Krishnamurti Subtitles

SA78D3 - เวลาจบสิ้นลงได้ไหม

การสนทนาถามตอบต่อสาธารณชน ครั้งที่ 3
เมืองซาเน็น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
28



0:08  เวลาจบสิ้นลงได้ไหม
 
0:20  K: เช้านี้ เราจะคุยกันเรื่องอะไรดี
 
0:30  ไม่มีคำถามหรือ
 
0:34  Q: สมาธิในชีวิตแต่ละวันหมายถึงอะไร
 
0:38  กรุณาช่วยอธิบายด้วย
 
0:40  K: สมาธิในชีวิตแต่ละวันหมายถึงอะไร
 
0:45  คำถามนั้นใช่ไหม
 
0:48  Q: บุคลิกภาพคืออะไร
 
0:58  K: บุคลิกภาพคืออะไร ผมไม่ทราบจริงๆ
 
1:06  Q: (ถามเป็นภาษาฝรั่งเศส)
 
2:56  K: ผมเข้าใจ
 
2:58  เท่าที่ผมเข้าใจ ผมคิดว่าผู้ถามถามว่า
 
3:09  ในขณะที่ผมกำลังเดินอยู่
มีบางอย่างเกิดขึ้นในตัวผม
  
3:14  ซึ่งมันมีผลกระทบต่อผมอย่างยิ่ง
แล้วมันค่อยๆ เลือนหายไป
  
3:22  แล้วก็กลับมาอีก
 
3:35  เขารู้สึกเจ็บปวดต่อสภาพที่เขาเห็นรอบตัว
 
3:44  ใช่แล้ว นั่นแหละ
 
3:47  เขาเห็นว่ามีความทุกข์ยาก
และเขาก็ทุกข์ไปกับมัน
  
3:51  Q: ไม่ใช่ เขาเห็นความขัดแย้ง
 
3:53  เขาบอกว่า เมื่อเขาเห็นใครบางคนพูด
 
3:56  ทันทีที่คุณออกจากปะรำนี้ไป
 
3:59  เขาก็รู้สึกถึงความขัดแย้ง
 
4:01  ในสิ่งที่พูดไปแล้ว
กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นข้างนอกจริงๆ
  
4:10  K: เขารู้สึกเจ็บปวด สะเทือนใจ เป็นทุกข์
 
4:16  เมื่อเขาเห็นสภาพภายนอก
ที่เกิดขึ้นจริงๆ รอบตัวเขา
  
4:22  ความขัดแย้งในสิ่งที่พูดที่นี่
 
4:31  กับสภาพจริงๆ ที่กำลังเกิดขึ้นข้างนอก
 
4:35  แล้วเราควรทำอย่างไร นั่นคือคำถาม
 
4:42  มีคำถามอื่นอีกไหม
 
4:43  Q: จิตสำนึกจะรู้ตัวมันเอง
อย่างสมบูรณ์ได้อย่างไร
  
4:57  K: จิตสำนึกจะรับรู้ถึงตัวมันเองได้อย่างไร
 
5:11  จิตสำนึกสามารถรับรู้ตัวมันเองได้อย่างไร
 
5:14  เช้านี้ ผมจะพูดเรื่องนั้นสักเล็กน้อย
 
5:17  หากคุณต้องการ
 
5:19  มีคำถามเพียงเท่านี้ใช่ไหม ยังมีอีกไหม
 
5:22  คำถามหนึ่งคือ
บทบาทของสมาธิในชีวิตแต่ละวัน คืออะไร
  
5:30  เราเห็นโลกอยู่ในความขัดแย้งมากมายอย่างนั้น
 
5:37  สภาพที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา
เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมาน
  
5:44  ซึ่งค่อนข้างแตกต่าง
จากสิ่งที่กำลังพูดอยู่ที่นี่
  
5:51  แล้วเราจะทำอย่างไร
 
5:53  Q: เหตุใดมนุษย์จึงกลัวความจริง
 
5:58  K: เหตุใดมนุษย์จึงกลัวความจริง
 
6:08  Q: ขอให้คุณพูดเกี่ยวกับ
พลังงานในการเยียวยาสักเล็กน้อย
  
6:12  K: ขอให้พูดเกี่ยวกับพลังงานที่ช่วยเยียวยา
 
6:25  Q: (ไม่ได้ยิน)
 
6:55  K: คำถามส่วนแรก ผมเข้าใจแล้ว
 
6:58  แต่ส่วนที่สอง ผมไม่ค่อยเข้าใจ
 
7:02  เขาได้รับการศาสนภิเษก เพื่อเข้าเป็นสมาชิก
– กรุณาอย่าหัวเราะ –
  
7:09  เขาได้รับการทำพิธีเข้าสู่อะไรบางอย่าง
โดยคุรุมหาราช
  
7:17  นั่นคือเด็กชาย ผู้ทำพิธีให้เขา
 
7:22  ถึงแม้เขาจะมีชีวิตอยู่กับมัน
เขาก็ยังไม่เป็นอิสระ
  
7:33  เขาไม่สามารถยอมศิโรราบ
 
7:35  เดี๋ยวก่อน พอแค่นี้ก่อน
 
7:42  อะไรคือสมาธิในชีวิตแต่ละวัน
 
7:45  เหตุใดมนุษย์จึงกลัวความจริง
 
7:51  จิตสำนึกสามารถรับรู้ตัวมันเองได้ไหม
 
7:58  เมื่อเราอยู่ด้วยกันที่นี่ ภายในปะรำนี้
 
8:07  แต่เมื่อออกไปข้างนอก
ทำไมเราจึงเห็นความขัดแย้งอย่างนั้น
  
8:13  และทำให้เรากระวนกระวายใจ เป็นทุกข์
 
8:18  คำถามสุดท้าย
เขาได้รับการทำพิธีจากใครบางคน
  
8:25  แต่เขาไม่อาจยอมตนศิโรราบ
 
8:30  ต่อสิ่งที่เขาคิดว่า เขาควรจะศิโรราบ
 
8:35  นั่นคือสิ่งที่คุณสุภาพบุรุษพูดมา
 
8:36  แล้วคุณต้องการสืบค้นคำถามใด
 
8:50  Q: จิตสำนึกสามารถรับรู้ตัวมันเองได้ไหม
 
8:55  K: คุณต้องการสนทนาร่วมกันในคำถามนี้ไหม
 
8:59  ที่เขาคนนั้นถามว่า
จิตสำนึกรับรู้ตัวมันเองได้ไหม
  
9:06  คุณต้องการถามค้นในเรื่องนั้นไหม
 
9:10  เราจะเริ่มไปช้าๆ ค่อยๆ ถามค้นเข้าไป
 
9:19  ว่าความคิดสามารถรับรู้ตัวมันเองได้ไหม
 
9:25  การคิดรับรู้ถึงรากเหง้าของความคิดได้ไหม
 
9:35  รับรู้ถึงการเคลื่อนไหวของการคิด
และกระบวนการทั้งหมดของความคิด
  
9:42  ตัวการเคลื่อนไหวนั้น
รับรู้ถึงตัวมันเองได้ไหม
  
9:50  คำถามนี้ ไม่เพียงแต่เขาผู้นั้นที่ถาม
 
9:54  เมื่อเช้าวานนี้ ใครบางคนตรงโน้นก็ถามด้วย
 
10:00  ถามคำถามเดียวกันว่า
จิตพร้อมทั้งเนื้อหาทั้งหมดของมัน
  
10:09  จิตซึ่งไม่เคยอยู่นิ่ง
ทำงานและเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
  
10:15  การเคลื่อนไหวนั้นรับรู้ตัวมันเองได้ไหม
 
10:27  เพราะอะไรคุณจึงต้องการรู้
 
10:33  เหตุใดคุณจึงต้องการรู้ปัญหาเช่นนั้น
 
10:36  หรือมันเป็นเพียงแค่... ผมต้องการจะรู้
 
10:39  เมื่อคุณถามคำถามนั้น
เพราะอะไรคุณจึงถามคำถามนั้น
  
10:47  เพราะหากคุณจริงจังกับเรื่องที่ถาม
มันเป็นเรื่องที่...
  
