Krishnamurti Subtitles home


RV84DS3 - อะไรคือสาเหตุของความฉ้อฉลเสื่อมทราม
สนทนากับนักเรียนที่โรงเรียน Rishi Valley อินเดีย ครั้งที่ 3
วันที่ 20 ธันวาคม 1984



0:38 K: พวกเธออยากคุย
เกี่ยวกับเรื่องอะไร
  
0:43 S: ความภูมิใจครับ
 
0:47 K: พวกเธอภูมิใจ
 
0:50 อย่างนั้นหรือ
 
0:51 S: เป็นบางครั้ง
 
0:53 K: บางครั้ง
 
0:54 ทำไมล่ะ
 
0:57 แล้วเธอภูมิใจเกี่ยวกับอะไร
 
1:00 S: ความสำเร็จบางอย่าง
 
1:03 K: ความสำเร็จ
 
1:05 พวกเธอประสบความสำเร็จอะไรมาหรือ
 
1:09 หรือว่าพวกเธอชื่นชม
คนที่เขาประสบความสำเร็จ
  
1:15 หรือว่าตัวเธอเอง
ต้องการประสบความสำเร็จ
  
1:22 นั่นคือสิ่งที่พวกเธอ
อยากจะสนทนาหรือ
  
1:26 ความภูมิใจ การบรรลุผล ความสำเร็จ
เงินตรา ตำแหน่ง อำนาจ
  
1:33 นั่นคือสิ่งที่พวกเธอทุกคน
ต่างต้องการไม่ใช่หรือ
  
1:44 พวกเธอทุกคนอาจจะ
ต้องการสิ่งเหล่านั้น
  
1:46 อย่าหลอกตัวเองเลย
 
1:51 พวกเธอทุกคน
ต่างต้องการสิ่งเหล่านั้น
  
1:54 S: ไม่หรอกครับ
เราทุกคนต้องการสิ่งเหล่านั้น
  
1:58 เพราะเราไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่
ในโลกนี้ได้ หากปราศจากสิ่งเหล่านั้น
  
2:04 K: ในเวลานี้ เธอบอกว่า
 
2:06 เราไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
หากไม่มีสิ่งเหล่านั้น
  
2:08 พวกเธอรู้ได้อย่างไร
 
2:10 S: ไม่ว่าที่ไหนๆ
คุณก็จะเห็นคนจน...
  
2:14 K: เธอมานั่งตรงนี้เถอะ
 
2:22 S: ไม่ว่าที่ไหนก็ตามจะเห็นคนจน
หรืออะไรก็ตามแต่
  
2:25 พวกเขาจะโต้เถียงต่อว่าคุณ
ถ้าคุณไม่ให้อะไรเขาเลย
  
2:28 หรือถ้าคุณพยายามทำให้เขาเป็นคนดี
 
2:30 พวกเขาก็จะไม่ให้ความนับถือ
คุณเหมือนกัน
  
2:32 K: แล้วพวกเธออยากเป็นแบบไหนล่ะ
 
2:35 S: เป็นอะไรก็ได้ที่เราได้รับ
ความนับถือเพียงพอ
  
2:36 ที่จะดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข
 
2:40 แต่ไม่จำเป็นต้องนับถือมากเกินไป
 
2:45 K: เธอพูดถูกทีเดียว
ไม่จำเป็นต้องมากเกินไป
  
2:49 แต่เพียงพอสำหรับ
การดำเนินชีวิตที่สุขสบาย
  
2:52 และมีความสุข อย่างนั้นใช่ไหม
 
2:53 S: ครับ
 
2:56 K: นั่นคือสิ่งที่เธอต้องการใช่ไหม
S: ครับ
  
2:58 K: ถ้าเช่นนั้นก็แสวงหามันสิ
 
3:00 S: แต่มันไม่ง่ายนักหรอก
 
3:03 นอกจากจะพยายามและทำให้ได้มันมา
 
3:09 K: มีคำถามอื่นๆ อีกไหม
 
3:12 S: ความแตกต่างระหว่างสมาธิ
และการเพ่งจิตจดจ่อคืออะไร
  
3:17 S: ความแตกต่างระหว่างสมาธิ
และการเพ่งจิตจดจ่อคืออะไร
  
3:32 K: ฉันเข้าใจ
 
3:35 K: เธออยากจะสนทนา
เกี่ยวกับเรื่องนี้จริงๆ หรือ
  
3:38 หรือว่าแค่เล่นสนุก
 
3:47 หรือเพียงอยากจะคุยเล่นในสิ่งที่
ตัวฉันเองก็สนใจ ใช่อย่างนั้นไหม
  
3:52 เธอต้องการจะรู้จริงๆ หรือว่า
อะไรคือสมาธิและการเพ่งจิตจดจ่อ
  
3:58 ก็ได้
 
4:05 ถ้าเธอต้องการจริง
 
4:10 แต่พวกเธอพร้อมจะให้ความสนใจ
ในสิ่งที่ฉันจะพูดไหม
  
4:14 S: พร้อมครับ
 
4:15 K: อย่าพูดว่าครับ
แล้วทำท่ากระวนกระวายอย่างนั้น
  
4:20 เธอต้องการที่จะสนทนา
เรื่องนี้กันจริงๆ หรือเปล่า
  
4:23 นี่เป็นหัวข้อที่จริงจังมากๆ
 
4:30 เธอคิดว่าการเพ่งจิตจดจ่อคืออะไร
 
4:35 S: อะไรบางอย่างที่เราต้องการ
ครุ่นคิดเกี่ยวกับมันจริงๆ
  
4:41 ไตร่ตรองอย่างลึกซึ้ง สืบค้นลึกลงไป
 
4:44 ใคร่ครวญเกี่ยวกับมัน
อย่างลึกซึ้งที่สุด
  
4:46 K: คิดใคร่ครวญอย่างลึกซึ้ง
 
4:48 S: คิดอย่างลึกซึ้ง
 
4:49 K: คิดอย่างลึกซึ้ง
เธอหมายความว่าอย่างไร
  
4:53 S: อะไรบางอย่างที่เราต้องการ
ให้ใจเราจดจ่ออยู่กับมัน
  
5:01 K: มานั่งที่นี่เถอะ
 
5:11 สิ่งที่เธอต้องการให้ใจเธอ
จดจ่ออยู่กับมัน
  
5:15 ใช่ไหม
 
5:17 แล้วเธอเคยลองทำดูบ้างหรือยัง
 
5:21 เมื่อเธอต้องการมองดอกไม้
อ่านหนังสือ
  
5:27 หรือฟังสิ่งที่อาจารย์ของเธอพูด
 
5:34 พวกเธอเคยมองดอกไม้
 
5:39 หรือฟังสิ่งที่อาจารย์ของเธอ
กำลังบอกเธอ
  
5:43 ฟังเขาอย่างละเอียดถี่ถ้วน
หรือใส่ใจจดจ่อกับหนังสือบ้างไหม
  
5:44 เคยไหม
 
5:50 S: เป็นบางครั้ง
 
5:51 K: เป็นบางครั้ง
 
5:52 แล้วสภาวะเช่นนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด
 
5:54 เมื่อพวกเธอรู้สึกชอบสิ่งนั้นใช่ไหม
 
5:59 S: ใช่ครับ
 
6:04 K: ทีนี้ เมื่อเป็นสิ่งที่เราชอบ
เราก็จะให้ความสนใจ ใส่ใจ
  
6:09 ใช้ความคิด ใช้พลังงานของเรา
ในการสังเกตสิ่งนั้นใช่ไหม
  
6:16 ที่เรียกกันทั่วไปว่าการพินิจ
การตั้งจิตจดจ่อ การตั้งสมาธิ
  
6:19 นั่นคือการที่พวกเธอเพ่งจิตจดจ่อ
อยู่กับหนังสือที่กำลังอ่าน
  
6:27 หรืออะไรก็ตามที่เธอกำลังมองดู
อย่างสนอกสนใจ
  
6:30 ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้
 
6:34 หรือสิ่งที่เพื่อนเธอ
หรือที่อาจารย์บอกเธอใช่ไหม
  
6:40 S: ครับ
 
6:44 K: แล้วพวกเธอเคยมองอะไร
อย่างพินิจพิเคราะห์
  
6:49 จดจ่ออยู่กับสิ่งนั้น
เป็นเวลานานๆ บ้างไหม
  
6:55 ไม่ใช่เพียงชั่วครู่นะ
แต่เป็นเวลานานๆ
  
7:00 เคยบ้างหรือเปล่า
 
7:03 S: ไม่ทราบครับ
 
7:04 K: ถ้าเช่นนั้นลองทำเดี๋ยวนี้เลย
 
7:09 ลองใส่ใจฟังในสิ่งที่ใครคนหนึ่ง
กำลังพูดกับพวกเธอให้ดีๆ
  
7:17 หรือลองมองดอกไม้พวกนั้น
 
7:29 โดยไม่ปล่อยให้ความคิดอื่น
แทรกเข้ามา
  
7:33 นั่นคือความหมายของการเพ่งจิตจดจ่อ
คือการเอาใจจดจ่อ
  
7:37 และทุ่มเทความสนใจทั้งหมด
ต่อสิ่งที่คุณกำลังฟัง
  
7:43 ฟังหรือกำลังอ่าน
หรือสิ่งที่กำลังมอง
  
7:46 เช่น ดูจิ้งจกที่กำลังไต่ตามฝาผนัง
 
7:53 กำลังลองทำกันอยู่หรือเปล่า
 
7:57 S: ครับ
K: ดี
  
8:00 เมื่อทำดูแล้วเกิดอะไรขึ้น
 
8:06 S: พวกเราเข้าใจแล้ว
 
8:09 K: ไม่ใช่เพียงบอกว่าเข้าใจเท่านั้น
แต่จริงๆ แล้วเกิดอะไรขึ้น
  
8:15 เดี๋ยวฉันจะอธิบายให้ฟัง
พวกเธอลองคิดพิจารณากันก่อน
  
8:22 เธอมาจากไหน
 
8:26 S: บังกาลอร์ ครับ
 
8:28 K: เมืองบังกาลอร์
 
8:31 K: ฉันได้เด็กผู้ชายมา 2 คนแล้ว
 
8:35 ทีนี้ขอผู้หญิงสัก 2 คนเถอะนะ
 
8:39 เอาล่ะ ตอนนี้เขาอยากจะรู้ว่า
อะไรคือความแตกต่าง
  
8:43 ระหว่างการเพ่งจิตจดจ่อกับสมาธิ
 
8:53 ใช่ไหม
 
8:55  
 
8:58 พวกเธอไม่รู้จักความหมาย
ของคำว่าสมาธิ ว่ามันคืออะไร
  
9:00 และก็ไม่รู้ความหมายของคำว่า
การเพ่งจิตจดจ่อด้วยไม่ใช่หรือ
  
9:05 S: ตอนนี้ ผมรู้แล้วครับ
 
9:07 K: เธอรู้ เพราะว่า
ฉันอธิบายให้เธอเข้าใจ
  
9:10 การเพ่งจิตจดจ่อ
หมายถึงการพุ่งความคิด
  
9:14 และพลังงานของเธอ
ไว้กับบางสิ่งบางอย่าง
  
9:22 S: ค่ะ...
 
