Krishnamurti Subtitles

SA78D4 - การพยายามอยู่ตลอดเวลาทำลายสมอง

การสนทนาถามตอบต่อสาธารณชน ครั้งที่ 4
เมืองซาเน็น ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
29



0:26  การพยายามอยู่ตลอดเวลาทำลายสมอง
 
0:30  เราจะสนทนากันเรื่องอะไรดี
 
0:31  Q: ขอให้คุณพูดเกี่ยวกับพลังงาน
เพื่อการเยียวยา ซึ่งเป็นพรอันประเสริฐ ได้ไหม
  
0:34  K: ขอให้พูดเกี่ยวกับการเยียวยาโดยใช้มือ
 
0:43  Q: ไม่ใช่ แต่หมายถึงพรประเสริฐที่คุณพูดถึง
 
0:49  ในหนังสือของคุณเกี่ยวกับ
พลังงานในการเยียวยา
  
0:50  K: ไม่ใช่การวางมือเพื่อเยียวยา
 
0:52  แต่เป็นพรอันประเสริฐที่ผมพูดถึง
 
0:57  มีคำถามอื่นอีกไหม
 
0:59  Q: มันจะดีพอหรือ ถ้าผม ตัวผม เปลี่ยนแปลง
 
1:03  ในเมื่อคนอื่นๆ ที่มีอำนาจ
เป็นผู้กำหนดเงื่อนไข
  
1:08  เช่น ผมเป็นครู และผมต้องการสอนในวิธีของผม
 
1:13  แต่มันเป็นไปไม่ได้ในระยะยาว
 
1:17  แล้วผมจะทำอย่างไร จึงจะไม่ขัดแย้ง
กับระบบของโรงเรียนโดยไม่จำเป็น
  
1:25  K: ผมเป็นครู
 
1:27  ผมอยากจะเปลี่ยนแปลงตนเองจากรากฐาน
 
1:33  อีกทั้งในระยะยาว
มันก็มีผลกระทบต่อนักเรียนน้อยมาก
  
1:40  คุณถามอย่างนั้น ใช่ไหม
 
1:42  Q: ไม่ใช่ ระบบโรงเรียนคือปัญหา
ผมอยากสอนในแบบที่ผมต้องการ
  
1:46   
 
1:47  K: ระบบโรงเรียนทั้งหมด
สภาพแวดล้อม เป็นอุปสรรคขัดขวาง
  
1:53  เดี๋ยวก่อน ผมเข้าใจแล้ว
 
1:55  ผู้ถาม: ผมพูดภาษาฝรั่งเศส ได้ไหม
 
1:59  K: ได้
 
2:02  Q: Je voudrais savoir ce que
vous pensez
  
2:04  des techniques de m้ditation
bas้es sur la lumi่re,
  
2:08  la musique, le verbe, etc.
 
2:11  K: คุณคิดอย่างไรเกี่ยวกับสมาธิ
ที่เกิดขึ้นในดวงตาที่สาม
  
2:18  รวมทั้งการฟังเสียงดนตรี และทั้งหมดนั้น
 
2:25  คุณผู้หญิงคนนั้นครับ
 
2:27  Q: ฉันมองเห็นว่า คุณมีชีวิตอยู่ฝั่งโน้น
 
2:31  และฉันอยากจะพบคุณอย่างยิ่ง แต่…
 
2:39  K: ผมมีอะไรบางอย่างที่อยากจะพูด
กับคุณเป็นการส่วนตัว
  
2:44  แต่ดูเหมือนค่อนข้างยาก
ที่จะพูดกับคุณเพียงคนเดียว
  
2:48  ผมขอพูดเรื่องนั้นก่อน
แล้วมันจะได้จบไป
  
2:54  ผมเคยพบผู้คนมากมายเป็นการส่วนตัว
 
2:58  ผมไม่ทราบว่า ตลอดชีวิต
ผมพบคนมากี่พันคนแล้ว
  
3:02  แต่เกรงว่า ผมทำอย่างนั้นไม่ได้อีกแล้ว
 
3:06  เพราะผมไม่มีเวลา
 
3:08  และหลังจากพูดไปชั่วโมงครึ่ง
พลังงานของผมก็หมดไป
  
3:14  ผมมีสิ่งอื่นๆ อีกที่ต้องทำ
 
3:15  ขออภัยด้วย
ที่ผมจะไม่พบใครเป็นการส่วนตัวอีก
  
3:21  Q: ถ้าเป็นอย่างนั้น คุณก็ไม่สนใจ
 
3:27  K: ผมหมายถึง
คุณสุภาพสตรีพูดว่า “คุณไม่สนใจ”
  