10:57  ต้องการความใส่ใจอย่างยิ่งในการค้นหา
 
11:01  ว่าความคิด
รับรู้การเคลื่อนไหวของตัวมันเองได้ไหม
  
11:16  คุณถามเพราะอยากรู้อยากเห็น
 
11:22  แค่ให้มีคำถามจะถาม
 
11:25  หรือคุณถามคำถามนั้นเพื่อจะขจัดการแบ่งแยก
 
11:35  ระหว่างผู้คิดและความคิดโดยสิ้นเชิง
 
11:42  คุณเข้าใจคำถามของผมไหม
 
11:46  เราอาจจะสืบค้นในเรื่องนี้
 
11:51  เมื่อเราพิจารณาว่า
บทบาทของสมาธิในชีวิตแต่ละวัน คืออะไร
  
12:01  และคุณยอมตนศิโรราบต่อใครบางคนได้ไหม
 
12:07  นั่นคือคำถามที่เขาผู้นั้นถาม
 
12:10  เราทิ้งคำถามสุดท้ายไว้ได้ไหม
 
12:14  มันเป็นเรื่องของใครบางคน
 
12:19  กับเหล่าคุรุ เรื่องทำนองนั้น
 
12:24  พวกคุรุมาพูดว่า “เธอจงศิโรราบต่อฉัน
 
12:30  ฉันรู้ ส่วนเธอไม่รู้
อุทิศตัวต่อฉัน แล้วฉันจะช่วยเธอ
  
12:37  จงมอบทรัพย์สินของเธอ
เงินทองของเธอ ทุกอย่างของเธอ
  
12:42  แล้วหลังจากนั้น
เธอจะไม่มีปัญหาใดๆ เรื่องเงินทอง”
  
12:48  นี่คือความเป็นจริงที่กำลังเกิดขึ้นในโลก
 
12:55  เราถูกหลอกง่ายอย่างไม่น่าเชื่อ
 
13:02  เรื่องทำนองนี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
โดยศาสนจักรทั่วโลก
  
13:11  เธอจงศิโรราบต่อพระเจ้า
ต่อพระคริสต์ ต่อสิ่งนี้
  
13:15  มอบทุกอย่างที่เธอมี
เราจะดูแลเธอเอง จงมาเถิด
  
13:19  พวกเขาให้คำมั่นสัญญานี้
ท้ายที่สุด คุณอยู่ตรงไหน
  
13:28  หมดเงิน หมดตัว
 
13:34  หลายคนมาพบผู้พูดด้วยปัญหาทำนองนี้
 
13:38  เขาให้ทุกสิ่งทุกอย่างที่มี
 
13:43  บ้าน ทรัพย์สิน เงินทอง ละทิ้งบ้านเรือน
 
13:51  แล้วคุรุก็หายตัวไป
 
13:56  คุรุหายไปอยู่บ้านหลังสวยงาม ส่วนคุณก็ติดจม
 
14:03  ดังนั้น ประการแรก
อย่ายอมรับอำนาจเหนือใดๆ ทั้งสิ้น
  
14:12  เข้าใจไหม
 
14:15  อำนาจเหนือของศัลยแพทย์มือหนึ่งนั้นมีอยู่
 
14:19  แต่ในเรื่องจิตวิญญาณ
ในเรื่องของจิตใจและจิตวิทยานั้น
  
14:26  ไม่มีอำนาจเหนือ
 
14:29  ไม่มีใครเริ่มสภาวะอะไรให้คุณได้
 
14:33  มันเป็นเพียงเล่ห์กลหนึ่ง
ที่มนุษย์ใช้หลอกลวงคนอื่น
  
14:42  คำถามต่อมาคือ
 
14:47  สมาธิมีบทบาทอะไรในชีวิตแต่ละวัน
 
14:58  หรือสมาธิเป็นสิ่งที่แยกออกจากชีวิตประจำวัน
 
15:08  หรือคุณนำเอาแนวคิดเรื่องสมาธิ
เข้ามาสู่ชีวิตประจำวัน
  
15:18  อย่างน้อยมีสามปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้
 
15:22  คุณนำเอาแนวคิดเรื่องสมาธิเข้ามา
แค่แนวคิดนะ
  
15:37  แล้วพยายามค้นหาว่า
แนวคิดนั้นมีบทบาทอะไรในชีวิตแต่ละวัน
  
15:49  ก่อนอื่น มันเป็นแนวคิดหรือ
 
15:53  ว่าคุณต้องทำสมาธิ
ว่าคุณต้องทำนี่ ต้องทำนั่น
  
15:58  คุณมีข้อสรุป และนำข้อสรุปรวบยอดนั้น
มาใช้ในชีวิตแต่ละวัน
  
16:07  ใช่ไหม คุณเข้าใจคำถามนั้นไหม
 
16:17  หรือคุณพยายามจะค้นหาว่า
อะไรคือความสัมพันธ์
  
16:27  ระหว่างการกระทำ
และการรับรู้จิตสำนึกอย่างสมบูรณ์
  
16:34  ผมไม่ทราบ นี่อาจจะค่อนข้าง...
 
16:40  ทำไมเราต้องทำสมาธิด้วยเล่า
 
16:50  เราใช้ชีวิตแต่ละวัน
อย่างไม่มีความสุข ไม่มีค่า
  
17:01  ขัดแย้ง ยากลำบาก
ทุกข์ทรมาน ถูกคนอื่นหลอก
  
17:12  นี่คือชีวิตแต่ละวันของเรา
 
17:14  แล้วเพราะอะไรเราจึงนำเอาสมาธิเข้ามา
 
17:22  หรือในการทำความเข้าใจ
ความขัดแย้ง ความทุกข์โศก
  
17:30  ความทรนง ความภาคภูมิใจ เป็นต้น
 
17:35  ในการทำความเข้าใจความหมาย
 
17:38  เข้าใจโครงสร้างของภาวะเหล่านี้
เข้าใจปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น
  
17:42  ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของสมาธิ
 
17:47  ไม่ใช่คุณทำสมาธิ
แล้วจึงนำไปใช้ในบทบาท ในชีวิตแต่ละวัน
  
17:53  แต่ทว่าในช่วงการดำเนินชีวิต เมื่อคุณไปทำงาน
 
17:59  เมื่อคุณกำลังทำงานในโรงงาน หรือไถนา
 
18:05  หรือพูดกับภรรยา สามี ลูกหญิงชาย
 
18:09  คุณก็รับรู้ถึงปฏิกิริยาของคุณ
 
18:13  และเข้าใจปฏิกิริยาเหล่านั้น
 
18:19  เป็นการทำความเข้าใจ ไม่ใช่โดยใช้ปัญญาความคิด
ว่าทำไมคุณจึงอิจฉา
  
18:23  ทำไมในตัวคุณจึงมีความกระวนกระวายใจ
 
18:28  ทำไมคุณจึงยอมรับอำนาจเหนือ
ทำไมคุณจึงพึ่งพิงผู้อื่น
  
18:35  ในการสืบค้นในภาวะเหล่านี้
ตัวการสำรวจนั่นเองคือสมาธิ
  
18:50  ไม่ใช่ในทางกลับกัน
 
18:56  หากคุณทำสมาธิ
 
18:58  และนำเอาสิ่งที่คุณคิดว่าคือสมาธิ
เข้ามาในชีวิตแต่ละวัน
  
19:02  จะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น
 
19:06  คุณคิดว่านี่แหละใช่แล้ว
 
19:07  แล้วคุณก็นำไปใช้ในการกระทำ ในการดำเนินชีวิต
 
19:11  ความขัดแย้งต้องเกิดขึ้น
 
19:16  แต่ถ้าเราอิจฉาริษยา
ซึ่งส่วนใหญ่เราเป็นอย่างนั้น
  
19:26  แล้วเราสืบค้นว่า ธรรมชาติของความอิจฉาคืออะไร
ทำไมเราจึงอิจฉา
  
19:33  ไม่ใช่ถูกหรือผิด ไม่ใช่ควรหรือไม่ควรอิจฉา
 
19:37  แต่เหตุใดความอิจฉาริษยาจึงเกิดขึ้น
 
19:43  ในการถามค้นเข้าไปเช่นนั้น
 
19:52  ถามค้นในความโลภ
ความอิจฉาและปลดปล่อยเป็นอิสระ
  
19:58  นั่นคือกระแสแห่งสมาธิ
 
20:03  ในกระแสนั้นไม่มีความขัดแย้ง
คุณสืบค้นอย่างต่อเนื่อง
  
20:10  ใช่ไหม
 
20:20  การนี้เรียกร้องความใส่ใจของคุณ
เรียกร้องให้คุณต้องจริงจัง
  
20:30  ไม่เพียงเล่นกับถ้อยคำ
 
20:34  สมาธิจึงมีบทบาทในชีวิตแต่ละวัน
 
20:38  เมื่อมีการถามค้น
 
20:41  เข้าสู่ธรรมชาติและโครงสร้างทั้งหมด
ของชีวิตคุณ
  
20:49  ปฏิกิริยาของคุณ ภาวะจิตสำนึกของคุณ
 
20:56  เหตุใดคุณจึงเชื่อ หรือไม่เชื่อ
 
20:58  เหตุใดคุณจึงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสถาบัน
เป็นต้น
  