9:27 K: มานี่เถอะ
 
9:32 ช่วยกันขยับให้เธอหน่อย
 
9:38 เธอตัวใหญ่นะ
 
9:45 S: แต่มันยากไม่ใช่หรือ
ที่เราจะเพ่งจิตจดจ่อต่ออะไรบางอย่าง
  
9:48 โดยไม่มีความรู้สึกนึกคิดใดๆ
เข้ามาในใจเลย
  
9:50 K: นั่นแหละเป็นประเด็นที่สำคัญมาก
 
9:52 ตั้งใจฟังให้ดีนะ
 
9:55 มันยากไม่ใช่หรือที่จะเพ่งจิตจดจ่อ
ต่อบางสิ่งบางอย่าง
  
10:00 โดยไม่มีความคิดอื่นสอดแทรกเข้ามา
 
10:04 S: ผมคิดว่ามันยากครับ
 
10:06 K: ใช่แล้วมันยาก
 
10:08 แล้วทีนี้พวกเธอจะแก้ปัญหา
อย่างไรล่ะ
  
10:13 S: เราพยายามที่จะกีดกัน
ความคิดอื่นๆ ออกไป
  
10:15 K: กันความคิดอื่นๆ ออกไป
 
10:17 แล้วใครที่เป็นคน-อย่าดีกว่า
ฉันจะไม่ทำให้มันซับซ้อนสำหรับพวกเธอ
  
10:22 เอาละทีนี้เมื่อพวกเธอ
รวบรวมความสนใจอยู่ที่หนังสือ
  
10:28 และความคิดอื่นก็แทรกเข้ามา
ใช่ไหม
  
10:30 S: ครับ
 
10:33 แล้วทีนี้พวกเธอทำอย่างไร
 
10:38 S: พยายามที่จะกันไม่ให้
ความคิดเข้ามารบกวน
  
10:40 K: เธอพยายามที่จะ
ผลักความคิดอื่นๆ ออกไป
  
10:45 แล้วทีนี้เกิดอะไรขึ้น
ในการทำเช่นนั้น
  
10:49 ฉันเพ่งจิตจดจ่อกับเรื่องๆ หนึ่ง
ความคิดแทรกเข้ามา
  
10:55 แล้วฉันพยายามที่จะผลักมันออกไป
 
10:58 แล้วความคิดอื่นก็แทรกเข้ามาอีก
 
11:01 ฉันเก็บความคิดอันนี้ไว้
ใช่หรือไม่
  
11:04 K: ถูกไหม
S: ใช่ครับ
  
11:06 K: พวกเธอฟังสิ่งที่ฉันพูดหรือเปล่า
 
11:09 ถ้าไม่สนใจก็ไม่เป็นไรนะ
 
11:13 S: ผมกำลังนึกหาคำตอบ
ที่ถูกต้องที่คุณจะตอบให้
  
11:19 K: อะไรนะ
 
11:21 S: ผมกำลังคิดหาคำตอบที่ถูกต้อง
ของคุณในเรื่องที่เราคุยกันอยู่นี้
  
11:22  
 
11:25 K: พ่อหนุ่ม ฉันบอกเธอว่าเมื่อเธอ
เพ่งจิตจดจ่อต่อบางสิ่งบางอย่าง
  
11:28 ความคิดอื่นก็จะแทรกเข้ามา
 
11:32 ใช่ไหม
 
11:36 จากนั้นเธอก็พยายามที่จะกัน
ความคิดนั้นออกไป
  
11:40  
 
11:42 แล้วก็พยายามที่จะตั้งสมาธิ
มันเกิดขึ้นอยู่อย่างนี้ตลอดเวลา
  
11:45 S: แล้วทำไม
ความคิดเหล่านั้นจึงเข้ามา
  
11:47 K: เดี๋ยวก่อน ฉันกำลังจะ
มาถึงตรงนั้นอยู่เดี๋ยวนี้แหละ
  
11:50 ก่อนอื่นมองให้เห็นว่าเกิดอะไรขึ้น
 
11:53 เธอต้องการจะจดจ่อ
กับบางสิ่งบางอย่าง
  
11:56 แต่ความคิดเข้ามามากมาย
แล้วเธอกันความคิดอื่นๆ ออกไป
  
12:02 แต่มันก็กลับเข้ามาอีก
เธอก็พยายามกันมันออกไปอีก
  
12:06 ดังนั้น จริงๆ แล้ว
เธอไม่อาจจะจดจ่อได้เลย
  
12:11 เพราะว่าความคิดต่างๆ นานา
เข้ามารบกวน
  
12:14 และเขาก็ถามว่าทำไมความคิดจึงเข้ามา
 
12:18 K: ใช่หรือเปล่า
S: ใช่แล้ว
  
12:19 K: เธอลองบอกฉันสิ
ทำไมความคิดเหล่านั้นจึงเข้ามา
  
12:22 แล้วฉันจะบอกเธอ
 
12:24 S: ผมคิดว่า
เพราะเราคิดถึงสิ่งเหล่านั้น
  
12:27 เมื่อเรากำลังทำอะไรสักอย่าง
มันก็มีเรื่องอื่นๆ เกิดขึ้นด้วย
  
12:32 แล้วเราเองก็จะคิด
เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
  
12:34 K: ใช่ นั่นแหละ
เธอตั้งใจที่จะตั้งจิตจดจ่อ
  
12:36 แต่เธอก็ยังคิดถึงเรื่องอื่นอีกด้วย
 
12:39 K: อย่างนี้ใช่ไหม
S: ใช่ครับ
  
12:40 K: ทำไมจึงเป็นเช่นนี้ได้
 
12:45 S: ถ้าคุณกำลังครุ่นคิด
กำลังเพ่งจิตจดจ่อ…
  
12:53 K: มานี่เถอะ มานั่งตรงนี้
 
12:56 ขอโทษด้วยนะที่มีผู้ชาย3 คน
ผู้หญิงคนเดียว
  
13:01 S: เวลาที่เราพยายาม
จดจ่ออยู่กับอะไรบางอย่าง
  
13:05 เราคิดอยู่ตลอดเวลาว่าเราควรจะกัน
ไม่ให้ความคิดอื่นแทรกเข้ามา
  
13:08 แต่มันก็เข้ามาจนได้
 
13:09 K: ถูกต้อง แล้วความคิดเหล่านั้น
เข้ามาได้อย่างไร
  
13:12 S: เพราะว่าคุณยังคงคิดถึง
สิ่งเหล่านั้นอยู่อีก
  
13:14 K: แต่คุณก็คิดถึง
การตั้งจิตจดจ่อด้วย
  
13:19 S: เพราะว่าเรากดข่มมันไว้
 
13:23 K: นั่นแหละ
 
13:25 ถูกต้องแล้ว
 
13:27 เธอเข้าใจในสิ่งที่เธอพูดออกมาไหม
 
13:30 ยังไม่ค่อยเข้าใจหรือ
 
13:33 เธอพยายามที่จะให้
จิตจดจ่ออยู่เรื่องหนึ่ง
  
13:36 แล้วความคิดอื่นก็เข้ามา
 
13:39 จากนั้นเธอก็พยายามห้าม
ความคิดเหล่านั้นไม่ให้เข้ามา
  
13:42 เพื่อคิดเฉพาะเรื่องนี้เรื่องเดียว
 
13:45 ใช่หรือไม่
 
13:51 แล้วเกิดอะไรขึ้นเมื่อเธอพยายาม
ที่จะห้ามความคิดอื่นเหล่านั้น
  
13:56 ฉันห้ามความคิดหรือข่มมัน
ฉันรู้สึกไม่ค่อยสบาย
  
14:00 เหมือนกินอาหารเสียๆ เข้าไปจนอิ่ม
 
14:02 แล้วก็พยายามที่จะกลั้น
ความรู้สึกเจ็บปวด
  
14:05 ทำไมต้องทำเช่นนั้น
 
14:08 ทำไมจึงต้องมีการกดข่ม
ทำไมเธอจึงกดข่ม
  
14:11 S: เพราะเราคิดว่ามันจะดีขึ้น
ถ้าคุณสะกดกลั้นความคิด
  
14:13 มันจะไม่กลับเข้ามารบกวนคุณอีก
 
14:15 ดังนั้นคุณจึงต้องกดข่มมันเอาไว้
 
14:17 K: ใช่แล้ว
 
14:18 แต่เขาบอกว่ายิ่งกดมัน
ความคิดมันก็ยิ่งจะกลับเข้ามา
  
14:24 ดังนั้นจึงไม่มีประโยชน์ที่จะกดข่ม
 
14:27 ถูกไหม
 
14:30 มันไม่ถูกต้องและ
ไร้ประโยชน์ที่จะกดข่มความคิด
  
14:35 แล้วทีนี้จะทำอย่างไรต่อไปล่ะ
 
14:43 S: ถ้าคุณคิดเกี่ยวกับ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างจริงจัง
  
14:46 ย่อมจะไม่มีความคิดอื่นเข้ามาครับ
 
14:48 K: แต่ยังมีความคิดอื่นเข้ามา
 
14:50  
 
14:53 S: แต่เมื่อคุณคิดอย่างจริงจัง
โดยไม่คิดถึงเรื่องอื่นเลย
  
14:54 แล้วความคิดอย่างอื่น
จะเข้ามาได้อย่างไรครับ
  
14:56 K: ทีนี้ เธอจะไม่พยายาม
ที่จะทำความเข้าใจหรือว่า
  
14:58 ทำไมความคิดต่างๆ
จึงมักจะวนเวียนกลับไปกลับมา
  
15:02 ใช่ไหม
 
15:03 เธอจะไม่ถามคำถามนี้หรือ
 
15:07 S: คุณครับ...
 
15:13 ในเมื่อเรากดข่มความคิดเอาไว้
แต่ความคิดก็แทรกเข้ามา
  
15:17 เราควบคุมมันไม่ได้
 
15:21 เราจึงเสียสมาธิที่ต้องการให้
จดจ่อตั้งมั่น
  
15:24 ถ้าอย่างนั้นเราควรทำอย่างไร
เป็นไปได้ไหมที่เราจะปล่อยมันไว้เฉยๆ
  
15:28 ความคิดเหล่านั้น
ก็จะอันตรธานหายไปเอง
  
15:33 K: ฉันไม่ค่อยเข้าใจสิ่งที่เธอพูดนัก
 
15:38 S: ถ้าคุณไม่ทำอะไรเลย
ต่อความคิดอื่นที่แทรกเข้ามา
  
15:41 มันจะหายไปเองหรือเปล่า
 
15:45 นั่นคือสิ่งที่คุณกำลังพูดถึง
หรือครับ
  
15:53 K: มานั่งตรงนี้เถอะ
 
16:02 แล้วทำตัวสบายๆ
 
16:18 นี่เป็นหัวข้อที่ซับซ้อนมาก
 
16:25 คนส่วนใหญ่ทั้งผู้ใหญ่ คนหนุ่มสาว
 
16:29 ได้รับการบอกกล่าวมาตั้งแต่เด็กว่า
 
16:33 -พวกเธอฟังอยู่หรือเปล่า ฟังดีๆ นะ-
 
16:38 ให้รวบรวมสมาธิให้จิตจดจ่อ
 
16:42 ใช่ไหม
 
16:45 เวลาที่เธออยากจะมองออกไป
นอกหน้าต่าง
  
16:47 แต่ครูของเธอก็บอกว่า
ให้ตั้งใจอ่านหนังสือ
  
16:52 แต่สิ่งที่เธอสนใจจริงๆ
คือจิ้งจกบนกำแพง
  
16:57 ใช่ไหม
 
17:00 แล้วครูของเธอบอกว่า
อย่ามองสิ่งอื่น ให้สนใจในหนังสือ
  
17:08 ดังนั้นตั้งแต่ยังเป็นเด็ก
สิ่งที่คุณสนใจจริงๆ
  
17:11 ก็คือการมองจิ้งจก
 
17:15 แต่ครูจะบอกให้เด็กๆ
จดจ่อและพุ่งสมาธิอยู่ที่หนังสือ
  
17:18 S: ใช่ครับ
 
17:21 K: แต่ถ้าฉันเป็นครูของพวกเธอ
 
17:26  
 
17:27  
 
17:34 ฉันจะบอกให้พวกเรา
มามองดูจิ้งจกด้วยกัน
  
17:35 ฉันจะไม่พยายามบังคับ
ให้พวกเธอดูแต่หนังสือ
  
17:41 พวกเธอเข้าใจในสิ่งที่ฉัน
กำลังพูดหรือเปล่า
  
17:43 S: ครับ
 
17:44 K: นั่นก็คือ เธอกำลัง
มองดูจิ้งจกตัวนั้น
  
17:48 (แต่ตอนนี้ที่นี่ไม่มีจิ้งจก)
 