3:33  ขออภัย นั่นไม่ใช่เหตุผล
 
3:37  ถ้าผมไม่สนใจ ผมคงไม่มาพูดที่นี่
 
3:43  Q: ขอให้คุณพูดเกี่ยวกับความเจ็บปวดทางกาย
ความทุกข์ทรมานทางกายด้วย
  
3:49  K: ขอให้คุณพูดเกี่ยวกับความเจ็บปวดทางกาย
ความทุกข์ทรมานทางกายด้วย
  
3:57  Q: (ไม่ได้ยิน)
 
4:37  K: ผมเกรงว่า ผมไม่เข้าใจสิ่งที่คุณพูด
 
5:18  Q: สุภาพบุรุษท่านนี้พูดว่า
ในการพูดของคุณ
  
5:20  มีสองปัจจัยที่แตกต่างกัน
 
5:26  ปัจจัยหนึ่งคือการสังเกต การรับรู้
และอีกปัจจัยหนึ่งคือ คำถามที่คุณถาม
  
5:32  ซึ่งตัวคุณเองเรียกว่า
“คำถามที่เป็นไปไม่ได้”
  
5:39  K: ผมยังไม่เข้าใจคำถาม
 
5:47  Q: เขาถามว่า ความสัมพันธ์
ระหว่างปัจจัยทั้งสองคืออะไร
  
5:51  K: สองปัจจัยนั้นคืออะไร
 
5:53  Q: การสังเกตและคำถามที่เป็นไปไม่ได้
 
5:59  ซึ่งตัวคุณเองเรียกว่า
“คำถามที่เป็นไปไม่ได้”
  
6:03  Q: คำถามที่เป็นไปไม่ได้
 
6:11  K: อย่าถามคำถามที่เป็นไปไม่ได้
ในวันที่อากาศร้อนอย่างนี้
  
6:24  ผมไม่เข้าใจคำถาม
 
6:27  เราอาจจะพิจารณาคำถามนี้ไปด้วย
ในขณะที่เราสืบค้นในคำถามอื่นๆ
  
6:28   
 
6:34  Q: (ไม่ได้ยิน)
 
6:51  Q: เธอถามว่า ความสงสัยหมายถึงอะไร
 
6:55  และเพราะเหตุใดเราจึงมีความทุกข์
เมื่อเราต้องเลือก
  
7:07  K: ความสงสัยหมายถึงอะไร
แล้วทำไมเราเป็นทุกข์เมื่อเราเลือก
  
7:16  Q: ผมมีคำถามหนึ่งด้วย
 
7:18  บุคคลที่มีจิตบริสุทธิ์
 
7:23  จะสื่อกับคนที่สมองถูกทำลายแล้ว
สื่ออย่างใจถึงใจ
  
7:26  ในเวลาเดียวกันและในระดับเดียวกัน ได้ไหม
 
7:30  K: เราจะสื่อใจถึงใจ
กับมนุษย์คนอื่นได้อย่างไร
  
7:38  ถ้าเรามีจิตค่อนข้างปกติ ส่วนอีกคนไม่ปกติ
 
7:52  สำหรับผม ดูเหมือนนั่นเป็นปัญหาของเรา
 
8:08  พวกคุณอาจมีจิตปกติ ส่วนผมอาจไม่ปกติ
 
8:11  ผมอาจจะ…
นั่นแหละคือปัญหา
  
8:15  แล้วเราจะสนทนากันเรื่องอะไร
 
8:17  นอกจากคำถามต่างๆ เกี่ยวกับสมาธิ
 
8:24  เรื่องการเห็นแสง เห็นนิมิต
เรื่องสุขภาพกาย
  
8:32  เราจะสื่อใจถึงใจ
กับคนที่ไม่ค่อยเป็นโรคประสาท
  
8:37  เหมือนอย่างตัวเรา ได้อย่างไร
 
8:45  Q: คุณก็ชอบหลีกเลี่ยง
 
8:51  K: คำถามคือ ผมชอบหลีกเลี่ยง จากอะไรหรือ
 
8:55  Q: จากฉัน
 
8:56  K: จากคุณ!
Q: จากฉัน
  
9:02  K: จากคุณ!
 