21:04  ทั้งหมดนั้นคือกระแสแห่งสมาธิที่แท้จริง
 
21:30  หากเราทำเช่นนี้อยู่จริงๆ
ไม่ใช่เป็นเพียงทฤษฎี
  
21:36  คุณจะเริ่มเข้าใจธรรมชาติของจิตสำนึก
 
21:43  ใช่ไหม
 
21:45  คุณไม่ต้องยัดเยียดอะไรให้มันเลย
 
21:50  ยัดเยียดให้ทำตามฟรอยด์ หรือนักจิตวิทยาคนใด
คุรุคนนั้นคนนี้ หรือใครก็ตาม
  
21:53   
 
21:55  ทว่า คุณถามค้น
เข้าสู่ชีวิตที่เป็นอยู่ของคุณทั้งหมด
  
22:01  ชีวิตที่เป็นอยู่นั้นคือจิตสำนึกของคุณเอง
 
22:09  เราได้ตอบคำถามเหล่านี้ แล้วเราก็มาถึงจุดนั้น
 
22:24  เราจะเริ่มต้นอย่างง่ายๆ และสืบค้น
ถ้าคุณเต็มใจ
  
22:33  ผมสงสัยว่า คุณเคยสืบค้น
เข้าสู่กระบวนการทั้งหมดของความคิดไหม
  
22:45  กิจกรรมทั้งหมดของการคิด
 
22:50  สืบค้นว่าความคิด การคิด
มองเห็นการเคลื่อนไหวของตัวมันเองได้ไหม
  
22:59  คุณเข้าใจคำถามหรือเปล่า
 
23:03  ขอให้ชัดเจน ว่าเราเข้าใจคำถามชัดแล้ว
 
23:12  ซึ่งค่อนข้างสำคัญ หากคุณต้องการสืบค้น
 
23:20  หากคุณจริงจังในเรื่องนี้
 
23:24  มันสำคัญมากจริงๆ ที่ต้องเข้าใจคำถามก่อน
 
23:32  คำถามคือ ผมพูดได้ว่า
“ผมตระหนักรู้ถึงจิตสำนึกของผมเอง”
  
23:40  ผ่านความเชื่อ ความกลัวของผม
 
23:44  ผ่านความสุขเพลิดเพลิน ความทุกข์โศกของผม
 
23:47  ผมตระหนักได้ถึงเนื้อหาจิตสำนึกของผม
 
23:53  โดยการพูดว่า
“ใช่ ผมกลัว ผมโลภ ผมเป็นทุกข์
  
23:59  ผมทะนงตน ผมมีความภาคภูมิใจ” เป็นต้น
 
24:05  เหล่านี้คือเนื้อหาของจิตสำนึกที่ผมตระหนักรู้”
 
24:12  ใช่ไหม
 
24:16  ในการตระหนักรู้เช่นนั้น
“ผมแยกแตกต่างจากจิตสำนึกของผม”
  
24:24  ใช่ไหม
 
24:31  คุณสนใจเรื่องนี้ไหม หวังว่าคุณสนใจ
 
24:38  ดังนั้นจึงมี “ฉัน” ผู้สังเกต
ที่กำลังสังเกตจิตสำนึกของตนเอง
  
24:48  แต่ “ฉัน” เป็นคนโลภ “ฉัน” กระวนกระวาย
 
24:55  “ฉัน” หวาดกลัว “ฉัน”เต็มไปด้วยความวิตกกังวล
ความไม่แน่นอน ความทุกข์โศก
  
25:03  ซึ่งคือจิตสำนึกของฉัน
 
25:05  ฉันจึงไม่แยกแตกต่างจากจิตสำนึกของฉัน
 
25:11  นั่นชัดเจนไหม
 
25:14  ฉันไม่แยกแตกต่างจากสิ่งที่ฉันคิด
 
25:20  ฉันไม่แยกแตกต่างจากประสบการณ์ที่ฉันมี
 
25:25  ฉันไม่แยกแตกต่าง
ไม่ใช่สิ่งตรงข้ามโดยสิ้นเชิงกับความวิตกกังวล
  
25:34  ความกลัวของฉัน เป็นต้น
ฉันเป็นทั้งหมดนั้น
  
25:39  ฉันอาจคิดว่า ฉันคือพระเจ้า
แต่ตัวการคิดนั่นเองเป็นส่วนหนึ่งของฉัน
  
25:47  ที่สร้างพระเจ้าขึ้นมา
 
25:51  ผมหวังว่า คุณมองเห็นที่พูดมานี้
 
25:53  เรามาถึงคำถามที่ว่า
 
26:03  ถ้าผู้สังเกตคือสิ่งที่ถูกสังเกต
ซึ่งก็คือจิตสำนึก
  
26:04  คำถามจึงเกิดขึ้นว่า
 
26:08  จิตสำนึกนั้น สามารถรับรู้
การเคลื่อนไหวของตัวมันเองได้ไหม
  
26:17  พูดง่ายๆ ก็คือ
 
26:22  มีการรับรู้ถึงการเกิดขึ้นของความโกรธไหม
 
26:30  รับรู้ตัวความโกรธ
 
26:36  นั่นคือ ไม่มีฉันที่แยกต่างจากความโกรธ
 
26:42  ขอให้ผมค้นเข้าไปในเรื่องนี้อีกเล็กน้อย
 
26:46  คุณสนใจเรื่องนี้หรือเปล่า
 
26:50  ขอให้เราสืบค้นไปด้วยกัน
 
26:57  เราโกรธ
 
27:00  ในขณะของความโกรธ
ไม่มีการรู้จำรู้จัก ว่าเป็นความโกรธ
  
27:09  คุณเคยสังเกตหรือเปล่า
 
27:13  ในชั่วขณะนั้น ขณะที่ความโกรธรุนแรง
 
27:18  มีแต่ภาวะนั้นเท่านั้น
 
27:24  หลังจากนั้น คุณจึงจะเรียกมันว่า “ความโกรธ”
 
27:28  ชั่วขณะหลังจากนั้น
 
27:32  ซึ่งหมายถึงคุณรู้จัก จำมันได้จากอดีต
 
27:40  จำสิ่งซึ่งเคยเกิดขึ้นในอดีต
และสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้
  
27:44  แล้วคุณเรียกมันว่า “ใช่ นั่นคือความโกรธ”
 
27:46  คุณตามทันไหม
 
27:52  ขอให้เข้าใจ
 
28:00  มีความโกรธ ในขณะของความโกรธนั้น
ไม่มีการจำได้หมายรู้
  
28:08  ไม่มีการให้ชื่อปฏิกิริยานั้น
 
28:13  ชั่วขณะหลังจากนั้น การให้ชื่อก็เริ่มขึ้น
การให้ชื่อมาจากอดีต
  
28:22  การให้ชื่อปฏิกิริยาปัจจุบัน
เป็นการจำได้หมายรู้ที่มาจากอดีต
  
28:31  คุณไม่ให้ชื่อปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
 
28:39  เพียงแค่สังเกตปฏิกิริยาโดยไม่ให้ชื่อ ได้ไหม
 
28:45  ทันทีที่คุณให้ชื่อมัน
คุณรู้จำรู้จักมันไว้แล้ว
  
28:49  การให้ชื่อ ทำให้ปฏิกิริยาเข้มข้นขึ้น
 
28:53  ผมสงสัยว่าคุณเข้าใจไหม
มันน่าสนใจมาก
  
28:58  ถ้อยคำไม่ใช่สิ่งๆ นั้น
 
29:07  คำว่า “ปะรำ” “กระโจม” เป็นถ้อยคำ
ไม่ใช่สิ่งๆ นั้นที่เป็นของจริง
  
29:14  แต่เราถูกถ้อยคำซึ่งไม่ใช่ความจริง
ชักนำให้หลงไป
  
29:23  ดังนั้น ให้เข้าใจ ให้เห็น
 
29:31  ว่าถ้อยคำได้กลายเป็นสิ่งสำคัญเหลือล้น
 
29:39  และให้เห็นความจริงว่าถ้อยคำไม่ใช่สิ่งๆ นั้น
 
29:48  ดังนั้น เมื่อมีความโกรธ ซึ่งเป็นปฏิกิริยา
 
29:57  การสังเกตโดยปราศจากการให้ชื่อมัน
 
30:05  ปฏิกิริยานั้นก็จะเริ่มจางหายไป
 
30:11  ทันทีที่คุณให้ชื่อ คุณทำให้ปฏิกิริยาแรงขึ้น
 
30:15  อดีตทำให้มันแรงขึ้น
 
30:19  ถ้าชัดเจนแล้ว เราจะสืบค้นก้าวต่อไป
 
30:25  ว่าเป็นไปได้ไหม
ที่ความรู้สึกทางประสาทสัมผัส
  
30:34  ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนอง
ของประสาทสัมผัสทั้งหลาย
  
