:20:33  ...ความพึงพอใจในยศตำแหน่ง
ความพึงพอใจที่เป็นนักการเมืองคนสำคัญ...
  
1:20:35   
 
1:20:38  ...คุณรู้เรื่องแบบนี้ดี
ความพึงพอใจในอำนาจ...
  
1:20:40   
 
1:20:45  ...ความพึงพอใจที่มีร่างกาย
และจิตใจดี แข็งแรง...
  
1:20:50   
 
1:20:56  ...ความพึงพอใจมาจากการเปรียบเทียบ
พร้อมทั้งความกลัวของมัน...
  
1:21:02   
 
1:21:05  ...ความพึงพอใจในการลอกเลียนแบบ
ใครบางคน แล้วทำได้ดีกว่าคนคนนั้น
  
1:21:08   
 
1:21:10  ถูกต้องไหม
 
1:21:12  ยังมีความพึงพอใจ
ที่ไม่ธรรมดาเหล่านี้อีก...
  
1:21:16  ...เช่น ความพึงพอใจ
ในการแสวงหาการบรรลุธรรม...
  
1:21:21  ...ซึ่งเป็นความพึงพอใจสูงสุด
ของการแสวงหาพระเจ้า...
  
1:21:25  ...ซึ่งจริงๆ แล้ว
เป็นเรื่องโอ้อวดกันมากกว่า
  
1:21:31  ดังนั้นคุณจะสอบสวนเข้าไปในตัวคุณ...
 
1:21:35  ...ถึงธรรมชาติทั้งหมดของความกลัว
และความพึงพอใจได้ไหม
  
1:21:43  เราพูดไปแล้วว่า ความพึงพอใจ
เป็นการเคลื่อนไหวของความอยาก...
  
1:21:52  ...ที่แบ่งแยกอยู่ในกาลเวลา
 
1:21:55   
 
1:22:00  ขอให้สังเกตดูมัน
อย่างละเอียด แม่นยำ...
  
1:22:06  ...ด้วยความเที่ยงตรง
ขอให้สังเกตดูแต่อย่าไปวิเคราะห์
  
1:22:08   
 
1:22:12  ดังนั้นเราบอกว่า
สาเหตุของความไร้ระเบียบ ก็คือความอยาก...
  
1:22:14   
 
1:22:21  ...ความกลัว และการแสวงหา
ความพึงพอใจอันไม่สิ้นสุด
  
1:22:26  แต่ไม่ได้หมายความว่าให้กดข่ม
ความอิ่มเอมใจเมื่อเห็นสิ่งสวยงาม...
  
1:22:32   
 
1:22:38  ...หรือกดข่มความสุขใจและความเบิกบาน
ในการมองดูท้องฟ้าอันสวยสด...
  
1:22:42   
 
1:22:44  ...หรือดูดาวประกายพรึกที่สุกสกาว
เปล่งปลั่งอยู่เดียวดายยามเช้าตรู่...
  
1:22:50   
 
1:22:55  ...หรือการเห็นดาวฤกษ์
เซาธ์เทิร์นครอสทางทิศใต้...
  
1:23:00  ...การมองดูท้องฟ้านั้น
เป็นความสุขใจยิ่ง
  
1:23:04  แต่ในทันทีที่ความคิดพูดว่า
"ฉันต้องกลับไปที่ระเบียงอีกครั้ง...
  
1:23:07  ...ไปดูดาวศุกร์
หรือดาวประกายพฤกษ์"...
  
1:23:10  ...จากนั้นการแสวงหา
ความพึงพอใจทั้งปวงก็เริ่มต้นขึ้น
  
1:23:15  ขอให้เพียงแต่ดูเฉยๆ
 
1:23:19  ดังนั้นเราจึงบอกว่า สิ่งเหล่านั้น
เป็นสาเหตุหลักของความไร้ระเบียบ
  
1:23:25  เมื่อคุณเข้าสิ่งนั้นแล้ว
ไม่ใช่ด้วยปัญญาขบคิด...
  