17:53 และเธอก็สนใจจิ้งจก ไม่ใช่หนังสือ
 
18:00 ดังนั้น หากฉันเป็นครู
ก็จะบอกพวกเธอว่า
  
18:03 ให้เราเฝ้าดูจิ้งจกตัวนั้นด้วยกัน
 
18:09 มองอย่างระมัดระวังละเอียดถี่ถ้วน
ดูว่ามันเกาะกับผนังอย่างไร
  
18:14  
 
18:18 อุ้งเล็บมันมีกี่นิ้ว
ดูหัว ดูตา ของมัน
  
18:23 ใช่ไหม
 
18:24 ฉันควรจะช่วยให้เธอได้มองดูอะไรๆ
มากไปกว่าดูแต่หนังสือ
  
18:30 S: ผมมีคำถามหนึ่งครับ
 
18:32 K: อะไรล่ะ
 
18:34 S: สภาพในห้องเรียนนั้น
เด็กๆ จะมีอาการวอกแวก
  
18:38 ถูกดึงดูดความสนใจ
ให้หันเหออกไปในเวลาที่แตกต่างกัน
  
18:41 เช่น ผมวอกแวกเบี่ยงเบน
ความสนใจในเวลาหนึ่ง
  
18:43 ขณะที่คนอื่นๆ ก็อาจจะถูกดึง
ให้หันเหไปในเวลาอื่น
  
18:46 ถ้าครูต้องคอยใส่ใจสิ่งที่
เข้ามาหันเหความสนใจทุกๆ ครั้งไป
  
18:49 แล้วครูจะสอนเนื้อหาทั้งหมด
ได้อย่างไรกัน
  
18:51 K: ก็ฉันกำลังชี้ให้เห็นอยู่นี่ไง
 
18:57 พวกเธอนี่ฉลาดมากกันทุกคนเลย ใช่ไหม
 
19:04 K: พวกเธอมาจากที่ไหนกัน
S: จากมัทราสครับ
  
19:07 S: พ่อแม่ของผมอยู่ที่เมืองแซมเบีย
 
19:14 ก่อนอื่นให้เข้าใจก่อนว่า
ไม่มีสิ่งที่ทำให้วอกแวก
  
19:22 อย่าไปเรียกมันว่าเป็น
สิ่งรบกวนให้วอกแวกเลย
  
19:26 สิ่งสำคัญก็คือพวกเธอเฝ้ามองดู
ให้ความใส่ใจและฟังอย่างตั้งใจ
  
19:30 นั่นแหละที่สำคัญ
ไม่มีสิ่งที่ทำให้วอกแวก
  
19:35 อย่าใช้คำนี้เลย
 
19:38 ใช่ไหม
 
19:42 ทีนี้ฉันจะช่วยให้เธอมองดูจิ้งจก
 
19:46 หรือว่ามองดูเด็กชายที่นั่งไม่นิ่ง
 
19:52 มือไม้ขยุกขยิกอยู่ตรงนั้น
 
19:54 ใช่ไหม
 
19:56 สิ่งที่ฉันจะช่วยเธอ - ไม่ใช่ช่วย
แต่สิ่งที่ฉันพยายามจะแสดงแก่เธอ
  
20:00 ก็คือเมื่อใดที่เธอ
ให้ความใส่ใจต่อบางสิ่ง
  
20:03 ไม่สำคัญว่ามันจะถูกหรือผิด
 
20:08 เมื่อนั้นเธอจะสามารถ
ให้ความใส่ใจกับหนังสือได้
  
20:14 เข้าใจหรือยัง
 
20:15 S: ครับผม
 
20:16 K: แน่ใจนะ
S: แน่ใจครับ
  
20:18 K: นั่นคือ เมื่อเธอใส่ใจ
กับจิ้งจกตัวนั้น
  
20:22 เธอได้เรียนรู้ศิลปะแห่งการใส่ใจ
 
20:30 และฉันจะช่วยให้เด็กๆ ทุกคน
 
20:32 15 หรือ 20 คนที่อยู่กับฉัน
ให้รู้จักใส่ใจ
  
20:40 เมื่อไหร่ที่มีความใส่ใจ
 
20:44 ก็จะไม่มีสิ่งใดที่เป็น
สิ่งรบกวนให้วอกแวก
  
20:49 S: แล้วทำไมครูไม่ทำเช่นนั้น
 
20:52 สมมติว่าเราถูกรบกวน
ให้วอกแวกในชั้นเรียน
  
20:54 K: ไม่มีสิ่งที่รบกวนให้วอกแวก
 
20:56 อย่าเรียกมันว่า
การถูกรบกวนให้วอกแวก
  
20:58 S: สมมติว่าเราต้องการจะดู
อะไรบางสิ่งบางอย่าง
  
21:00 ทำไมครูจึงไม่ช่วยเราให้มองสิ่งนั้น
 
21:05 K: ถามพวกเขาดู
 
21:09 ฉันกำลังบอกเธอ
-มานี่เถอะ-
  
21:14 เด็กผู้หญิงสองคนนั้น
 
21:16 มานั่งตรงนี้กันดีกว่า
 
21:22 S: ค่ะ
 
21:24 ไม่เขินกันใช่ไหม
S: ไม่ค่ะ
  
21:26 K: ดี
 
21:28 ทีนี้เธอถามว่าทำไมครูของพวกเธอ
จึงไม่บอกเรื่องทั้งหมดนี้กับเธอ
  
21:32 ใช่ไหม
S: ใช่ค่ะ
  
21:34 ทำไมพวกเขาถึงไม่บอกพวกเธอล่ะ
 
21:37 S: หนูคิดว่าพวกเขาต้องการจะสอน
 
21:39 สิ่งที่ต้องสอนให้เสร็จจบลุล่วงไป
 
21:41 K: ถูกต้องแล้ว
 
21:43 พวกเขาต้องการที่จะสอนให้มันจบๆ ไป
 
21:45 พวกเขาเบื่อ เธอเองก็เบื่อ
 
21:51 ใช่ไหม
 
21:52 พวกเขาต้องการถ่ายทอด
สิ่งที่ต้องสอนให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
  
21:56 เพื่อจะได้สอนเรื่องอื่นต่อไป
หรือสอนในชั่วโมงต่อไป
  
22:00 พูดได้ว่าพวกเขาเบื่อการสอน
 
22:04 ถูกต้องไหม
 
22:05 ทีนี้ เราก็ถามเขาดูสิว่า
ทำไมพวกเขาจึงรู้สึกเบื่อหน่าย
  
22:10 ทำไมพวกเขาจึงต้องการสอนให้จบเร็วๆ
 
22:13 ทำไมพวกเขาจึงไม่ช่วยให้เกิด
ความสนใจ รู้จักใส่ใจ
  
22:18 เธอเข้าใจไหม
 
22:20 ถ้าเธอใส่ใจอยู่กับจิ้งจกตัวนั้น
เธอก็จะได้เรียนรู้ศิลปะของการใส่ใจ
  
22:24 ใช่ไหม
 
22:28 เข้าใจแล้วหรือยัง
 
22:31 จากนั้นเธอก็จะสามารถ
ใส่ใจในหนังสือได้
  
22:36 โดยไม่มีอะไรเป็นสิ่งรบกวนให้วอกแวก
 
22:39 S: แต่…
 
22:40 K: เดี๋ยวก่อนๆ
 
22:42 ฉันยังพูดไม่จบ
 
22:49 ถ้าฉันเป็นครูของพวกเธอ
 
22:59 ฉันจะชี้ให้พวกเธอเห็น
อย่างรอบคอบถี่ถ้วน
  
23:04 ว่าความใส่ใจคืออะไร
 
23:07 ถูกต้องไหม
 
23:08 การใส่ใจคือ
การให้พลังงานอย่างเต็มที่
  
23:14 ใส่ใจอย่างสมบูรณ์
ต่อสิ่งที่พวกเธอกำลังมองดูอยู่
  
23:19 เข้าใจไหม
 
23:21 และถ้าเธอเรียนรู้มันได้
 
23:26 เธอก็จะสามารถเรียนรู้ได้ว่า
จะให้ความใส่ใจกับหนังสือเรียนอย่างไร
  
23:28 S: ครับ
 
23:30 S: บางทีเราอาจจะสนใจ
จิ้งจกอย่างเดียว
  
23:32 อาจไม่ต้องการที่จะเรียนหนังสือ
ไม่สนใจการเรียนของเรา
  
23:34 K: บางคนอาจจะไม่ชอบเรียนหนังสือ
 
23:37 ถ้าอย่างนั้นก็ไม่ต้องเรียน
 
23:40 S: แล้ว…
 
23:41 K: ค้นหาสิ
 
23:45 เรียนรู้
 
23:47 ค้นหาว่าทำไม
เธอจึงไม่อยากอ่านหนังสือ
  
23:53 ทีนี้ฟังฉันให้ดี
 
24:00 เราได้คุยกันเกี่ยวกับ
การเพ่งจิตจดจ่อ
  
24:04 นั่นคือการที่เธอคิด
 
24:10 และให้ความใส่ใจต่อบางสิ่งบางอย่าง
แล้วความคิดอื่นก็แทรกเข้ามา
  
24:15 และเธอก็กันความคิดเหล่านั้นออกไป
 
24:18 ความขัดแย้งอย่างนี้
จึงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
  
24:23 เธออยากจะให้ความสนใจกับเรื่องหนึ่ง
แต่ความคิดก็เข้ามา
  
24:26 ดังนั้นสมองของเรา
จึงคิดจ้อฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลา
  
24:31 มันคิดจ้อพึมพำอยู่ข้างในไม่จบสิ้น
 
24:33 ใช่ไหม
 
24:34 เข้าใจแล้วหรือยัง
 
24:37 แล้วคำว่าสมาธิ
 
24:43 เธอรู้ไหมว่าคำๆ นี้หมายถึงอะไร
เคยได้ยินมาก่อนไหม
  
24:45 S: เคยครับ
 
24:47 K: คำว่าสมาธิในภาษาอังกฤษ
หมายถึงการเทียบวัด
  
24:57 ใช่ไหม
 
25:01 การหยั่งวัด
 
25:07 ส่วนการเทียบวัดในภาษาสันสกฤต
ถ้าถาม...
  
25:09 S: รัตติกาจี
K.: ขอบคุณที่ช่วยบอกฉันนะ
  
25:11 ถ้าถามรัตติกาจีดู เธอก็จะบอกว่า
 
25:16 ใช้คำว่า "ma" เช่นเดียวกัน
 
25:22 ดังนั้น สมาธิจึงหมายถึง
การเทียบวัดด้วย
  
25:31 เราอาจพูดได้ว่า
ถ้าปราศจากการเทียบวัด
  
25:35 ย่อมไม่มีความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีทั้งปวง
  
25:39 เห็นด้วยไหม
 
25:40 เห็นไหม
 
25:41 พวกเธอเข้าใจสิ่งทั้งหมด
ที่ฉันกำลังพูดหรือเปล่า
  
25:50 S: ผมไม่เข้าใจคำที่คุณพูดถึง
 
25:53 K: เธอไม่เข้าใจ
คำที่ฉันใช้อย่างนั้นหรือ
  
25:56 S: ใช่ครับ
 
25:59 K: ฉันใช้คำว่าการเทียบวัด
 
26:01 เธอรู้จักสายวัดไหม
S: ครับ
  
26:03 คำว่าสมาธิก็หมายถึงการวัดด้วย
 
26:10 S: ผมคิดว่าเขาไม่เข้าใจ
คำว่า "เทคโนโลยี"
  
26:18 K: … เธอไม่เข้าใจคำว่า"เทคโนโลยี"
 
26:23 มันก็คือเทคนิคในการทำอะไรบางอย่าง
ยกตัวอย่าง เธออยากสร้างรถยนต์
  
26:25  
 
26:30 เธอต้องรู้จักชิ้นส่วนทั้งหมด
แล้วประกอบมันเข้าด้วยกัน
  
26:34 ชิ้นส่วนทุกชิ้นต้องทำงานร่วมกัน
 
26:37 ฉันเคยรื้อรถยนต์ออกเป็นชิ้นๆ
 
26:41 แล้วประกอบชิ้นส่วนทั้งหมด
เข้าด้วยกันอีกครั้ง
  
26:45 โดยหวังว่ามันจะทำงานได้
 
26:49 แล้วมันก็ทำงานได้จริงๆ
 
26:51 ใช่ไหม
 
26:53 ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับกลไกทั้งหมด
รู้ว่ามันทำงานอย่างไร
  
26:55 ส่วนประกอบของมันมีอะไรบ้าง
 
26:59 และมีขนาดเท่าไร
ความแข็งแรงทนทานของโลหะ
  
27:01 และอะไรต่อมิอะไร
 
27:03 การเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้
เรียกว่าเทคโนโลยี
  