30:37  จะรับรู้ตัวมันเอง
 
30:42  ไม่ใช่คุณตระหนักรู้ความรู้สึกนั้น
 
30:47  แต่เป็นตัวประสาทสัมผัสเองที่เปิดรับรู้
 
31:01  ผมจะสืบค้นเข้าไปอีก
 
31:07  กรุณาอย่าติดตามแต่สิ่งที่ผมพูด
 
31:13  ขอให้สังเกตปฏิกิริยาตอบสนอง
ของประสาทสัมผัสในตัวคุณเอง
  
31:26  ประสาทสัมผัสของเราทำงานแยกส่วนกัน
 
31:36  แยกการเห็น การรับรส
การได้ยิน การได้กลิ่น เป็นต้น
  
31:43  การรับสัมผัสเหล่านี้แยกส่วนกัน
คุณเข้าใจไหม
  
31:47  ทว่า คุณสังเกตได้ไหม
 
31:51  ว่าเป็นไปได้ไหมที่ประสาทสัมผัสทุกส่วน
ทำงานด้วยกัน
  
32:03  คุณเข้าใจอะไรบางอย่างที่ผมพูดไหม
 
32:11  หากคุณเข้าใจ
นี่เป็นเรื่องอัศจรรย์ที่จะค้นหา
  
32:20  คุณจะเห็นว่า ถ้าคุณสังเกตอยู่
 
32:26  ถ้ามีการสังเกตคนๆ หนึ่ง
 
32:29  สังเกตกระแสน้ำในทะเล หรือสังเกตภูเขา หมู่นก
 
32:38  สังเกตเพื่อนของคุณ
คนใกล้ชิดคุณ หรืออะไรก็ตาม
  
32:44  ถ้ามีการสังเกตด้วยประสาทสัมผัสทั้งหมด
 
32:53  จะไม่มีศูนย์กลางจากที่คุณสังเกต
 
33:00  คุณเข้าใจไหม ขอให้ทำ ลองทำดู
 
33:06  อย่ายอมรับอะไรก็ตามที่ผู้พูดพูด
 
33:10  แต่ลองทำด้วยตัวคุณเอง
 
33:17  เมื่อคุณได้กลิ่นหอมอบอวลยามรุ่งอรุณ
 
33:27  ยามอากาศบริสุทธิ์สดชื่นหลังฝน
 
33:33  ทั้งความงามบนผืนดิน
 
33:39  ประสาทสัมผัส
เพียงส่วนเดียวเท่านั้นหรือ ที่ตื่นขึ้น
  
33:44  หรือคุณสังเกตเห็นความละเอียดอ่อนทั้งหมด
และความงามยามเช้า
  
33:48  เห็นด้วยประสาทสัมผัสทั้งหมดทุกส่วน
 
33:52  คุณเข้าใจไหม
 
33:59  เข้าใจหรือ
 
34:00  Q: หากผมเห็นว่าผมไม่แยกแตกต่าง
 
34:06  จากเนื้อหาทั้งหมดของจิตสำนึกของผม
 
34:10  คำถามที่ว่า
ผมจะรู้ตัวถึงจิตใต้สำนึกของผม ได้ไหม
  
34:14  คล้ายกับถามว่า
กล้องถ่ายรูปจะถ่ายตัวมันเอง ได้ไหม
  
34:18  K: ผมกำลังจะมาถึงจุดนั้น
 
34:21  ผมขอนำเข้าไปสู่จุดนั้นช้าๆ
 
34:27  นอกจากคุณเข้าใจการตอบสนอง
ทางประสาทสัมผัส
  
34:34  ว่าการตอบสนอง
ทางประสาทสัมผัสแยกส่วนหรือไม่
  
34:40  หรือมีการตอบสนอง
ของทุกประสาทสัมผัสทุกส่วนพร้อมกัน
  
34:53  หากมีการตอบสนองของ
ประสาทสัมผัสเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง
  
35:14  แล้วจะเกิดอะไรขึ้น
คุณเข้าใจไหม
  
35:19  หากมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกลิ่น
ผ่านจมูกเท่านั้น
  
35:30  ประสาทสัมผัสส่วนอื่นๆ ทั้งหมด
จะสงบอยู่ชั่วคราว
  
35:40  ใช่ไหม
ทดลองดู
  
35:46  ผมถามว่า เมื่อคุณดมดอกไม้
 
35:53  มีการตอบสนองที่เป็นทั้งหมด
ของประสาทสัมผัสทุกส่วน ไม่เพียงการได้กลิ่น
  
35:59  แต่ทั้งร่างกายตอบสนอง
ด้วยอินทรีย์สัมผัสของมัน
  
36:10  ผมสงสัยว่า ผมพูดชัดเจนไหม อย่าเพิ่งเห็นด้วย
 
36:16  Q: (อิตาเลี่ยน)
ตอนที่รถไฟวิ่งผ่าน มันเสียงดัง
  
36:21  ผมฟังเสียงรถไฟ
ด้วยโสตประสาทของผมเท่านั้น
  
36:24  มันจะเป็นไปได้อย่างไร
ที่จะฟังด้วยประสาทสัมผัสทั้งหมด
  
36:27  K: เขาได้ยินเสียงรถไฟวิ่งผ่านไป
 
36:34  คำถามนั้นดีมาก
 
36:36  พวกคุณทุกคนได้ยินเสียงรถไฟวิ่งผ่านไป ใช่ไหม
 
36:43  คุณตอบสนองต่อเสียงนั้นอย่างสมบูรณ์ไหม
 
36:51  การฟังเช่นนั้น จะไม่เกิดแรงต้านต่อเสียง
 
36:57  เสียงนั้นจะไม่รบกวนจิตใจ
 
37:04  คุณอยู่กับเสียงนั้นอย่างเต็มที่
 
37:16  ลองมองดูภูเขาเหล่านั้น
 
37:19  ที่พวกคุณอาจจะดูอยู่ทุกวัน
 
37:21  ทุกเช้าและทุกเย็น
 
37:24  ไม่ใช่ดูด้วยสายตาของคุณเท่านั้น
 
37:34  แต่มีการรับรู้ถึงภูเขา
ด้วยประสาทสัมผัสทั้งหมด ด้วยชีวิต
  
37:49  ถ้าหากมีการรับรู้เช่นนั้น
ก็ไม่มีศูนย์กลางจากที่คุณมีชีวิตอยู่
  
37:59  ไม่มีศูนย์กลางจากที่คุณกำลังมอง
 
38:05  ลองดู คุณอาจทำไม่ได้ตอนนี้
 
38:08  ลองทำดูเมื่อคุณมองดูปะรำ
มองดูเพื่อนของคุณหรือใครก็ตาม
  
38:13  มองดูราวกับคุณกำลังมองด้วยทั้งหมดของชีวิต
และประสาทสัมผัสทุกส่วน
  
38:21  แล้วคุณจะพบว่า คุณกำลังมองดู
อะไรบางอย่างเหมือนเป็นครั้งแรก
  
38:28  ไม่ใช่มองด้วยสายตาที่เหนื่อยหน่าย
และด้วยความทรงจำ เป็นต้น
  
38:33  เราจะมาสู่เรื่องนั้น
 
38:36  จากตรงนี้ มีคำถามเกิดขึ้น
 
38:40  ไม่จำเป็นที่คำถามจะเกิดจากตรงนั้น
แต่เมื่อเราเคลื่อนออกไปอีก
  
38:47  นั่นคือ ความคิดจะรับรู้ตัวมันเองได้ไหม
 
39:00  ผมไม่คิดว่า คุณเข้าใจ
 
39:07  หรือเราเข้าไปในเรื่องที่
ซับซ้อนเกินไป และไม่จำเป็น
  
39:18  พวกคุณเงียบกันไปหมด
 
39:21  Q: เราลองฟังดูตอนนี้ ฟังอย่างสมบูรณ์ ได้ไหม
 
39:29  ลองสิ่งที่คุณพูดเมื่อสักครู่
 
39:31  K: ได้ แต่ผมกำลังถามคำถามต่อไป
 
39:34  ขณะนี้พวกคุณกำลังคิด ใช่ไหม
 
39:43  เมื่อผมถามคำถาม การคิดก็เริ่มเคลื่อนไหว
 
39:52  เห็นได้ชัด
 
39:55  ผมถามว่า ตัวการคิดนั้น
เห็นตัวมันเองกำลังคิดไหม
  
40:11  ไม่เห็น มันเป็นไปไม่ได้ ใช่ไหม
 
40:16  Q: เรามีความรู้สึกฝังใจ
ว่ามีใครคนหนึ่งที่กำลังคิด
  
40:21  แต่มันคิดว่า มันเป็นสิ่งอื่น
 
40:23  เรารู้สึกอย่างนั้นเสมอ
ที่ตรงนี้หรือไม่ก็ที่ส่วนอื่นของร่างกายผม
  
40:27  K: นั่นเป็นเพราะ
คุณยังไม่ได้สำรวจเรื่องนี้อย่างลุ่มลึก
  
40:34  ขออภัยที่ผมพูดเช่นนี้ ผมแค่ถาม
 
40:40  ผมจะถามอะไรบางอย่าง ซึ่งคือ
 
40:49  เราใช้ชีวิตโดยไม่มีความขัดแย้ง
ไม่มีความพยายาม แม้แต่หนึ่งเดียวได้ไหม
  
41:03  ไม่มีการควบคุมลักษณะใดๆ เลย
 
41:10  กรุณาฟังเรื่องนี้
 
41:12  เพราะเราใช้ชีวิตด้วยความพยายาม
เราดิ้นรนต่อสู้
  
41:20  ใช่ไหม
 
41:22  ต้องการได้รับผลสำเร็จ มีการเคลื่อนไปเสมอ
 
41:31  เราจึงมีชีวิตอยู่ในการต่อสู้ดิ้นรน
ไม่หยุดหย่อน
  
41:38  มีการสู้รบ และความขัดแย้งอยู่เสมอ
 
41:44  “ฉันต้องทำสิ่งนี้ ฉันต้องไม่ทำสิ่งนั้น”
“ฉันต้องควบคุมตัวเอง
  
41:52  ทำไมฉันต้องควบคุมตัวเอง มันล้าสมัยแล้ว
 
41:56  ฉันจะทำสิ่งที่ฉันอยากทำ”
 