9:10  K: คุณสุภาพสตรีมีความเห็นอะไรไหม
 
9:12  Q: คนพวกนี้ช่างโง่เง่าเหลือเกิน!
K: คุณสุภาพสตรีมีความเห็นอะไรไหม
  
9:13  Q: คนพวกนี้ช่างโง่เง่าเหลือเกิน!
 
9:17  K: ผมเห็นด้วย
 
9:33  ผมขอถามคำถาม
 
9:35  ซึ่งอาจจะรวมคำถามอื่นๆ อยู่ด้วย
 
9:43  ผมไม่ได้ยัดเยียดคำถามให้คุณ
 
9:48  แต่ผมขอถาม ได้ไหม
 
10:00  ผมแน่ใจว่า
เราต้องเคยถามตัวเราเองมาแล้ว
  
10:05  ไม่ใช่ด้วยคำพูดที่ผมใช้ถาม
 
10:10  แต่เป็นคำถามที่เป็นพื้นฐานอย่างยิ่ง นั่นคือ
 
10:16  เราจะรักษาสมอง ที่ฟื้นฟูตัวมันเอง
ให้ใหม่อยู่ตลอดเวลา ได้อย่างไร
  
10:27  คุณเข้าใจคำถามไหม
 
10:29  สมองที่ไม่เสื่อมเลย
 
10:38  ไม่แก่ ไม่ชราหงำเงอะ
 
10:41  สมองที่ไม่ทำลายตัวมันเอง
 
10:48  ไม่ปล่อยให้ตัวมันเองถูกทำลาย
 
10:55  สมองที่มีคุณสมบัติ
ของความอ่อนเยาว์อยู่เสมอ
  
11:12  สมองนะ ไม่ใช่เรื่องทางเพศ
และเรื่องทำนองนั้น
  
11:19  คำถามนี้สำคัญไหม สำหรับพวกคุณ
 
11:25  ไม่ใช่สำคัญเพราะผมถาม
 
11:29  ผมถามว่ามันสำคัญไหม
สำหรับเราแต่ละคน
  
11:33  ว่าเป็นไปได้ไหม
ในขณะที่เราแก่ตัวลง แก่ลง และแก่ลง
  
11:39  ที่จะมีสมองซึ่งสดใหม่
 
11:51  อ่อนเยาว์ ไม่ถูกทำลาย เป็นอิสระ
 
11:55  เพื่อจะมีจิตที่ว่องไว
 
12:03  ไม่เพียงว่องไวในความคิด
แต่ในการกระทำด้วย
  
12:06  ที่จริงแล้ว ความอ่อนเยาว์หมายถึง
การตัดสินใจและการกระทำ
  
12:18  มันอาจจะเป็นการตัดสินใจ
และการกระทำที่โง่เง่า
  
12:22  แต่เมื่อเราแก่ตัวลง จะมีเหตุปัจจัย
ที่ทำให้สมองเสื่อมถอยเสมอ
  
12:32  ไม่เพียงทางชีวภาพ กายภาพ เท่านั้น
แต่ในตัวสมองด้วย
  
12:39  เรื่องนี้มีใครสนใจบ้าง
 
12:41  สนใจที่จะค้นหาว่า เป็นไปได้ไหม
 
12:53  ที่จะมีสมองที่แม้จะเก่าแก่อย่างยิ่ง
 
12:58  อายุเป็นพัน เป็นล้านปี
 
13:02  สมองนั้นแม้ด้วยอายุขัย
ด้วยประสบการณ์มากมาย
  
13:14  ด้วยความรู้ ที่มันสั่งสมพอกพูนไว้หนักหน่วง
 
13:19  สมองนั้นจะ “เยาว์วัย” อยู่ตลอดกาล
ได้ไหม ถ้าผมใช้คำนั้นได้
  
13:26  แล้วคุณจะเข้าใจว่าผมหมายถึงอะไร
 
13:28  ไม่ใช่เยาว์วัยในความหมาย
ที่เป็นความโง่เขลา
  
13:35  ไม่ใช่ในความหมายที่ทื่อทึบ หน่วงหนัก
 
13:46  เราจะเสวนากันเรื่องนั้น ดีไหม มีใครสนใจบ้าง
 