27:08 เป็นบางส่วนของเทคโนโลยี
 
27:11 สำหรับฉันแล้ว
สมาธิกับการเพ่งจิตจดจ่อ
  
27:17 เป็นสองอย่างที่แตกต่างกัน
อย่างสิ้นเชิง
  
27:24 S: บางครั้งใจเราจดจ่อกับบางอย่าง
 
27:28 โดยที่เราไม่ต้องพยายาม
เพ่งเลยด้วยซ้ำ
  
27:31 เช่น เวลาที่คุณทำอะไรบางอย่าง
คุณไม่จำเป็นต้องเพ่งความสนใจ
  
27:33 แต่คุณก็มีใจจดจ่อได้เอง
 
27:37 K: ใช่แล้ว ถ้าเธอรักชอบสิ่งนั้น
 
27:39 เธอก็ไม่ต้องยากลำบาก
ในการรวบรวมจิตให้จดจ่อ
  
27:42 เข้าใจไหม
S: ครับ
  
27:45 K: ถ้าคุณรักที่จะทำ
ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องจดจ่อความสนใจ
  
27:50 แล้วเธอรักชอบอะไรบ้างไหม
 
27:52 S: ก็ไม่กี่อย่างครับ
 
28:02 K: อะไรบ้างล่ะ
 
28:05 ไม่กี่อย่างที่ว่าน่ะ
 
28:08 S: ผมชอบอ่านหนังสือ
 
28:12 K: ชอบเล่นว่าวไหม
S: ชอบครับ
  
28:17 K: ไต่เขา ปีนต้นไม้ ไล่ลิง
 
28:28 อะไรล่ะที่เธอรักที่จะทำจริงๆ
 
28:30 S: สะสมแสตมป์
K: เดี๋ยวก่อน
  
28:33 สมาธิเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากๆ
สำหรับเด็ก ๆ
  
28:40 สมาธิ หมายถึงการเป็นอิสระ
จากการเทียบวัดทั้งปวง
  
28:51 นี่เป็นเรื่องที่ยากมากสำหรับพวกเธอ
 
28:54 S: การเพ่งความสนใจ
คือการบังคับตนเองให้ทำอะไรบางอย่าง
  
28:58 ส่วนสมาธิอาจจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ
ไม่มีการบังคับใดๆ ทั้งสิ้น
  
29:03 K: ถูกแล้ว
 
29:04 สมาธิจะเกิดขึ้นได้
เมื่อไม่มีการดิ้นรนพยายาม
  
29:11 ไม่มีความขัดแย้งไม่ลงรอยกัน
 
29:14 เธอรู้จักความขัดแย้ง
ไม่ลงรอยกันหรือเปล่า
  
29:19 เช่นเธอพูดอย่างหนึ่ง
แต่ทำอีกอย่างหนึ่ง
  
29:21 S: สมมติว่าคุณชอบอ่านหนังสือ
แล้วคุณก็จดจ่อกับมันอย่างยิ่ง
  
29:23 โดยที่คุณไม่รู้ตัวเลยว่าคุณจดจ่ออยู่
นั่นไม่ใช่สมาธิหรือครับ
  
29:26 K: ไม่ใช่หรอกเพราะขณะนั้น
 
29:28 เธอกำลังพยายามที่จะ
เข้าใจเนื้อเรื่องในหนังสืออยู่
  
29:30 S: แต่คุณไม่รู้ตัวว่า
คุณจดจ่ออยู่นะครับ
  
29:32 เหมือนที่เขาบอกว่า
คุณไม่รู้ตัวว่าคุณกำลังจดจ่อ
  
29:34 แต่ความจริงคุณกำลังจดจ่ออยู่
 
29:35  
 
29:38 K: นั่นคือเมื่อเธอทำในสิ่งที่เธอชอบ
เวลาที่เธออ่านเรื่องสืบสวนดีๆ
  
29:42 แล้วเธอก็สนุกไปกับมันใช่ไหม
 
29:46 เรื่องนี้ยากมากสำหรับพวกเธอ
 
29:48 อย่าคุยเรื่องสมาธิ
และการเพ่งจิตจดจ่อเลย
  
29:55 มันยากเกินไป
 
29:57 K.: .ใช่ไหม
S: ใช่
  
29:58 K.: ยากนิดหน่อยนะ
 
30:00 K: ฉันอยากจะคุยเรื่องอื่นได้ไหม
 
30:03 S: ได้ครับ
 
30:05 K: ฉันได้ถามพวกเธอว่า
 
30:09 อยากจะคุยอะไรกันแล้ว
 
30:13 ตอนนี้ฉันอยากจะคุย
เรื่องอื่นกับพวกเธอ
  
30:15 ได้ไหม
 
30:16 S: ได้ครับ
 
30:17 K: ทุกคนตกลงนะ
 
30:18 S: ครับ
K: ครับกันใหญ่เลย
  
30:27 K: สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่ามนุษย์
อย่างพวกเธอทุกคน
  
30:35 ล้วนมีความสามารถพิเศษ
บางอย่างซ่อนอยู่
  
30:40  
 
30:43 ความสามารถพิเศษเช่น
การวาดภาพ เล่นไวโอลิน เป่าขลุ่ย
  
30:47 หรือความสามารถที่จะเป็นคนดีอย่างยิ่ง
 
30:54 พวกเธอ มนุษย์ทุกคนล้วน
มีความสามารถพิเศษซ่อนอยู่ทั้งนั้น
  
30:58 ใช่ไหม
 
31:01 แต่สังคม พ่อแม่ ของพวกเธอ
และทุกคนต่างพูดว่าเป็นนักธุรกิจสิ
  
31:07  
 
31:14 เป็นหมอ เป็นวิศวกร
 
31:20 เป็นข้าราชการ
นักบริหารของอินเดียสิ
  
31:28 ดังนั้นสมองที่อยู่ภายใน
กะโหลกศีรษะของเธอ
  
31:32 จึงถูกครอบงำ ถูกกำหนดเงื่อนไข
โดยพ่อแม่ของเธอ
  
31:36 หรือสังคมที่พวกเธอดำรงชีวิตอยู่
 
31:39 พวกเธอเข้าใจที่ฉันพูดไหม
S: เข้าใจครับ
  
31:41 K: ดังนั้นความสามารถพิเศษของเธอเอง
 
31:47 จึงถูกทำลายให้สูญเสียไป
ด้วยแรงกดดันเหล่านี้
  
31:52 เธออาจเป็นจิตรกรที่ยิ่งใหญ่
 
31:56 ใช่ไหม
 
31:57 นักร้องที่ยิ่งใหญ่
หรือไม่ก็นักพฤกษาศาสตร์ที่โด่งดัง
  
32:01 เป็นผู้ชำนาญการทำสวนก็ได้
 
32:09 แต่พ่อแม่ สังคมบอกว่า
ไม่เอา มันยังไม่ดีพอ
  
32:13 พวกเธอต้องเป็นนักธุรกิจ
ผู้ประสบความสำเร็จ
  
32:17 เป็นแพทย์ที่ดี เป็นข้าราชการ
บริหารระดับสูงของอินเดีย
  
32:23 ดังนั้นพวกเธอจึงทำลาย
ความสามารถพิเศษของตัวเอง
  
32:30 แต่สิ่งสำคัญก็คือการดำรง
ความสามารถพิเศษของตนเองเอาไว้ได้
  
32:37 แล้วเธอจะมีความสุขกับมัน
 
32:41 เธอเข้าใจสิ่งที่ฉันพูดหรือเปล่า
 
32:44 S: คุณครับ...
K: ฟังสิ่งที่ฉันกำลังพูด
  
32:47 K: ฟังสิ่งที่ฉันกำลังพูด
 
32:49 เพราะถึงคราวที่ฉันพูด เธอเป็นผู้ฟังนะ
 
32:52 มีสิ่งหนึ่งซึ่งสำคัญยิ่ง นั่นคือ
 
32:53 แท้จริงแล้วมนุษย์มีความสามารถพิเศษ
อย่างใดอย่างหนึ่งซ่อนอยู่
  
33:05 รู้ไหม
 
33:07 คนเราไม่จำเป็นจะต้องเป็นนักธุรกิจ
 
33:09 เป็นนายร้อยในกองทัพ
หรือนักบินเสมอไปหรอก
  
33:16 ดังนั้นพวกเธอจะต้องค้นให้พบ
ความสามารถพิเศษของตนเอง
  
33:23 แล้วมีชีวิตอยู่กับมันให้ได้
 
33:27 ไม่ว่าพวกเธอจะกลายเป็นคนรวยหรือจน
หรือประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ตาม
  
33:33 S: แล้วถ้าหากเราอยากเป็นนักธุรกิจ
 
33:35 แต่เราก็ยังร้องเพลง วาดภาพ
หรือทำอะไรอื่นๆ ได้ล่ะครับ
  
33:44 K: พวกเด็กฉลาด!
 