41:59  ทั้งการควบคุมและการปล่อยตามใจ
เป็นความรุนแรง
  
42:08  ใช่ไหม
 
42:11  แต่หากคุณถามค้น
 
42:16  ว่าเป็นไปได้ไหม ที่จะมีชีวิตอยู่
โดยไม่มีแม้แต่เงาของการควบคุม
  
42:24  ไม่ได้หมายความว่า
จะทำอะไรก็ได้ที่คุณต้องการ
  
42:27  ซึ่งเป็นเรื่องอ่อนหัดเกินไป
เพราะคุณไม่อาจทำได้
  
42:33  การปล่อยให้ทำตามอำเภอใจ
ซึ่งกำลังหมุนกลับไปอีกทาง
  
42:39  เขาเห็นอันตราย
เขาจึงไม่ปล่อยตามใจ จึงเริ่มควบคุม
  
42:45  ผมถามว่าเป็นไปได้ไหมที่จะมีชีวิตอยู่
โดยปราศจากการควบคุมใดๆ
  
42:54  บางที คุณอาจไม่เคยถามคำถามนี้ต่อตนเอง
 
42:59  แต่ผมถามคุณ
 
43:08  ที่ใดมีการควบคุม ที่นั่นย่อมมีความขัดแย้ง
 
43:15  ใช่ไหม
 
43:18  มีการสู้รบดำเนินอยู่
 
43:22  ซึ่งแสดงออกมาหลากหลายแบบ
 
43:25  การสู้รบนี้คือ ความรุนแรง
การกดข่ม การเป็นโรคจิตประสาท
  
43:30  และการปล่อยตามใจ
สภาพทั้งหลายที่ดำเนินอยู่
  
43:34  ผมจึงถามตัวผมเอง และถามคุณ
 
43:40  ว่าผมจะใช้ชีวิตแต่ละวัน
โดยไม่มีแม้แต่เงาของการควบคุม ได้ไหม
  
43:58  การจะมีชีวิตเช่นนั้น ผมต้องค้นหาว่า
ใครคือผู้ควบคุม
  
44:05  คุณเข้าใจไหม
 
44:07  ผู้ควบคุมแยกต่างจากสิ่งที่ถูกควบคุมหรือ
 
44:13  หากทั้งสองเป็นสิ่งเดียวกัน
มันก็ไม่มีความจำเป็นต้องควบคุม
  
44:17  ผมสงสัยว่า คุณเข้าใจหรือเปล่า
 
44:26  อย่างเช่น ผมอิจฉา
 
44:36  เพราะคุณมีทุกอย่าง ส่วนผมไม่มีอะไรเลย
 
44:50  และจากความอิจฉานั้น
ความโกรธ เกลียด ริษยา ก็ตามมา
  
45:01  ความรู้สึกรุนแรงที่ต้องการมีทุกอย่างที่คุณมี
 
45:06  ถ้าผมเอามันมาไม่ได้
ผมก็ขมขื่น โกรธ และอื่นๆ ก็ตามมา
  
45:13  ใช่ไหม
 
45:15  ผมมีชีวิตอยู่โดยไม่มีความอิจฉาได้ไหม
 
45:25  ซึ่งหมายถึง ไม่มีการเปรียบเทียบ
 
45:34  ทดลองดู
 
45:36  คุณจะใช้ชีวิตแต่ละวัน
โดยไม่เปรียบเทียบเลย ได้ไหม
  
45:46  แน่นอน เมื่อผมเลือกชนิดกางเกง ผมเปรียบเทียบ
 
45:50  ผมไม่ได้พูดถึงเรื่องนั้น
 
45:52  ผมหมายถึงในทางจิตใจ
ที่จะไม่มีการเทียบวัดใดๆ
  
46:00  ซึ่งก็คือการเปรียบเทียบ
 
46:06  หากคุณไม่มีการเทียบวัดใดๆ เลย
 
46:11  คุณจะผุพัง คุณจะกลายเป็นผัก
ไม่ทำอะไรเลย อย่างนั้นหรือ
  
46:20  คุณเข้าใจไหม คุณจะจมปลักหรือ
 
46:23  หรือเพราะคุณเปรียบเทียบ
เพราะคุณดิ้นรนต่อสู้
  
46:29  คุณจึงคิดว่า คุณมีชีวิตอยู่
 
46:33  แต่ถ้าคุณไม่ต่อสู้ดิ้นรน
มันอาจเป็นการใช้ชีวิตที่แตกต่างไปโดยสิ้นเชิง
  
46:44  Q: ปล่อยให้มันเป็นไป
 
46:47  K: ไม่ใช่ ไม่ใช่การปล่อยให้มันเป็นไป
ขอให้มองดู
  
46:57  คุณพบบุคคลที่ปราดเปรื่อง
คงแก่เรียน มีความรู้
  
47:04  ได้รับการศึกษาดี สมองดีเลิศ
มีสิ่งดีๆ ทำนองนั้น
  
47:11  แล้วคุณพูดว่า “ผมใฝ่ฝันจะเป็นเหมือนเขา”
 
47:16  การศึกษาของเราทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานเช่นนั้น
 
47:22  คุณต้องเก่งพอๆ กับพี่น้องของคุณ
ถ้าไม่เก่งกว่า
  
47:29  การสอบวัดผลก็อยู่บนพื้นฐานนั้น และอื่นๆ
 
47:33  ในเมื่อคุณเคยผ่านกระบวนการเช่นนั้นมาแล้ว
 
47:41  ที่คุณเปรียบเทียบ ต่อสู้ดิ้นรน
ก้าวร้าวรุนแรงและอื่นๆ
  
47:44  คุณจะพูดได้ไหมว่า
“ผมเห็นความโง่เขลาของการใช้ชีวิตเช่นนั้น”
  
47:52  ผมจะไม่เปรียบเทียบ
 
47:57  ผมจะไม่เทียบวัดความทื่อทึบของผม
วัดภาวะของผมกับคนอื่น
  
48:05  เมื่อเปรียบเทียบตัวเองกับคนที่ฉลาดมาก
 
48:10  ผมก็พูดว่า
“ผมช่างทื่อทึบอะไรเช่นนี้” ใช่ไหม
  
48:16  คุณเข้าใจนะ
 
48:17  แต่ถ้าผมไม่เปรียบเทียบตัวเองกับคนๆ นั้น
 
48:21  คนที่สุดฉลาดปราดเปรื่อง
 
48:24  ผมทื่อทึบไหม
 
48:30  ตอบด้วย ผมทื่อทึบไหม มันกลับตรงกันข้าม
 
48:38  คุณจะอยู่โดยไม่เปรียบเทียบ
ไม่มีแบบอย่าง ได้ไหม
  
48:53  คุณจะพบว่า เมื่อมีการควบคุม
ย่อมต้องมีผู้ควบคุม
  
49:04  ใครกันที่พูดว่า “ฉันต้องควบคุมปฏิกิริยานี้”
 
49:11  หรือ “ฉันต้องไม่ทำสิ่งนั้น”
 
49:15  แต่มันกลายเป็นนิสัยเคยชินที่ต้องทำอย่างนั้น
ฉันจึงต้องควบคุม
  
49:21  หมายถึงว่า ฉันตั้งมาตรฐานไว้ ใช่ไหม
 
49:29  มาตรฐานก็คือการเทียบวัด
 
49:32  เมื่อเทียบได้ตามมาตรฐาน
ฉันก็จะพูดว่า “ถูกแล้ว”
  
49:38  และฉันต้องใช้ชีวิตไปตามนั้น
 
49:48  การเทียบวัดจึงแสดงถึงการควบคุม
 
49:56  ถ้าคุณไม่เทียบวัดตนเอง
 
50:01  และเรียกตัวเองว่าคนทื่อทึบ
เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นที่ฉลาด
  
50:07  คุณทื่อทึบก็ต่อเมื่อคุณเปรียบเทียบ
 
50:10  แต่เมื่อไม่มีการเปรียบเทียบ คุณก็เป็นอื่น
 
50:22  เราเคลื่อนต่อไปจากตรงนั้น ได้ไหม
 
50:59  Q: ผมรู้สึกว่า
แรงขับเคลื่อนของกระบวนการคิดนั้นแรงมาก
  
51:06  จนผมไม่สามารถกันตนเองออกจากมันได้
 
51:14  และพูดว่า “ฉันจะไม่คิดอีกแล้ว”
 
51:17  K: ผมไม่ได้ยิน
 
51:36  Q: แรงขับเคลื่อนของการคิดนั้นทรงพลังมาก
 
51:40  จนผมไม่สามารถแยกตัวผมออกมาได้
 
51:45  และพูดว่า “ฉันจะไม่คิดอีกแล้ว”
 
51:48  K: ขออภัย ผมไม่ได้กล่าวเช่นนั้น
 
51:49  Q: ผมกำลังบอกว่า
K: ขออภัย ผมไม่ได้กล่าวเช่นนั้น
  
51:50  Q: ผมกำลังบอกว่า
 
52:02  คำสอนของคุณบอกเป็นนัยว่า
มีแนวคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงอย่างสมบูรณ์
  
52:12  การผ่าเหล่าของจิตใจ
 
52:15  ซึ่งน่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลง
อย่างถอนรากถอนโคนของตัวจิตสำนึก
  
52:25  ผมจินตนาการว่า
นี่คงเป็นการหยั่งเห็นที่เกิดขึ้นทันทีทันใด
  
52:32  เป็นความเข้าใจอย่างฉับพลัน
จิตสำนึกรู้ตัวของมันเอง
  
52:42  K: ผมขออนุญาตถามว่า
คุณพยายามบอกอะไรผม
  
52:47  Q: ผมพยายามบอกคุณว่า
 
52:49  จริงๆ แล้วผมเริ่มรู้สึกเบื่อมาก
กับการพูดซ้ำแล้วซ้ำเล่า
  
52:56  ถึงความคิดที่ว่า
“จงมองดูพระอาทิตย์ตกที่งดงามนี้”
  
53:03  K: เดี๋ยวก่อน
หากคุณรู้สึกเบื่อ ก็เดินออกไปเสีย
  
53:08  Q: ผมยังไม่เบื่อถึงขนาดนั้น!
 