1:23:27   
 
1:23:30  ...แต่เข้าใจมันหมด
อย่างถ่องแท้จริงๆ...
  
1:23:36  ...แล้วความเบิกบาน
ก็จะอยู่ในหัวใจคุณ
  
1:23:40  ความเบิกบานไม่ใช่ความพึงพอใจ...
 
1:23:46  ...แต่ทันทีที่คุณจดจำ
ความเบิกบานนั้นได้ และพูดว่า...
  
1:23:48  ..."มันเป็นช่วงเวลา
ที่ฉันอิ่มเอมใจที่สุด...
  
1:23:52  ...ฉันอยากมีความรู้สึก
เช่นนั้นอีก"...
  
1:23:54  ...จากนั้นมันก็จะกลายเป็นความพึงพอใจ
และคุณได้สูญเสียมันไปแล้ว
  
1:24:00  นี่เป็นการเรียงลำดับในชีวิตของเรา
 
1:24:06  เพื่อสร้างความเป็นระเบียบ
ขึ้นภายในครอบครัวเรา
  
1:24:14  เนื้อที่ว่างคืออะไร
 
1:24:24  นี่มันหกโมงยี่สิบห้านาทีแล้ว
 
1:24:28  ผมคิดว่าพวกคุณคงเหนื่อยมากแล้ว
 
1:24:32  ผมคงจะพูดเรื่องเนื้อที่ว่างไม่ได้
 
1:24:34  เพราะมันต้องสืบสวนกัน
อีกมากทีเดียว...
  
1:24:37   
 
1:24:41  ...เนื้อที่ว่างในจิตใจ หมายถึง
จิตใจที่ไม่ได้หมกมุ่นอยู่กับปัญหาใดๆ
  
1:24:45   
 
1:24:51   
 
1:24:56  ...แต่จิตใจของเราหมกมุ่นมากจริงๆ
อัดแน่นไปด้วยความเชื่อ...
  
1:24:58   
 
1:25:01  ...เต็มไปด้วยการแสวงหา และอะไร
ต่อมิอะไร ความสับสน มายาภาพ
  
1:25:04   
 
1:25:06  ดังนั้นจึงไม่มีเนื้อที่ว่าง
เหลืออยู่เลย
  
1:25:12  ดังนั้นที่ใดก็ตาม
ที่ไม่มีเนื้อที่ว่าง...
  
1:25:15  ...ที่นั่นย่อมมิอาจเรียงลำดับ
และจัดระเบียบได้
  
1:25:27  โปรดเถอะ ขอให้ตระหนักในเรื่องนี้!
 
1:25:32  หากไม่มีระเบียบในชีวิตประจำวันของเรา
 
1:25:35  ...ในทุกๆ ขณะของแต่ละวัน...
 
1:25:41  ...การทำสมาธิของคุณ
ก็เป็นเพียงช่องทางหลบหนี...
  
1:25:43  ...จากชีวิตจริงอันน่าเกลียดของคุณ...
 
1:25:48  ...และการหลบเข้าหาการทำสมาธิ
ย่อมนำไปสู่มายาที่หลอกลวง
  
1:25:51   
 
1:25:56  ดังนั้นเราต้องวางรากฐาน
เพื่อค้นหาสิ่งที่อยู่นอกเหนือความคิด...
  
1:26:01   
 
1:26:07  ...ซึ่งไม่อาจหยั่งวัดได้
และไร้ถ้อยคำ
  
1:26:10   
 
1:26:16  แต่สิ่งนั้นไม่อาจปรากฏขึ้นได้...
 
1:26:20  ...หากปราศจากระเบียบอันยิ่งใหญ่...
 
1:26:25  ...ซึ่งภายในระเบียบนั้น
มีอิสรภาพอันสมบูรณ์