33:47 ดูสิว่าพวกคุณได้ฝึกฝนอบรม
เด็กๆ พวกนั้นออกมาเป็นอย่างไร
  
33:50 เขาบอกว่าเธอเป็นได้ทั้งนักธุรกิจ
 
33:55 นายพล นายร้อยในกองทัพ
แล้วยังเป็นจิตรกรได้ด้วย
  
34:01 คุณเห็นไหมว่าสมองของเขา
ทำงานอย่างไร
  
34:06 ใช่เธอทำได้
 
34:09 แต่เธอจะไม่สามารถทำได้ดีสักอย่าง
 
34:12 และไม่สามารถทำอย่างมีความสุข
หรือทำอย่างเต็มที่ได้
  
34:15 S: ทำไมล่ะครับ
 
34:16 K: เพราะว่าเธอถูกฉีกกระชาก
อยู่ระหว่างสองอย่าง
  
34:18 S: ไม่หรอก
 
34:19 K: ฉันรู้ ฉันรู้ดี
 
34:23 เธอเข้าใจไหม
S: ครับ
  
34:26 รอก่อน ขอให้ฉันพูดอีกสักครู่
 
34:31 มันยากยิ่งที่จะค้นพบ
ความสามารถพิเศษของตนเอง
  
34:41 และมันอาจจะไม่นำเธอไปสู่ความสำเร็จ
 
34:46 แต่นั่นไม่ใช่สาระสำคัญอะไร
 
34:49 เธอเข้าใจไหม
 
34:50 เมื่อค้นพบเธอจะไม่ใส่ใจหรอก
ที่ไม่มีเงินมากมาย
  
34:55 เพราะว่าเธอมีอะไรบางสิ่งบางอย่าง
อยู่ในตนเองแล้ว
  
35:02 K.: ใช่ไหม
S: ใช่ครับ
  
35:05 K: ดังนั้นพวกเธอทุกคนจงค้นหา
ความสามารถพิเศษของตนเองให้เจอ
  
35:07  
 
35:12  
 
35:14 สิ่งที่เป็นของแท้ของเธอเอง
โดยไม่ได้ถูกยัดเยียดให้โดยการศึกษา
  
35:20 โดยครอบครัว หรือโดยสังคม
 
35:21 แต่ค้นหาสิ่งที่เธอมีนั้นด้วยตนเอง
 
35:25 S: แล้วถ้าหากพ่อแม่
อยากให้เราทำอย่างอื่นล่ะ
  
35:28 K: ฉันรู้ว่าพ่อแม่เธอ
อยากให้เธอเป็นวิศวกร
  
35:32 หรือบังคับเธอให้เป็นอะไรอื่นๆ
 
35:35 แต่ในขณะที่เธอยังเด็กอยู่
ก็แค่แกล้งยอมรับฟังพ่อแม่
  
35:38 แล้วก็ค้นหาด้วยตัวเองต่อไป
 
35:43 S: แต่ถ้าสมมติว่ามีอะไรบางอย่าง
เกิดขึ้นกับเราล่ะ
  
35:46 K: ฉันรู้ ขอให้แค่ฟัง
ในสิ่งที่ฉันกำลังพูดเท่านั้น
  
35:50 เพราะว่าฉันยังมีสิ่งที่จะพูดอีก
 
35:54 K.: ตกลงไหม
S: ครับ
  
35:56 K: พวกเธอไม่ว่าอะไรใช่ไหม
S: ไม่ครับ
  
35:59 K: พวกเธอยังต้องออกไปเผชิญโลก
 
36:05 เมื่อไปจากหุบเขาอันมหัศจรรย์
ที่เต็มไปด้วยโขดหิน
  
36:08  
 
36:11 ร่มเงา ต้นไม้ ดอกไม้
อันแสนวิเศษและเงียบสงบแห่งนี้
  
36:16 พวกเธอจะต้องไปเผชิญ
กับโลกที่น่าสะพึงกลัว
  
36:22 ใช่ไหม
 
36:29 ที่เต็มไปด้วยความรุนแรง การลักพาตัว
การเข่นฆ่ากันและการติดสินบน
  
36:35  
 
36:41 โลกที่นับวันจะอันตรายมากขึ้นทุกที
 
36:46 ใช่ไหม
 
36:50  
 
36:53 โลกที่เสื่อมทรามฉ้อฉลทั่วทุกหนแห่ง
ไม่ใช่เฉพาะในอินเดีย
  
36:58 ซึ่งเป็นไปอย่างไร้ยางอาย
และเอิกเกริกเหลือเกิน
  
37:01 พวกเธอเข้าใจความหมายของคำว่า
เอิกเกริกและไร้ยางอายหรือเปล่า
  
37:03 มันแปลว่า ทำอย่างเปิดเผย
 
37:05 มีคนบอกว่าต้องเอาอะไรไปให้เขาก่อน
แล้วเขาจึงจะทำอะไรให้
  
37:12 นี่คือการฉ้อฉล
 
37:15 ใช่ไหม
 
37:19 มันเกิดขึ้นทั่วโลก
ไม่เฉพาะในประเทศนี้เท่านั้น
  
37:22 ในอเมริกา อังกฤษ
ฝรั่งเศส ก็มีด้วย
  
37:24 การฉ้อฉลโกงกินทางการเมือง ทางสังคม
ในตลาดมืด และอื่นๆ อีกมากมาย
  
37:31 มันมีการฉ้อฉลกันมากมายทั่วโลก
 
37:35 เราบอกว่าการฉ้อฉลได้แก่
 
37:37 การติดสินบาทคาดสินบน
 
37:50 การให้เงินใต้โต๊ะ
การจ่ายเงินโดยไม่แสดงบัญชี
  
37:54 ทั้งหมดนี้เรียกว่า
การฉ้อฉลโกงกินใช่ไหม
  
37:58 นี่เป็นเพียงอาการอย่างหนึ่งของโรค
 
38:03 พวกเธอรู้จักความหมาย
ของคำว่า "อาการ" ไหม
  
38:05 S: รู้จักครับ มันแปลว่าสัญญาน
 
38:07 K: อาการคืออะไร
 
38:10 อาการก็คือการที่ฉัน
กินอะไรบางอย่างเข้าไป
  
38:17 กินมาก แล้วก็ปวดท้อง
 
38:20 การปวดท้องนี่แหละคืออาการ
 
38:24 แต่ต้นเหตุของอาการก็คือ
การที่ฉันกินอาหารไม่ดี
  
38:28 K.: เข้าใจหรือยัง
S: เข้าใจครับ
  
38:30 K: ทีนี้ ฉันจะลงลึกไปถึง
ต้นเหตุของการฉ้อฉล
  
38:37 ฉันหวังว่าพวกเธอจะสนใจฟัง
 
38:40 เพราะว่าเมื่อจากหุบเขาฤาษีไป
พวกเธอจะต้องเผชิญกับโลกภายนอก
  
38:43  
 
38:45 S: คุณครับ ถ้าหากเรา
ไม่รับเงินสินบนที่เขาให้มา
  
38:53 เขาอาจจะทำอะไรที่เลวร้ายกับเรา
 
38:55 ถ้าเรายอมรับเงิน…
 
38:57 K: ถ้าฉันให้เงินใต้โต๊ะพวกเธอ
ฉันก็จะกลายเป็นคนฉ้อฉล
  
39:01 S: ใช่ครับ
 
39:02 K: เมื่อนั้นเธอก็กลายเป็นคนฉ้อฉลด้วย
 
39:07 เพราะเธอรับเงินใต้โต๊ะนั้นใช่ไหม
S: ใช่ครับ
  
39:08 แต่ถ้าเราไม่รับเงิน
เขาก็อาจจะทำอะไรอย่างอื่นอีก
  
39:10 K: ฉันรู้ ถ้าไม่รับเงิน
เขาจะทำร้ายเธอ
  
39:14 แต่ฟังนะ อะไรเป็นสาเหตุ
ของความฉ้อฉลเสื่อมทราม
  
39:21 เธอเข้าใจไหม
 
39:24 การฉ้อฉลไม่ได้หมายถึง
เพียงการให้เงินใต้โต๊ะ
  
39:31 การติดสินบน หรือตลาดมืดเท่านั้น
 
39:34 แต่ต้นเหตุของมันเป็นอะไร
ที่แตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง
  
39:39 ใช่ไหม
 
39:40 ฉันจะลงลึกในเรื่องนี้ต่อไปอีก
ถ้าพวกเธอสนใจ
  
39:43 การฉ้อฉลเสื่อมทรามเริ่มต้นที่
การสนใจแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง
  
39:56 พวกเธอเข้าใจที่ฉันพูดไหม
 
39:58 S: ครับ
 
40:00 K: ถ้าฉันสนใจแต่ตัวเอง
ว่าฉันต้องการอะไร ฉันต้องเป็นอะไร
  
40:05 ถ้าฉันโลภ ขี้อิจฉา หยาบกระด้าง
โหดเหี้ยม ทารุณ
  
40:10 นั่นแสดงถึงการฉ้อฉลคดโกงเหมือนกัน
 
40:15 เธอเข้าใจไหม
 
40:16 เพราะการฉ้อฉลเริ่มต้นในใจของเรา
ในหัวใจหัวจิตเรา
  
40:20 ไม่ใช่แค่การให้สินบน
 
40:21 แม้ว่านั่นจะเป็นการฉ้อฉลเหมือนกัน
 
40:26 แต่สาเหตุที่แท้จริง
ของการฉ้อฉลอยู่ภายในตัวเราเอง
  
40:34 หากพวกเธอไม่ค้นหา
และเปลี่ยนแปลงตัวเอง
  
40:38 พวกเธอก็จะเป็นมนุษย์ที่ฉ้อฉล
 
40:44 พวกเธอเข้าใจในสิ่งที่ฉันพูดนี้ไหม
 
40:47 การฉ้อฉลเกิดขึ้นเมื่อเราโกรธ
 
40:53 เมื่อเราริษยา
เมื่อเราเกลียดใครสักคน
  
40:59 เมื่อเราเกียจคร้าน
 
41:05 เมื่อเธอบอกว่าสิ่งนี้ถูกต้อง
และฉันก็รู้สึกว่ามันถูก
  
41:08 แล้วก็ยึดมั่นถือมั่น
 
41:12 เข้าใจในสิ่งที่ฉันพูดหรือเปล่า
 
41:17 S: ครับ ดูเหมือนว่าทุกสิ่งทุกอย่าง
จะเกิดจากความเห็นแก่ตัว
  
41:20 K: ทุกอย่างเกิดขึ้นจาก
ความเห็นแก่ตัว
  
41:23 ถูกต้องทีเดียว
 
41:25 การฉ้อฉลเริ่มจากตรงนี้แหละ
 
41:31 เธอเข้าใจหรือเปล่า
 
41:33 S: เข้าใจครับ
 
41:35 K: เพราะฉะนั้นจงอย่าฉ้อฉล
 
41:39 แม้จะต้องตายก็ช่างประไร
 
41:42 S: คุณครับ…
 
41:43 K: เดี๋ยวก่อน ฟังฉันก่อน
 
41:45 เธอเข้าใจไหม
 
41:47 เราทุกคนหวาดกลัว
 
41:54 เธอจะถามว่า
แล้วฉันจะมีชีวิตอยู่อย่างไร
  
42:00 หรือฉันจะทำอะไรได้
ถ้าตัวฉันเองไม่ฉ้อฉล
  
42:02 ในขณะที่คนรอบข้าง
ต่างก็ฉ้อฉลกันทั้งนั้น
  
42:07 เธอเข้าใจไหมว่า ฉันหมายถึงอะไร
เมื่อพูดถึงความฉ้อฉล
  
42:09 มันไม่ใช่เฉพาะสิ่งที่
แสดงออกภายนอกเท่านั้น
  
42:11 แต่เป็นความรู้สึกฉ้อฉล
ที่อยู่ลึกในจิตใจ
  
42:15 การที่มนุษย์เราดำรงชีวิตอยู่กับมัน
 
42:19 อยู่กับความเห็นแก่ตัว
คิดถึงแต่ตัวเอง
  
42:23 ใฝ่ความสำเร็จและอิจฉา ริษยา
เธอเข้าใจสิ่งที่พูดไหม
  
42:29  
 
42:31 ดังนั้นการฉ้อฉลจึงเป็นเรื่องภายใน
ภายในใจ ภายในสมองของเธอ
  
42:43 ฉะนั้นขอให้เธอเข้าใจเรื่องนี้
อย่างถี่ถ้วนและจริงจัง
  
42:45 ไม่เย้ยหยัน ดูแคลน
 
42:51 พวกเด็กผู้ชายที่กำลัง
จะจบไปจากที่นี่
  
42:54 ส่วนใหญ่กลายเป็นคนที่เย้ยหยัน
ดูแคลน เขาเห็นว่าโลกเป็นอย่างไร
  
42:56  
 
42:59 แล้วก็บอกว่า
ฉันจำเป็นต้องยอมรับมัน
  
43:01 นี่เป็นลักษณะหนึ่งของการเย้ยหยัน
 
43:08 แต่ถ้าพวกเธอเข้าใจ
อย่างถ่องแท้เสียแต่เดี๋ยวนี้ว่า
  
43:15 การฉ้อฉลมิใช่เพียง
การให้เงินใต้โต๊ะ การติดสินบน
  
43:22 ซึ่งไม่ว่าแค่สองรูปี
หรือสิบล้านดอลลาร์
  
43:29 มันก็คือการติดสินบนอยู่ดี
 
43:33 การเป็นคนรุนแรงก็เป็นส่วนหนึ่ง
ของการฉ้อฉลต่ำทราม การคุกคามนั่นเอง
  
43:40 นั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงบนโลกนี้
 
43:44 พวกเธอคือมนุษย์ผู้ที่กำลังจะเติบโต
เป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า
  