53:18  ผมยังมีความหวังว่า
คุณอาจสื่อสารอะไรบางอย่าง
  
53:32  คุณได้ยินที่ผมพูดไหม
 
53:34  ผมยังหวังว่า คุณมีบางอย่างที่จะบอก
 
53:56  K: หากคุณรู้สึกเบื่อพอประมาณ
 
54:02  ผมไม่ทราบว่าคุณพูดถึงอะไร
 
54:07  Q: คุณไม่อยากรับฟังหรอกหรือ
 
54:11  K: กรุณาบอกผมสั้นๆ ว่าคุณต้องการพูดอะไร
 
54:19  Q: ผมกำลังรอให้คุณ
อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงใหม่
  
54:29  การหยั่งเห็น การรับรู้ของจิตสำนึก
 
54:34  K: คุณกำลังรอให้ผมอธิบาย
 
54:42  ว่าการเปลี่ยนแปลงใหม่จะเกิดขึ้นอย่างไร
 
54:51  มันง่ายมาก
 
54:54  การเปลี่ยนแปลงใหม่เกิดขึ้น
เมื่อไม่มีการควบคุม
  
55:11  เมื่อไม่มีการเทียบวัด
 
55:17  เมื่อไม่มีความรู้สึกเป็น “ฉัน” ที่กำลัง
กระทำต่อสิ่งต่างๆ ในทางจิตใจ
  
55:26  เท่านั้นแหละ
 
55:30  หากนั่นยังไม่ชัดเจน เราจะสืบค้นไปด้วยกัน
 
55:36  ถ้าคุณพูดว่า “ผมเบื่อกับการพูดย้ำซ้ำซากเรื่องนี้
ที่คุณพูดแล้วพูดอีก”
  
55:39   
 
55:42  ผมก็ขออภัย
ถ้าคุณเบื่อ ก็เดินออกไปได้
  
55:44  ถ้าคุณเบื่อพอทนได้ ก็ขอให้ทน
 
55:47  และถ้าคุณต้องการเข้าใจจริงๆ ก็ขอให้ใส่ใจ
 
55:55  แค่นั้นเอง แต่ถ้าคุณไม่ต้องการ ก็ไม่เป็นไร
 
56:06  Q: การบังเอิญปล่อยให้ทำตามอำเภอใจ
เป็นผลของการควบคุมไหม
  
56:20  K: ใช่ การปล่อยตามอำเภอใจ
เป็นปฏิกิริยาต่อการควบคุม นั่นชัดเจน
  
56:27  เราถูกฝึกมาตั้งแต่เด็ก
 
56:31  จากยุคสมัยหนึ่งในประวัติศาสตร์
ที่เรียกกันว่า ยุค “วิกตอเรีย”
  
56:38  ว่าให้ควบคุม อย่าแสดงความรู้สึกของคุณ
ให้เชื่อฟัง ให้ทำตาม
  
56:44  ในการโต้ตอบต่อทั้งหมดนั้น เราพูดว่า
“ไม่เอาแล้วเรื่องเหลวไหลพวกนั้น
  
56:49  ฉันจะทำในสิ่งที่ฉันชอบ”
 
56:56  และพ่อแม่ก็รู้สึกว่า พวกเขาไม่ควรควบคุม
 
56:59  หรือนักจิตวิทยาบางคนบอกว่า
มันแย่มากที่มัวควบคุมลูกของคุณ
  
57:04  เขาต้องทำสิ่งที่เขาชอบ
เราผ่านเรื่องนั้นมาหมดแล้ว
  
57:09  เรามองว่า การควบคุมไม่จำเป็นเลย
 
57:25  โดยปราศจากปฏิกิริยาตอบโต้ใดๆ
ซึ่งคือการปล่อยตามใจ
  
57:30  ไม่จำเป็นอย่างสิ้นเชิง
 
57:32  เมื่อคุณเข้าใจการทำงานของการควบคุม
เท่านั้นเอง
  
58:02  Q: นั่นเป็นการคิดที่ถูกต้องหรือ
 
58:06  K: เธอต้องการรู้ว่า การมีชีวิตโดยไม่มีการควบคุม
เป็นการคิดที่ถูกต้องไหม
  
58:16  คุณตามทันไหม
 
58:21  ขอให้ตั้งใจฟังอะไรบางอย่าง
 
58:26  ผมอาจจะผิดก็ได้ ขอให้เราค้นหาด้วยกัน
 
58:34  ความคิดคือการเทียบวัด ใช่ไหม
 
58:44  ความคิดคือการเคลื่อนไปในทิศทางที่แน่นอน
 
58:54  ไม่ใช่หรือ
 
58:58  การเคลื่อนไหวใดๆ ย่อมเกี่ยวข้องกับเวลา
 
59:05  จากตรงนี้ไปตรงนั้น ต้องใช้เวลา
 
59:08  ทั้งในทางจิตใจและทางกายภาพ
 
59:13  เวลาคือการเทียบวัด ใช่ไหม
 
59:19  นั่นคือแรงขับเคลื่อนทั้งหมดของความคิด
คือการเทียบวัด
  
59:30  Q: มันเป็นแค่ข้อเท็จจริง ไม่ได้หรือ
 
59:32  K: เดี๋ยวก่อนนะ
Q: มันเป็นแค่ข้อเท็จจริง ไม่ได้หรือ
  
59:33  K: เดี๋ยวก่อนนะ
 
59:39  ผมต้องเริ่มใหม่อีก
 
59:43  เราเข้าใจกันและกันอยู่หรือเปล่า
 
59:46  เมื่อเราพูดว่า ในแรงขับเคลื่อน
ในการเคลื่อนไหว ในแรงผลักดันของความคิด
  
1:00:01  คือเวลา
คืออดีต
  
1:00:04  อดีตที่ผ่านเข้ามาในปัจจุบัน
ปรับเปลี่ยนตัวมันเอง และไปสู่อนาคต
  
1:00:10  นี่คือแรงขับเคลื่อนของเวลา
 
1:00:15  คือแรงขับเคลื่อนของความคิด
 
1:00:20  และเป็นแรงขับเคลื่อนของการเทียบวัดด้วย
 
1:00:27  เทียบวัดในทางจิตใจ เช่นเดียวกับทางกายภาพ
 
1:00:32  นี่ชัดเจนพอแล้ว ใช่ไหม
 
1:00:40  แล้วผมถามว่า เรามีชีวิตอยู่เช่นนั้น
 
1:00:46  เราถูกจับเอาไว้ในอดีตตลอดเวลา เราคืออดีต
 
1:00:57  และอดีตนั้นก็ปรับเปลี่ยนตัวมันเองตลอดเวลา
 
1:01:04  แล้วเคลื่อนไปข้างหน้า
 
1:01:09  อดีต ปรับดัดตัวมันเอง เคลื่อนไปในอนาคต
 
1:01:16  แรงขับเคลื่อนทั้งหมดนี้คือเวลา คือการเทียบวัด
 
1:01:24  แค่นั้นเอง
 
1:01:30  เพราะอะไรเราจึงมีชีวิตอยู่ในอดีตตลอดเวลา
 
1:01:43  ทำไมเราจึงไม่ทิ้งอดีต
 
1:01:54  ไม่ได้หมายความว่า ให้คุณลืมอดีต
 
1:01:58  แต่คุณเข้าใจธรรมชาติทั้งหมดของอดีต
 
1:02:03  และค้นให้พบว่ามันหมายถึงอะไร
 
1:02:07  ไม่ใช่เพราะผมพูด แต่ทดลองดู ทดสอบดู
 
1:02:10  ว่าการมีชีวิตอยู่อย่างสมบูรณ์ในขณะนี้
หมายถึงอะไร
  
1:02:21  หมายถึง แรงขับของอดีตไม่ทำงานอีกต่อไป
 
1:02:31  พูดอีกแง่หนึ่ง ถ้าคุณต้องการสืบค้นเข้าไปอีก
 
1:02:36  ผู้คนได้ถามมาตลอดหลายศตวรรษ
 
1:02:44  ว่าเวลาจบสิ้นลงได้ไหม
 
1:02:53  ไม่ใช่เวลาตามลำดับวันเดือนปี
 
1:02:57  ไม่ขึ้นอยู่กับการที่
ดวงอาทิตย์จะคงอยู่ที่เดียวตลอดไปหรือไม่
  
1:03:04  แต่ในทางจิตใจ เวลาจะจบสิ้นลงได้ไหม
 
1:03:16  คุณไม่ถามคำถามนี้หรือ
 
1:03:21  หรือคุณไม่แม้แต่จะสังเกตเห็นแรงขับเคลื่อนนี้
 
1:03:33  ซึ่งพูดอีกนัยหนึ่ง
 
1:03:36  ความรู้กลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด
 
1:03:41  ใช่ไหม
 
1:03:44  ไม่เพียงในทางเทคโนโลยีที่คุณต้องมีความรู้
 
1:03:51  แต่ความรู้ในแง่ที่เป็นประสบการณ์ด้วย
 
1:04:00  มีความเข้าใจมากและมากยิ่งขึ้น
 
1:04:09  ใช่ไหม
 
1:04:10  เราจึงบูชาความรู้
 
1:04:16  ผมพูดเรื่องนี้มาเป็นร้อยครั้งแล้ว
 
1:04:18  ถ้าคุณรู้สึกเบื่อ ขอให้ทน ให้มีความอดทน
 
1:04:22  แต่ถ้าคุณทนไม่ไหว ก็เดินออกไปได้
 
1:04:31  ผู้พูดสนใจที่จะพูดเรื่องนี้กับคุณ
 
1:04:35  เขาต้องการให้คุณค้นพบอะไรบางอย่าง
ที่แตกต่างไปจากการพูดซ้ำๆ
  
1:04:43  หากคุณไม่ทำ
สิ่งที่พูดก็จะกลายเป็นแค่การพูดซ้ำๆ
  
1:04:51  แต่สำหรับผู้พูด มันไม่ซ้ำซาก
 
1:04:54  ผมคงเบื่อมากกว่าเขาคนนั้นเสียอีก
 
1:04:58  ถ้าผมพูดซ้ำๆ เรื่องนี้กับตัวผมเองทุกครั้งที่พูด
ผมคงเดินออกไป
  
1:05:04  ผมคงไม่มานั่งอยู่ตรงนี้
 
1:05:08  แต่ในขณะที่คุณถามค้นลงไป
คุณจะเห็นมากยิ่งขึ้น ลุ่มลึกขึ้น กว้างขึ้น
  
1:05:17  “ลุ่มลึก” ไม่ใช่การเทียบวัด
ผมต้องระวังตรงนี้
  
1:05:28  หากเราเห็นความจริงว่าเรามีชีวิตอยู่อย่างไร
 
1:05:33  เห็นว่าเราทำงานจากอดีตอยู่เสมอ
 
1:05:38  เห็นว่าชีวิตเรา
เป็นการขับเคลื่อนของความทรงจำ
  
1:05:48  การขับเคลื่อนของการบันทึกจดจำ
และการแสดงออก
  
1:05:56  เหมือนเทปบันทึก สมองเราก็บันทึกสิ่งต่างๆ
 
1:06:02  และจากการบันทึกนั้น ก็แสดงออกมา
 
1:06:07  ซึ่งล้วนเป็นแรงขับของเวลา
 
1:06:14  ถ้าคุณสนใจ เราจะถาม
 
1:06:18  ถ้าผมสามารถพูดถึงมันได้ในแง่มุมต่างๆ
 
1:06:21  ซึ่งผมทำมา 50 ปีแล้ว
 
1:06:25  ถามว่าเป็นไปได้ไหม
ที่สมองจะบันทึกเรื่องที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น
  
1:06:33  เรื่องทางเทคโนโลยี จะขับรถอย่างไร
 
1:06:35  เรื่องนี้ เรื่องนั้น และอื่นๆ
 
1:06:37  แต่ในทางจิตใจ เรื่องภายใน
ไม่บันทึกอะไรสักอย่าง
  
1:06:47  เมื่อคุณเจ็บปวด ไม่ใช่ทางกายภาพ
แต่ทางจิตใจ ภายใน
  
1:06:54  ทำไมต้องบันทึกจดจำด้วยเล่า
 
1:07:04  คุณเข้าใจคำถามของผมไหม
 
1:07:06  มีความจำเป็นอะไร
ที่จะต้องแบกความเจ็บปวดนี้ไปปีแล้วปีเล่า
  
1:07:15  ทำไมคุณบันทึกจดจำมันไว้ เพื่ออะไรหรือ
 
1:07:20  หากคุณตอบคำถามหนึ่งเดียวนี้ได้
 
1:07:24  และค้นพบว่า มันเป็นไปได้ไหม
ที่จะไม่บันทึกจดจำความเจ็บปวด
  
1:07:34  แล้วบางทีสมองอาจจะบันทึกจดจำเฉพาะ
 
1:07:39  สิ่งที่จำเป็นจริงๆ ทางกายภาพเท่านั้น
 
1:07:44  ไม่บันทึกอะไรเลยในทางจิตใจ
ทางอารมณ์ความรู้สึก
  
1:07:52  ใช่ไหม
 
1:07:54  Q: เราจะสำรวจคำถามนี้ได้หรือ
โดยที่ยังมองไม่เห็นว่า
  
1:07:59  จิตสำนึกทั้งหมดจะรู้ตัวมันเองได้ไหม
 
1:08:03  K: ถ้าคุณไม่รังเกียจ
 
1:08:09  เราจะสำรวจคำถามเกี่ยวกับจิตสำนึกทั้งหมด
 
1:08:12  ว่ามันสามารถรู้ตัวมันเองได้ไหม
 
1:08:14  เมื่อเราเข้าใจวงจรทั้งหมดของกระบวนการทำซ้ำๆ
 
1:08:24  ผมใช้คำว่า “ทำซ้ำ”
 
1:08:29  แต่ถ้อยคำไม่ใช่ตัวความรู้สึกในการทำซ้ำ
 
1:08:50  Q: เราไม่บันทึกจดจำ
เมื่อเราได้รับความเจ็บปวด
  
1:08:53  เพื่อจะหลีกเลี่ยงการถูกทำให้เจ็บปวดอีก
ในครั้งต่อไป ได้ไหม
  
1:09:14  K: เราจะไม่ปกป้องตัวเรา
จากการเจ็บปวดครั้งต่อไปหรือ
  
1:09:25  ผมถูกทำให้เจ็บปวดมาครั้งหนึ่ง
และผมไม่ต้องการเจ็บปวดอีก
  
1:09:32  ผมจึงสร้างกำแพงทางจิตใจล้อมรอบตัวผม
 
1:09:36  เพื่อจะไม่ให้เจ็บปวดอีก
 
1:09:41  นั่นคือสิ่งที่คุณกล่าวมาใช่ไหม
ซึ่งหมายความว่าอะไร
  
1:09:47  ผมปลีกแยกตนเอง เพื่อไม่ให้ถูกทำร้าย
 
1:09:54  นั่นชัดเจน
 
1:09:58  คุณทำร้ายฉันมาครั้งหนึ่งแล้ว
และคุณอาจทำร้ายฉันอีก
  
1:10:02  ฉันจึงถอนตัว ฉันสร้างกำแพงขึ้นมาต้านทาน
 
1:10:06  ฉันปลีกแยกตัวเอง
เพื่อที่ฉันจะได้ไม่ถูกทำร้าย
  
1:10:11  จากการปลีกแยกนั้น
ย่อมเกิดความรุนแรง ความกลัวอย่างเห็นได้ชัด
  
1:10:21  แล้วทำไมฉันจึงต้องแบกความเจ็บปวดครั้งแรกไว้
 
1:10:31  เป็นไปได้ไหมที่จะไม่เจ็บปวดเลย
 
1:10:44  คำว่า “บริสุทธิ์ สดใหม่”
หมายถึงจิตใจที่ไม่เจ็บปวด
  
1:10:52  ไม่อาจทำให้เจ็บปวดได้
 
1:10:59  ไม่ใช่สัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์
แบบลูกแกะน้อย และเรื่องทำนองนั้น
  