43:45 ขออย่าเป็นอย่างคนเหล่านั้น
 
43:56 จงอย่าเป็นคนขี้โกรธ
อย่าอิจฉาริษยา
  
44:02 อย่ามุ่งแต่ความสำเร็จ
เพียงอย่างเดียว
  
44:08 S: แล้วเราจะหยุด
สิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร
  
44:11 เราจะหยุดอิจฉาริษยาได้อย่างไร
 
44:13 K: ถ้าพวกเธออยากอิจฉาก็ให้มันอิจฉา
แล้วเฝ้าดูว่าเกิดอะไรขึ้น
  
44:18 เข้าใจไหม
 
44:19 แต่ถ้าไม่อยากเป็นคนอิจฉาริษยา
ก็อย่าอิจฉา
  
44:22 แต่อย่าถามว่าจะหยุดมันอย่างไร
 
44:27 ถ้าเธอเห็นอันตราย
อย่างเช่น งูเห่า
  
44:33 ไม่มีใครต้องบอกเธอ
เธอก็ต้องวิ่งหนี
  
44:37 ใช่ไหม
 
44:38 ความฉ้อฉลต่ำทรามในเบื้องลึก
ภายในจิตใจเป็นสิ่งที่อันตรายที่สุด
  
44:48 ใช่ไหมล่ะ
 
44:50 ฉะนั้นจงอย่าฉ้อฉล
 
44:51 เริ่มที่ใจเราก่อน ไม่ใช่ที่ภายนอก
 
44:56 เข้าใจไหม
 
45:01 พวกเธอจะทำไหม
 
45:03 ไม่ต้องสัญญา
 
45:07 อย่าสัญญาหากไม่ได้ตั้งใจ
จะทำอย่างแน่นอนที่สุด
  
45:18 ถูกไหม
 
45:20 ถ้าหากเธอเห็นว่า
สิ่งนี้เป็นสิ่งที่สำคัญต่อชีวิต
  
45:27 เพราะว่าพวกเธอทุกคนต่างกำลังเติบโต
 
45:29  
 
45:34 เติบโตไปสู่โลกที่เลวร้าย
โลกอันวิปริตนี้ไม่มีความเป็นปรกติ
  
45:37 เธอเข้าใจไหม
 
45:40 ในโลกการเมือง โลกแห่งศาสนา
หรือโลกเศรษฐกิจ
  
45:47  
 
45:50 มันเต็มไปด้วยความวิปริตทั้งนั้น
 
45:59 เพราะฉะนั้น เมื่อพวกเธอเติบโตขึ้น
 
46:06  
 
46:09 หรือออกจากหุบเขาแสนวิเศษนี้
 
46:16 หรือจะอยู่ที่นี่ต่อไป
อีก 2 ปี หรือ 4 ปี
  
46:22 ภายในจิตใจของเธอ
ขออย่าได้เป็นคนฉ้อฉล
  
46:30 อย่าแสวงหาสิ่งไร้ค่า ชื่อเสียง
ความทะนงตน ความภูมิใจ
  
46:37 อย่าพูดว่าฉันเหนือกว่าคนอื่น
 
46:45 เธอรู้ไหมเธอจะเรียนรู้อย่างมากมาย
มหาศาลเมื่อเธอมีความถ่อมต่อชีวิต
  
46:51 พวกเธอรู้จักคำว่า
ถ่อมต่อชีวิตหรือเปล่า
  
46:54 เธอจะเรียนรู้ได้มากมาย
หากเธอถ่อมและอ่อนน้อมต่อชีวิตจริงๆ
  
47:00 แต่ถ้าพวกเธอเพียงมุ่ง
แสวงหาความสำเร็จ
  
47:05 เงินๆ ทองๆ อำนาจ
ตำแหน่งหน้าที่ และสถานภาพต่าง ๆ
  
47:11 พวกเธอก็กำลังเริ่มฉ้อฉลต่ำทราม
 
47:13  
 
47:20 เธออาจจะยากจน อาจจะน่าสงสาร
ก็ให้จนไปเถอะจะเป็นอะไรไป
  
47:30 นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเรื่องนี้
จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับพวกเธอทุกคน
  
47:34 จงค้นหาความสามารถพิเศษ
ของตนเองให้พบและมีชีวิตอยู่กับมัน
  
47:39 แม้ว่ามันจะไม่นำความสำเร็จ
ชื่อเสียง หรือสิ่งอื่นๆ มาให้ก็ตาม
  
47:40 ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไร้สาระ
 
47:45 เพราะในที่สุดทุกคน
ต่างก็ต้องตายด้วยกันทั้งนั้น
  
47:52 เธอเข้าใจไหม หนุ่มน้อย
 
47:54 เพราะฉะนั้นในขณะที่มีชีวิตอยู่
 
48:00 จงมีชีวิตอยู่จริงๆ
อย่าหมกมุ่นอยู่กับเรื่องไร้สาระ
  
48:12 S: แล้วทำไมผู้คนถึงไม่คิด
ไม่ตระหนักอย่างนี้
  
48:20 K: เพราะว่าพวกเขาไม่ได้คิด
พวกเขาไม่มีความรู้สึก
  
48:25 พวกเขาคิดถึงแต่ตัวเองตลอดเวลา
คิดแต่เรื่องงานของเขา
  
48:29 หน้าที่ของเขา ตำแหน่งของเขา
 
48:34 พวกเธอเข้าใจหรือเปล่า
พวกเขาไม่สนใจเรื่องอย่างนี้
  
48:38 แต่ถ้าพวกเธอสนใจ...
 
48:42 S: แล้วจะหยุด
ความเห็นแก่ตัวได้อย่างไร
  
48:47 K: จะหยุดความเห็นแก่ตัวได้อย่างไร
 
48:49 ก็อย่าเห็นแก่ตัว
 
48:52 ฟังนะ ขอแค่ฟังให้ดี
 
48:56 อย่าได้ถามคนอื่นเป็นอันขาด
ว่าจะทำอย่างไร
  
49:04 เธอเข้าใจไหม
 
49:07 เพราะเมื่อเขาบอกว่าทำอย่างไร
เธอจะหลงทางถูกทำลาย
  
49:10 นั่นคือการฉ้อฉล
ที่ต่ำทรามและร้ายแรงที่สุด
  
49:14 S: หมายความว่า
เราต้องค้นหาด้วยตัวเอง
  
49:17 K: ค้นหา ถาม ใช้สมอง
สงสัย ตั้งคำถาม
  
49:29 อย่ายอมรับอะไรง่ายๆ
 
49:34 สมมติว่าฉันเป็นครูของเธอ
 
49:36 ฉันต้องการให้พวกเธอมีสมองที่ดี
 
49:45 ใช่ไหม
 
49:47 การจะมีมันสมองที่ดี
เราจะต้องไม่มีความขัดแย้ง
  
49:53 ทั้งในตัวเองหรือกับคนอื่น
 
49:59 ทั้งหมดนี้อาจจะมาก
ยากเกินไปสำหรับพวกเธอ
  
50:03 S: ผมอยากจะถามคุณว่า
สมมติว่าคุณไม่เห็นแก่ตัว
  
50:07 แล้วคนอื่นมาทำอะไรไม่ดีกับคุณ
 
50:13 K: ถ้ามีคนทำร้ายเธอ
เธอจะทำอย่างไร
  
50:16 ตอบโต้กลับไปอย่างนั้นหรือ
 
50:21 S: มันก็ขึ้นอยู่กับว่า
เขาทำอะไรแค่ไหน
  
50:23 K: อืม…
 
50:26 เธอนี่ช่าง…
 
50:27 ถ้าเขาทำร้ายเธออย่างรุนแรง
เธอจะทำอย่างไร
  
50:35 เธอเคยมีคำถามไหมว่า
การถูกทำให้เจ็บปวดหมายถึงอะไร
  
50:40 ลองคิดดู คิดไปพร้อมๆ กับฉัน
 
50:43 S: การฉ้อฉล
เป็นความเจ็บปวดหรือเปล่า
  
50:45 K: ฟังนะ
 
50:46 สมมติว่าฉันทำร้ายเธออย่างรุนแรง
 
50:49 (สมมตินะ ฉันไม่ต้องการ
ทำร้ายเธอหรอก)
  
50:52 สมมติว่าฉันอยากทำให้เธอ
เจ็บปวดอย่างรุนแรง
  
50:56 และเธอก็บอกว่าเธอเจ็บปวด
 
50:59 เธอหมายถึงอะไร ลองคิดดู
 
51:02 K: พูดเลย อย่าพูดซ้ำ
 
51:05 S: เจ็บปวดทางร่างกายหรือครับ
 
51:07 K: ใช่ ไม่เฉพาะทางกาย
ภายนอกอย่างเดียว
  
51:08 แต่ภายในจิตใจด้วย
เขาทำให้เธอเจ็บปวด
  
51:11 เขาเรียกเธอว่าไอ้งั่ง
S: ผมคิดว่า…
  
51:15 K: ขอให้ฟังให้ดี
 
51:17 ทุกคนฟังให้ดี
 
51:20 เขาเรียกพวกเธอว่าไอ้งั่ง
และเธอก็รู้สึกเจ็บปวด
  
51:25 ใช่ไหม
 
51:27 ทีนี้ลองนึกดูสิว่าอะไรที่เจ็บปวด
 
51:33 คิดให้ดีนะ
 
51:35 S: ถ้าเราคิดว่าเราไม่ใช่คนโง่
แล้วมีคนมาบอกว่าเราโง่…
  
51:42 K: คนหนึ่งบอกว่าเธอโง่
แต่อีกคนบอกว่าเธอเป็นผู้ยิ่งใหญ่
  
51:48 ทั้งสองก็เหมือนกันนั่นแหละ
ไม่ต่างกันเลย
  
51:54 พวกเธอเข้าใจในสิ่งที่ฉัน
กำลังพูดหรือเปล่า
  
52:01 ใครบางคนบอกว่าฉันโง่เง่า
แล้วฉันรู้สึกเจ็บปวด นี่สมมตินะ
  
52:07  
 
52:10 แล้วอะไรล่ะที่เจ็บปวด
 
52:12 คิดดีๆ ไม่ต้องรีบตอบ คิดดู
 
52:19 K: ไม่ ฉันยังไม่ฟัง
 
52:22 คิดดีๆ ก่อน
 
52:28 ฉันถามเธอว่า ถ้าฉันเรียก
พวกเธอว่า เจ้าหน้าโง่
  
52:30 (ฉันหวังว่าฉันคง
ไม่ต้องพูดอย่างนั้น)
  
52:35 แล้วพวกเธอรู้สึกเจ็บปวด
 
52:40 มันหมายความว่าอะไร
เธอที่รู้สึกเจ็บปวด
  
52:43 เธอน่ะคืออะไร
 
52:46 S: อัตตาของตัวเรา
 
52:47 K: คิดให้ดี คิดพินิจให้ดี
 
52:51 S: มันคือตัวเรา อัตตาของเรา
 
52:53 K: "เธอ" คืออะไร
 
52:58 S: มันคือ…
 
53:01 K: มาตรงนี้ หนุ่มน้อย
 
53:04 มานั่งตรงนี้
 
53:06 มานั่งตรงนี้ เร็วเข้า
 
53:13 ฉันรู้จักเธอนะ เอาเลย พูดมาเลย
 
53:16 S: สิ่งที่เป็นความเจ็บปวดคือเรา
สิ่งที่เราสร้างขึ้นมาเกี่ยวกับตัวเรา
  
53:19 K: สิ่งที่เธอสร้างขึ้นมา
เกี่ยวกับตัวเธอนี้คืออะไร
  
53:23  
 
53:26 S: สิ่งที่เป็นความสำเร็จของเรา
สิ่งที่เราทำมา
  
53:30 K: สิ่งที่เธอทำ ความสำเร็จของเธอ
 
53:33 ทำไมพวกเธอถึงคุ้นเคยกับการใฝ่หา
ความสำเร็จกันเหลือเกิน
  
53:39 พวกเธอทุกคนต่างพูดถึงความสำเร็จ
 
53:44 เหมือนพ่อแม่ ปู่ย่าตายายของเธอ
ที่ประสบความสำเร็จกันมาแล้ว
  
53:48 ใช่ไหม
 
53:50 นี่ใช่ไหมความสำเร็จที่เธอพูดถึง
 
53:52 S: ไม่ใช่ครับแต่เป็นสิ่งที่
พวกเขาทำไว้กับตัวเอง
  
53:54 K: อืม...
 
53:57 K: ยกตัวอย่างเช่น ฉันเคยเดินทาง
มาแล้วเกือบทั่วโลก
  
54:02 ใช่ไหม
 
54:03 สนทนากับผู้คนมากหน้าหลายตาหลายพันคน
 
54:06 เคยไปพูดที่องค์การสหประชาชาติ
ทำอะไรต่อมิอะไรมาทุกอย่าง
  
54:11 ใช่ไหม
 
54:11 นั่นหมายความว่าอะไร
หมายความว่า
  
54:14 ฉันได้สร้างภาพขึ้นในใจ
เกี่ยวกับตัวฉันขึ้นมา
  
54:17 ใช่ไหม
 
54:21 ภาพเกี่ยวกับตัวฉัน
 
54:25 แล้วพวกเธอก็มาบอกฉันว่า
ฉันเป็นคนโง่ แล้วฉันรู้สึกเจ็บปวด
  
54:29 เอาละ ถามว่า
สิ่งที่รู้สึกเจ็บปวดนั้นคืออะไร
  
54:30 S: คือความรู้สึกของคุณ
 
54:33 K: คือความรู้สึก คือภาพในใจฉัน
 
54:35 S: มโนภาพของตัวคุณเอง
 
54:38 K: ใช่ ถูกต้อง
 
54:39 มโนภาพของตัวฉันเอง
เพราะฉันเดินทางมามากมาย
  
54:42 ฉันคือผู้ยิ่งใหญ่
 
54:44 ฉันเขียนหนังสือ
ฉันเคยพบกับ นางอินธิรา คานธี
  
54:47 เธอตามทันนะ
 
54:48 ฉันสร้างมโนภาพเกี่ยวกับ
ตัวฉันขึ้นมาจากสิ่งเหล่านี้
  
54:51 แล้วมโนภาพนั้นเองที่รู้สึกเจ็บปวด
 
54:55 ฟังให้ดีๆ นะ
ขั้นต่อไปก็คือ
  
54:59 ทีนี้ ฉันจะสามารถดำรงชีวิตอยู่
โดยปราศจากมโนภาพเหล่านี้ได้หรือไม่
  
55:05 S: ท่านทำได้ไหมครับ
 
55:07 K: ได้ไหม ได้สิ
 
55:11 ไม่อย่างนั้นฉันจะไม่มาพูดเรื่องนี้
 
55:15 มันเป็นความไม่ซื่อสัตย์
ที่จะพูดเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่าง
  