1:11:03  แต่เป็นจิตใจที่ไม่เคยถูกทำให้เสียหายจริงๆ
 
1:11:15  เมื่อมันถูกทำให้เสียหาย มันย่อมเจ็บปวด
ใช่ไหม
  
1:11:21  เป็นไปได้ไหมที่จะทิ้งมันไปโดยสิ้นเชิง
หลีกเลี่ยงความเจ็บปวด
  
1:11:33  ไม่ได้หมายความว่า
คุณกลายเป็นคนโหดร้าย หรือต่อต้าน
  
1:11:40  คุณต้องการค้นหาไหมว่า
เป็นไปได้หรือที่จะไม่ถูกทำให้เจ็บปวดเลย
  
1:11:49  โดยไม่กลายเป็นคนแข็งกระด้าง
เย็นชา วางมาดเย่อหยิ่ง ทำนองนั้น
  
1:11:56  Q: ผมเป็นอิสระจากความเจ็บปวด
ที่ได้รับตั้งแต่ยังเป็นทารก ได้ไหม
  
1:12:00  ตอนที่ผมอายุแค่สองหรือสามขวบ
ซึ่งผมอาจไม่รู้ตัว
  
1:12:21  K: เรามีเวลาสำหรับเรื่องนี้ไหม
คุณต้องการเข้าไปในเรื่องนี้ ตอนนี้ไหม
  
1:12:33  ขอเวลาผมอีกสักสองนาที
ให้ผมพูดเรื่องนี้ให้จบ
  
1:12:38  หากคุณไม่ต้องการฟัง
ก็ไม่ต้องฟัง คุณเข้าใจไหม
  
1:12:42  คุณมีอิสระที่จะออกไป
 
1:13:00  ในวัยเด็ก คุณเคยถูกทำให้เจ็บปวด
 
1:13:09  โดยพ่อแม่ หรือโดยเด็กคนอื่นๆ
 
1:13:16  คุณถูกทำให้เจ็บปวดในโรงเรียน
วิทยาลัย มหาวิทยาลัย
  
1:13:24  ใช่ไหม
 
1:13:27  ตอนนี้คุณอายุ 50 แล้ว
นั่นเป็นอดีต ความเจ็บปวดอยู่เบื้องหลัง
  
1:13:38  คุณถามว่า
ความเจ็บปวดที่เก่าแก่โบราณแต่ครั้งอดีตนั้น
  
1:13:50  จะถูกกวาดทิ้งไปโดยสิ้นเชิง ได้ไหม
 
1:13:54  นั่นคือคำถามใช่ไหม
 
1:14:06  ไม่ใช่ด้วยการวิเคราะห์
 
1:14:14  ผมจำเป็นต้องเข้าไปในเรื่องนั้นไหม
 
1:14:17  ถ้าคุณมาที่นี่เป็นครั้งแรก ผมขออธิบายสั้นๆ
 
1:14:22  ผู้วิเคราะห์คิดว่า
เขาแตกต่างจากสิ่งที่ถูกวิเคราะห์
  
1:14:31  ผู้วิเคราะห์ไม่เจ็บปวด
แต่สิ่งที่ถูกวิเคราะห์เจ็บปวด
  
1:14:38  ผู้วิเคราะห์ที่คิดว่าเขาไม่เจ็บปวด
ที่คิดว่าเขาแยกออกไป
  
1:14:43  กำลังจะตรวจสอบความเจ็บปวดนั้น
 
1:14:47  แต่ผู้วิเคราะห์ก็เป็นความเจ็บปวดด้วย
 
1:14:53  ใช่ไหม
 
1:14:58  การวิเคราะห์จึงมีความหมายน้อยมาก
ในการปลดปล่อยจิตจากความเจ็บปวด
  
1:15:06  เมื่อคุณเห็นว่า
ผู้วิเคราะห์ก็คือสิ่งที่ถูกวิเคราะห์
  
1:15:12  ขอให้ผมค้นในเรื่องนี้
 
1:15:14  ดังนั้น จึงไม่ต้องมีการวิเคราะห์
 
1:15:21  ทำไมผมจึงเจ็บปวด
ทำไมผมจึงเก็บความเจ็บปวดนี้ไว้
  
1:15:29  ทำไมคุณจึงเก็บความเจ็บปวดของคุณเอาไว้
 
1:15:35  มันเป็นส่วนหนึ่งของคุณ
 
1:15:38  บางทีถ้าคุณกำจัดความเจ็บปวดออกไป
คุณอาจกำจัดตัวคุณเอง
  
1:15:46  ดังนั้นคำถามคือ
ความเจ็บปวดนั้นจะสลายโดยสิ้นเชิงได้อย่างไร
  
1:15:54  โดยไม่ทิ้งร่องรอยไว้เลย
 
1:16:01  ผมก็ต้องสืบค้นในคำถามว่า
ความเจ็บปวดคืออะไร ใครกันที่เจ็บปวด
  
1:16:10  ใช่ไหม
 
1:16:15  มโนภาพที่ผมมีเกี่ยวกับตัวผมเอง
นั่นแหละที่เจ็บปวด
  
1:16:23  ใช่ไหม
 
1:16:25  ผมคิดว่า ผมเป็นคนยอดเยี่ยม
 
1:16:28  แต่คุณมาบอกผมว่า “อย่างี่เง่าไปหน่อยเลย”
 
1:16:33  นั่นทำร้ายผม เพราะผมมีมโนภาพ
ของตนเองว่าผมเป็นคนยอดเยี่ยม
  
1:16:40  ฉลาด มีสติปัญญาล้ำเลิศ หลักแหลม
และเรื่องเหลวไหลทำนองนั้น
  
1:16:44  แล้วคุณก็มาพูดว่า
“พระเจ้าช่วย คุณช่างโง่งมเสียจริง”
  
1:16:52  มโนภาพที่ผมสร้างขึ้นเกี่ยวกับตัวผมเอง
ได้รับความเจ็บปวด
  
1:16:58  ใช่ไหม
 
1:16:59  ไม่ว่าความเจ็บปวดนั้น
เกิดขึ้นในอดีตหรือปัจจุบัน
  
1:17:06  นั่นชัดเจน
 
1:17:07  คำถามจึงเกิดขึ้นว่า
 
1:17:09  เป็นไปได้ไหมที่จะไม่มีมโนภาพ
เกี่ยวกับตนเองเลย
  
1:17:17  เพราะตราบใดที่ผมมีมโนภาพเกี่ยวกับตนเอง
 
1:17:20  ใครบางคนก็จะเหยียบย่ำมัน
 
1:17:27  ผมจึงต้องค้นหาว่า เหตุใดสมอง จิตใจ
 
1:17:35  จึงสร้างมโนภาพเกี่ยวกับตนเอง
 
1:17:40  มันสร้างขึ้นเพราะว่าในมโนภาพนั้น
มีความมั่นคงปลอดภัย ใช่ไหม
  
1:17:49  ในมโนภาพนั้น มีความปลอดภัยหรือเปล่า
 
1:17:53  หากไม่มีมโนภาพ แล้วผมจะเป็นอะไร
 
1:17:59  ดังนั้น ผมจึงหวาดกลัว
ผมจึงยึดติดกับมโนภาพของตนเอง
  
1:18:04  และคุณก็จะเหยียบย่ำมัน
อย่างสุภาพ อย่างนุ่มนวล อย่างอดทน
  
1:18:13  คุณจะเหยียบย่ำมัน และผมก็จะเจ็บปวด
 
1:18:20  ผมจึงต้องค้นหาให้พบ
 
1:18:23  ว่าเป็นไปได้ไหม
ที่จะมีชีวิตโดยไม่มีแม้แต่มโนภาพเดียว
  
1:18:30  มโนภาพคือข้อสรุปของผม
คือความคิดเห็นของผม
  
1:18:32  ความก้าวร้าวของผม
เป็นต้น
  
1:18:37  ความเป็น “ฉัน” คือมโนภาพ
 
1:18:39  ถ้าผมไม่มีมโนภาพ
คุณก็ไม่สามารถเหยียบย่ำมันได้
  
1:18:45  ถ้าขณะนี้ผมไม่มีมโนภาพเลย
ความเจ็บปวดในอดีตก็จะไม่มี
  
1:18:52  คุณเข้าใจไหม
 
1:18:56  ผมลุกไปได้หรือยัง
 
1:18:58  Q: สืบเนื่องจากคำถามของเขาคนนั้น
 
1:19:01  ที่เด็กวัยสองสามขวบถูกทำให้เจ็บปวด
 
1:19:04  เพราะเขามีมโนภาพของตนเอง ใช่ไหม
 
1:19:07  K: ไม่ เราไม่สามารถ...
ผมไม่รู้จักเด็กน้อยคนนั้น
  
1:19:16  Q: คุณช่วยทวนคำถามได้ไหม
 
1:19:21  K: คำถามคือ ตอนเป็นเด็ก คุณถูกทำร้าย
 
1:19:26  เพราะอะไรหรือ
 
1:19:33  ทารกน้อยของคุณ ลูกชายลูกสาวของคุณ
ตอนอายุสี่หรือห้าขวบ
  
1:19:39  เหตุใดเธอจึงเจ็บปวด
 
1:19:43  เอาละ
 
1:19:44  เธอรักลูกหมีน้อยตัวนั้น ต้องเอาไปนอนด้วย
 
1:19:50  รักมัน จูบมัน กอดมัน ถือมันไว้ทั้งวัน
 
1:19:55  คุณดึงมันออกไป เด็กคนอื่นมาแย่งมันไป
 
1:20:01  เธอก็เริ่มร้องไห้
 
1:20:05  สิ่งที่เคยเป็นของฉันถูกเอาไป
– วงจรทั้งหมดก็เริ่มต้นขึ้น
  
1:20:16  พอแล้วนะสำหรับเช้านี้