55:18 ที่ตัวเราเองไม่ได้
ใช้ชีวิตอย่างที่พูด
  
55:20 S: แต่ว่า…
 
55:22 K: เดี๋ยว ฟังก่อนว่า
ฉันกำลังพูดอะไร
  
55:29 ด้วยอายุขนาดนี้พวกเธอมีมโนภาพ
เกี่ยวกับตัวเองแล้วหรือยัง
  
55:32 แน่นอนที่สุด พวกเธอทุกคน
มีมโนภาพของตัวเอง
  
55:35 และมโนภาพนั่นแหละที่เจ็บปวด
 
55:39 และมันก็เป็นเช่นนี้ไปตลอดชีวิต
ตราบใดที่เธอยังมีมโนภาพเหล่านั้นอยู่
  
55:41  
 
55:45 S: แล้วเราควรจะลืมมันหรือเปล่า
 
55:48 K: ต้องทิ้งมันไป อย่าครอบครอง
อย่ามีมันโดยเด็ดขาด
  
55:50 คนหลายคนยกย่องฉัน
 
55:55 และหลายๆ คนเหยียดหยามฉัน
 
55:59 แต่ฉันไม่มีมโนภาพเกี่ยวกับตัวฉันเอง
 
56:00 ฉันจึงไม่เจ็บปวด
มันไม่เห็นจะมีสาระอะไรเลย
  
56:04 พวกเธอเข้าใจที่ฉันพูดไหม
 
56:06 S: ครับ
 
56:07 K: ให้มันเป็นอย่างนั้นนะ
 
56:09 ความฉ้อฉลเสื่อมทราม
เกิดขึ้นตรงนี้แหละ
  
56:14 S: แล้วเราจะทิ้งมโนภาพได้อย่างไร
 
56:19 K: แล้วเราจะกำจัดมโนภาพได้อย่างไร
 
56:23 ถ้าพวกเธอเห็นว่า
สิ่งเหล่านี้เป็นอันตราย
  
56:26 พวกเธอก็จะทิ้งมันไปโดยฉับพลันทันที
 
56:29 S: เมื่อทิ้งไปได้แล้ว
เราจะมีอะไรหลงเหลืออยู่บ้าง
  
56:32 K: ไม่เหลืออะไรเลย
S: ถ้าอย่างนั้นเราคือใคร
  
56:34  
 
56:36 K: ฟังที่ฉันพูดนะ
 
56:40 ด้วยการไม่เป็นอะไรเลย
เราจึงจะมีชีวิตอยู่จริงๆ
  
56:47 เธอจะเข้าใจมันทีหลัง
 
56:51 S: คนอื่นอาจจะมีมโนภาพเกี่ยวกับเรา
แต่ตัวเราเองไม่มีมโนภาพ
  
56:55 K: ปล่อยให้พวกเขามีมโนภาพ
เราอย่ามีก็แล้วกัน
  
57:00 S: บางครั้ง พวกเราไม่มีมโนภาพ…
 
57:08 K: ไม่ใช่ "บางครั้ง"
 
57:13 เธอกำลังพูดอย่างจริงจัง
หรือพูดแค่เป็นทฤษฎี
  
57:18 S: สมมติว่าคนๆ หนึ่งสามารถ…
 
57:21 K: ทำไมพวกเธอจึงสมมติ
 
57:24 S: ถ้าคนเราไม่มีมโนภาพ
 
57:27 เขาจะไม่เกิดความรู้สึก
ไม่มั่นคงปลอดภัยหรือ
  
57:30 K: จงรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย
 
57:35 รู้ตัวว่าตัวเองรู้สึก
ไม่มั่นคงปลอดภัย
  
57:39 แล้วค้นหาว่าความรู้สึก
มั่นคงปลอดภัยคืออะไร
  
57:46 ถ้าพวกเธอมัวแสวงหา
ความมั่นคงปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา
  
57:49 พวกเธอก็จะไม่รู้ว่า
เธอมั่นคงปลอดภัยหรือไม่
  
57:54 แต่ก่อนอื่นค้นหาด้วยตัวเธอเองว่า
เธอรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยหรือไม่
  
58:00 ทั้งทางร่างกายและภายในจิตใจ
 
58:05 S: ไม่ว่าจะมีมโนภาพหรือไม่มี
เราก็ยังรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยอยู่ดี
  
58:14 K: ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีมโนภาพ
เราก็ยังรู้สึกไม่มั่นคงอยู่ดี
  
58:18 ฉันถามพวกเธอว่า
 
58:21 เธอค้นพบว่าตนเองมีความรู้สึก
ไม่มั่นคงปลอดภัยจริงๆ หรือ
  
58:23 หรือว่าแค่พูดเอาเอง
 
58:25 S: ผมรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย
เกี่ยวกับอะไรบางอย่าง
  
58:27  
 
58:34 K: ค้นหาดูสิ ดูว่าความรู้สึก
ไม่มั่นคงนี้หมายถึงอะไร
  
58:42 ไม่ว่าไม่มั่นคงปลอดภัย
ทางกายภาพ ทางเศรษฐกิจ
  
58:45  
 
58:52 รู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัยในเรื่องที่
คนอื่นคิดเกี่ยวกับเราอย่างไร
  
58:53  
 
58:56 เรื่องเงิน
เรื่องความสัมพันธ์กับคนอื่น
  
58:59 ฉะนั้นค้นให้พบ
 
59:02 S: แล้วจากนั้นละครับ
 
59:05 K: เมื่อเธอเรียนรู้ว่า
ตรงไหนที่รู้สึกไม่มั่นคง
  
59:09 จากนั้นเธอจะรู้สึกมั่นคงปลอดภัย
 
59:12 พวกเธอเข้าใจให้ได้นะ
 
59:14 S: คุณมีมโนภาพไหมครับ
K: ฟังที่ฉันพูดนะ
  
59:18 เธอเข้าใจไหม
 
59:22 K: เข้าใจแล้วยังว่า
เมื่อเธอค้นพบด้วยตนเอง
  
59:25 ว่าอะไรคือความไม่มั่นคงปลอดภัย
เกี่ยวกับอะไรที่เธอรู้สึก
  
59:31 ไม่มั่นคงปลอดภัย
เกี่ยวกับครอบครัวของเธอ
  
59:34 กับพ่อแม่ ภรรยา สามี หรือพระเจ้า
 
59:40 เธอเข้าใจไหม
 
59:42 ค้นหาให้เจอและเรียนรู้มัน
 
59:45 ในขณะที่เธอพบและได้เรียนรู้
เกี่ยวกับความไม่มั่นคงได้อย่างมหาศาล
  
59:50 เธอจะหลุดพ้นออกจากมัน
เธอจะมั่นคงปลอดภัย
  
59:57 S: ถ้าเรียนรู้เกี่ยวกับ
ความไม่มั่นคงปลอดภัยมากๆ
  
1:00:01 เราก็จะไม่รู้จัก
ความไม่มั่นคงอย่างเต็มที่
  
1:00:03 K: ได้สิ
 
1:00:06 ถ้าพวกเธอเริ่มต้นอย่างถูกต้อง
เข้าใจไหม
  
1:00:13 มันก็จะถูกต้องตั้งแต่ต้น
 
1:00:19 นี่อาจจะเป็นเรื่องยากเกินไปแล้ว
 
1:00:21 S: คุณบอกว่าให้ดำรงชีวิต
อยู่กับความไม่มั่นคงปลอดภัย
  
1:00:23 เพื่อค้นหาว่ามันคืออะไร
 
1:00:25 K: ที่จริงคือพวกเธอ
รู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย
  
1:00:26 ไม่ใช่ให้อยู่กับความรู้สึก
ไม่มั่นคงปลอดภัย
  
1:00:27 พวกเธอเพิ่งพูดว่า
ตัวเธอรู้สึกไม่มั่นคงปลอดภัย
  
1:00:30 เพราะฉะนั้นจงอยู่กับมันและค้นหา
 
1:00:33 ใช้สมองค้นหา
 
1:00:38 อย่าให้เป็นเหมือนเครื่องยนต์กลไก
 
1:00:43 S: เพื่อกำจัดความรู้สึก
ไม่มั่นคงปลอดภัย
  
1:00:45 เราต้องกำจัดความกลัวเสียก่อนใช่ไหม
 
1:00:46 K: ความกลัวหรือ
 
1:00:48 ความกลัวใช่ไหม
 
1:00:51 ฉันจะแสดงให้เธอเห็น
พวกเธอจะต้องเรียนรู้
  
1:00:54 ไม่ใช่จากฉันนะ แต่ด้วยตัวเธอเอง
 
1:00:58 ว่าความกลัวคืออะไร
 
1:01:04 S: ความกลัวคือ
สิ่งที่เรานึกคิดออกไป
  
1:01:10 S: ในสิ่งที่เราไม่รู้เกี่ยวกับมัน
 
1:01:11 K: เดี๋ยวก่อน เธอไม่ฟังคนอื่นเลย
 
1:01:16 เธอพร้อมเสมอที่จะถาม
แต่คำถามของตัวเอง
  
1:01:21 เขาพูดว่าอะไรเธอรู้ไหม
 
1:01:26 เธอไม่รู้เพราะเธอไม่ได้ฟัง
 
1:01:31 นั่นเป็นความเห็นแก่ตัวนะ เพราะเธอ
เห็นว่าคำถามของเธอเองสำคัญกว่า
  
1:01:38 ใช่ไหม
 
1:01:43 เขาพูดเกี่ยวกับความกลัว
 
1:01:47 ว่าทำอย่างไรจึงจะ
เป็นอิสระจากความกลัว
  
1:01:50 เธอหมายความว่าเช่นนั้น
 
1:01:52 ใช่ไหม
 
1:01:54 เพราะฉะนั้นฟังคำถามก่อน
 
1:01:59 เขาถามว่าความกลัวคืออะไร
และทำอย่างไรจึงจะเป็นอิสระจากมัน
  
1:02:06 เธอรู้ไหมว่าเธอกลัว
 
1:02:11 S: ครับ
 
1:02:14 K: ครับ
 
1:02:18 K: ทำไมล่ะ
 
1:02:21 S: ผมคิดว่ามันเป็นเพราะว่า
เราคิดถึงสิ่งที่ทำให้เรากลัว
  
1:02:23 K: เดี๋ยวก่อน เธอได้พูดถึง
อะไรบางอย่างที่มันสำคัญมากเหลือเกิน
  
1:02:27 ฉันไม่รู้ว่าเธอรู้ตัวไหม
 
1:02:30 ว่าเธอได้พูดอะไรบางอย่าง
ที่เป็นความจริงอย่างยิ่ง
  
1:02:35 S: ถ้าเราไม่คิด
เกี่ยวกับอะไรบางอย่าง…
  
1:02:38 K: นั่นแหละ
 
1:02:40 เธอเรียนรู้เป็นสิ่งแรกแล้ว
ว่าความคิดนำมาซึ่งความกลัว
  
1:02:48 K: ถูกต้องไหม
S: ครับ
  
1:02:53 K: ทีนี้ เราต้องมาค้นหาว่า
ความคิดคืออะไร
  
1:02:58 ไม่ใช่ว่าจะหยุดความกลัวได้อย่างไร
 
1:03:02 เธอเข้าใจไหม
 
1:03:04 เธอได้พูดออกมาด้วยความระมัดระวังว่า
ความคิดทำให้เกิดความกลัว
  
1:03:07 นั่นคือความจริง
 
1:03:11 เช่นคิดว่าฉันอาจจะตายวันพรุ่งนี้
ฉันจึงรู้สึกตกใจกลัว
  
1:03:15 ฉันอาจจะสูญเสียงานของฉันไป
ฉันก็กลัว
  
1:03:19 ใช่ไหม
 
1:03:20 ดังนั้นความคิดนำมาซึ่งความกลัว
 
1:03:29 แล้วความคิดคืออะไรล่ะ
 
1:03:31 ตอนนี้เราจะค้นหาเข้าไปทีละขั้นว่า
 
1:03:33 ความคิดคืออะไร
 
1:03:37 S: การจะทำลายความกลัวได้
เราจะต้องกำจัดความคิดอย่างนั้นหรือ
  
1:03:40 K: ไม่ใช่
 
1:03:43 อย่าพยายามกำจัดอะไรทั้งสิ้น
เพราะถ้าทำอย่างนั้นมันจะกลับมาอีก
  
1:03:45 S: ดังนั้นเมื่อเห็นว่า
ความกลัวเป็นอันตราย…
  
1:03:48 K: ก็ใช่
 
1:03:50 K: ไม่ใช่ เดี๋ยว ฟังให้ดีนะ
 
1:03:52 ความกลัวมีอยู่
 
1:04:00 และเข้ามาเมื่อเราคิดเกี่ยวกับอะไรบางสิ่ง
 
1:04:03 ยกตัวอย่างเช่น
กลัวว่าอาจจะตาย กลัวว่าจะตกงาน
  
1:04:08 กลัวพ่อแม่ ครูบาอาจารย์
 
1:04:11 ดังนั้น เมื่อใดที่ฉันคิดออกไป
เกี่ยวกับอนาคต
  
1:04:17 เมื่อนั้นความกลัวจะเกิดขึ้น
 
1:04:24 ใช่ไหม
 
1:04:26 ทีนี้เธอก็ต้องค้นหาว่า
การคิดคืออะไร
  
1:04:30 S: อาจจะเป็นความเห็นแก่ตัว
 
1:04:31 K: เดี๋ยวก่อน ฟังก่อนสิ
 
1:04:32 ฉันถามเกี่ยวกับอะไรอย่างอื่น
 
1:04:36 ฉันไม่อยากจะขัดคอเธอหรอกนะ
 
1:04:38 เอาล่ะ การคิดคืออะไร
 
1:04:41 ดูให้ดีๆ นะ
 
1:04:43 ใช้สมองลองค้นหาดู
 
1:04:47 S: การคิดคือสิ่งที่สมองทำ
 
1:04:50 K: ไม่ใช่ ให้ใช้สมองค้นหาดูว่า
การคิดคืออะไร
  
1:04:56 S: คือจินตนาการครับ
 
1:05:01 K: จินตนาการแล้วอะไรอีก
ค้นหาต่อไป
  
1:05:04 S: สิ่งที่เราเคยเห็น เราบันทึกไว้
แล้วคิดเกี่ยวกับสิ่งนั้น
  
1:05:09 K: ดี เธอเริ่มค้นหาด้วยตัวเอง
 
1:05:12 พวกเธอกำลังทำการบันทึกใช่หรือเปล่า
 
1:05:15 โอ!
 
1:05:21 ฉันจะอธิบายให้เห็น
 
1:05:23 สมองที่อยู่ภายในกะโหลกศีรษะ
ทำหน้าที่เก็บบันทึก
  
1:05:30 พวกเธอบันทึกเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
 
1:05:33 ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์
 
1:05:41 เครื่องบันทึกเสียง
 
1:05:44 ก็ทำการเก็บบันทึกเหมือนกัน
 
1:05:47 เธอเข้าใจไหม
 
1:05:48 ในขณะที่ฉันพูดมันก็จะ
เชื่อมต่อกับเครื่องบันทึกเสียง
  
1:05:53 โดยทางไฟฟ้า
แล้วก็จะถูกบันทึกลงไปในม้วนเทป
  
1:05:56 สมองเราก็ทำงาน
ในลักษณะเดียวกันนี้เอง
  
1:06:01 มันทำหน้าที่ในการเก็บบันทึก
 
1:06:04 ใช่ไหม
 
1:06:05 ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์
ภูมิศาสตร์ หรือพ่อของเธอ
  
1:06:09 สมองบันทึกเกี่ยวกับ
พ่อของเธอด้วยใช่ไหม
  
1:06:12 ใช่ไหม
 
1:06:14 เอาล่ะ คราวนี้
 
1:06:15 พวกเธอคิดว่า
การเก็บบันทึกหมายถึงอะไร
  
1:06:18 ลองคิดดู ใช้สมองของเธอ
 
1:06:21 S: คือการที่เรา
เรียกข้อมูลกลับคืนมาได้
  
1:06:24 K: การเก็บบันทึกคืออะไร
 
1:06:27 K: เราจำเป็นต้องเก็บบันทึกหรือไม่
S: จำเป็นครับ
  
1:06:32 K: ทำไมล่ะ
 
1:06:35 S: เพื่อเชื่อมโยง
ระหว่างอดีตและอนาคต
  
1:06:38 K: เราจำเป็นต้องเก็บบันทึกหรือไม่
 
1:06:44 ฉันหวังว่าพวกเด็กโต
กำลังให้ความสนใจในเรื่องนี้
  
1:06:48 เพราะว่านี่คือชีวิตของพวกเธอเอง
 
1:06:54 การเก็บบันทึกมีความจำเป็น
 
1:06:57 เมื่อพวกเธอต้องเขียนจดหมาย
เมื่อขับรถ
  
1:07:03 ใช่ไหม
 
1:07:05 เมื่อทำข้อสอบ
โชคไม่ดีที่ต้องสอบ
  
1:07:13 เมื่อเก็บบันทึกว่าพวกเธอมีพ่อมีแม่
 
1:07:18 ทั้งหมดนั้นคือการเก็บบันทึก
 
1:07:22 ทุกอย่างที่กล่าวมา
เป็นสิ่งจำเป็นทั้งสิ้น
  
1:07:26 ทีนี้ มันมีการเก็บบันทึก
อีกอย่างหนึ่ง
  
1:07:31 นั่นคือ เก็บที่ฉันรู้สึกเจ็บปวด
เธอเข้าใจที่ฉันพูดไหม
  
1:07:35 S: เข้าใจครับ
 
1:07:36 K: มีการเก็บบันทึกอยู่สองประเภท
ยกตัวอย่างเช่น
  
1:07:42 การเก็บบันทึกเรื่องการขับขี่รถยนต์
การเขียนจดหมาย
  
1:07:46 อยากจะเป็นข้าราชการบริหารของอินเดีย
อยากจะเป็นวิศวกร
  
1:07:49 ฟังให้ดี พวกเธอฟังอยู่หรือเปล่า
 
1:07:54 แต่ยังมีการเก็บบันทึก
ในอีกลักษณะหนึ่ง
  
1:07:57 เช่น ต้องฉันก่อน ฉันเห็นแก่ตัว
ต้องการนั่น ต้องการนี่
  
1:08:01 ฉันต้องการความสำเร็จในชีวิต
 
1:08:05 ใช่ไหม
 
1:08:07 สองลักษณะนี้ควบคู่กันไปเสมอ
 
1:08:15 สิ่งที่ทำการเก็บบันทึกก็คือความทรงจำ
 
1:08:18 ความทรงจำเกี่ยวกับพ่อของเธอ
ความทรงจำเกี่ยวกับวิชาเลขคณิต
  
1:08:23 ใช่ไหม
 
1:08:24 ดังนั้น การเก็บบันทึกย่อมหมายถึง
ความทรงจำที่เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  
1:08:37 เธอเข้าใจหรือเปล่า
 
1:08:39 เมื่อเธอเรียนคณิตศาสตร์เธอก็บันทึก
เราต้องทำซ้ำๆ ต้องท่องจำ
  
1:08:43 เช่นเดียวกับการทำงาน
ของเครื่องเล่นเทป
  
1:08:51 ดังนั้นพวกเราทุกคน
ไม่ต่างอะไรกับเครื่องยนต์กลไก
  
1:08:55 เหมือนเครื่องเล่นเทป มันทำงาน
แบบซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่อย่างนั้น
  
1:08:58 ความทรงจำบอกฉันว่า
ฉันเป็นพราหมณ์ เป็นพราหมณ์
  
1:09:01 ฉันเป็นฮินดู เป็นฮินดู
 
1:09:04 ฉันต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ ต่อต้าน
คอมมิวนิสต์ ต่อต้านคอมมิวนิสต์
  
1:09:09 และอะไรต่อมิอะไรอีกมากมาย
 
1:09:11 แล้วสมองของเราก็เต็มไปด้วยเงื่อนไข
ถูกจำกัด ทำให้แคบเล็กลง
  
1:09:23 ใช่ไหม
 
1:09:24 การคิดเป็นส่วนหนึ่งของความทรงจำ
 
1:09:30 พวกเธอจะไม่มีความทรงจำใดๆ
 
1:09:37 หากไม่เคยเจอะเจอพ่อแม่ของตัวเอง
 
1:09:40 ต่อเมื่อได้พบเห็นเท่านั้นแหละ
 
1:09:45 จึงจะเกิดกระบวนการบันทึกในสมอง
เป็นความทรงจำ เป็นความรู้
  
1:09:50 ความรู้ก็มาจากประสบการณ์
 
1:09:54 S: ผมกำลังจดจำ
 
1:09:59 K: เธอคือความทรงจำ
 
1:10:05 เข้าใจไหม
 
1:10:07 พวกเธอคือความทรงจำ
ทั้งหมดของชีวิตเธอคือความทรงจำ
  
1:10:16 ความทรงจำว่าเธอเป็นอาตมัน
 
1:10:19 ความทรงจำว่าเธอมีจิตวิญญาณ
มีแสงสว่างภายในตัว
  
1:10:25 มีพระเจ้า
 
1:10:31 ทุกอย่างเป็นความทรงจำ
 
1:10:32 ฟังดี ๆ แล้วจงค้นหาว่า
สิ่งที่ฉันพูดเป็นจริงหรือไม่
  
1:10:36 หรือเป็นคำพูดเท็จ
 
1:10:39 ค้นหาดู
 
1:10:44 ตัวเธอคือความทรงจำ หากปราศจาก
ความทรงจำ เธอก็ไม่เป็นอะไรเลย
  
1:10:49 ความทรงจำว่าเธอชื่ออะไร
จำครอบครัวของตัวเอง
  
1:10:51 จำวิชาเลข จำเพื่อน
 
1:10:57 จำได้ว่าเคยขึ้นไปที่เขาลูกนั้น
 
1:11:00 ใช่ไหม
 
1:11:02 เธอคือความทรงจำ
 
1:11:07 ความทรงจำคือสิ่งที่ตายจากไปแล้ว
 
1:11:10 S: แล้วเราจะดำรงชีวิตอยู่
ได้อย่างไร
  
1:11:13 K: อยู่ได้ด้วยอวัยวะ มีอาหาร
มีอากาศ และมีน้ำ
  
1:11:19 S: แล้วเราจะสามารถ…
 
1:11:22 K: ค้นหาสิ นี่คือเรื่อง
ที่สำคัญอย่างยิ่ง
  
1:11:25 เข้าใจไหม
 
1:11:28 ค้นให้พบว่าอะไรคือความจริง
 
1:11:33 ความทรงจำไม่ใช่ความจริง
 
1:11:37 S: ความจริงที่ว่านั้น
หมายถึงอะไร
  
1:11:41 K: เราไม่สามารถอธิบายความจริงได้
 
1:11:44 ดอกไม้คืออะไร
ดอกไม้ดอกนั้นคืออะไร
  
1:11:49 ลองดูมันสิ
 
1:11:52 เวลาที่กำลังมองดอกไม้ พวกเธอ
ไม่เคยตั้งคำถามหรอกว่ามันคืออะไร
  
1:11:57 มาได้อย่างไร หรือมันสวยงามอย่างไร
 
1:12:01 ขอจงเรียนรู้อะไรบางอย่าง
 
1:12:03 ความงามคือความจริงแท้
 
1:12:07 พวกเธอเข้าใจหรือเปล่า
ความงามคือความจริงแท้
  
1:12:12 ชีวิตอันงดงาม
ไม่ใช่ชีวิตที่ประสบความสำเร็จ
  
1:12:23 เอาล่ะ ตอนนี้เวลา 10:50 แล้ว
เรามานั่งเงียบๆ กันเถอะ
  
1:12:29  
 
1:12:34 เงียบจริงๆ นะ
 
1:13:29 เอาล่ะ ขอบคุณทุกคน