13:54  ผมไม่ได้ขอให้คุณสนใจ
 
13:56  ผมแค่ถาม
เพราะคุณให้ผมตอบคำถามของคุณ
  
14:00  ผมจึงถามคำถาม
 
14:03  Q: แม้ว่าร่างกายจะมีอายุมาก
 
14:06  K: แน่นอน แม้ว่าจะอายุมากแล้ว
Q: แม้ว่าร่างกายจะมีอายุมาก
  
14:07  K: แน่นอน แม้ว่าจะอายุมากแล้ว
 
14:14  เราสืบค้นในเรื่องนี้ได้ไหม
 
14:20  บางที ในการตอบ
ในการสืบค้นเข้าสู่คำถามนั้น
  
14:27  เราอาจจะตอบคำถามที่ว่า
เราจะสื่อใจถึงใจกับมนุษย์คนอื่นได้อย่างไร
  
14:34  คนที่หยาบกระด้าง โหดร้าย รุนแรง
 
14:41  เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง
และค่อนข้างเป็นโรคจิตประสาท
  
14:49  โดยที่ยอมรับว่า
เราก็อาจจะเป็นโรคจิตประสาทด้วย
  
14:55  นั่นคือคำถามที่ผมอยากจะถามคุณ
 
14:59  ถ้าคุณสนใจ เราจะสืบค้นเรื่องนี้
 
15:04  Q: ได้เลย
 
15:09  Q: ฉันจะไม่เป็นโรคจิตประสาท
ถ้าทุกคนไม่ประสาท
  
15:21  K: เธอจะไม่เป็นโรคจิตประสาท
ถ้าทุกคนรอบตัวเธอไม่เป็น
  
15:28  แล้วจิตที่ยังมีความเป็นปกติอยู่บ้าง
ไม่เป็นประสาทไปทั้งหมด
  
15:36  จะสื่อใจถึงใจกับจิตหรือพฤติกรรม
ของมนุษย์อย่างไร
  
15:41  มนุษย์ซึ่งค่อนข้างเป็นโรคจิตประสาท
นั่นคือคำถาม
  
15:44  ขอให้ผมสืบค้นในเรื่องนี้
 
15:50  อะไรทำให้สมอง ผมกำลังพูดถึงสมอง
 
15:55  ที่เก็บความทรงจำเอาไว้หลายพันปี
 
16:04  เข้าใจไหม
 
16:08  เพราะสมองของเราไม่อ่อนเยาว์
 
16:13  เราสืบทอดความบากบั่นพยายาม
หลายพันปีของมนุษย์
  
16:23  ทั้งการต่อสู้ดิ้นรน สิ่งที่เขาเผชิญมา
ภยันตราย ความสุขเพลิดเพลิน
  
16:30  ความยากลำบากทั้งมวล
ในการดำรงอยู่มาหลายพันปี
  
16:36  สมองของเราวิวัฒน์มา
 
16:44  แล้วผ่านวิวัฒนาการนั้น ผ่านกาลเวลา
และความก้าวหน้า ทั้งหมดนั้น
  
16:49  สมองรับเอาแรงต้านบางอย่าง
อิสรภาพบางอย่างเข้ามา
  
16:58  มันเรียนรู้ว่าอะไรที่เป็นอันตราย
จะหลีกเลี่ยงอันตรายได้อย่างไร
  
17:04  จะไล่ไขว่คว้าหาความสุขเพลินเพลินได้อย่างไร
 
17:09  ดังนั้น สมองของเรา
สมองของคุณ ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น
  
17:17  มันเป็นผลพวงของหลายล้านปี
 
17:23  นั่นเห็นได้ชัด
 
17:26  ผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง
 
17:29  ผมได้มองดูตัวผมเอง
มองดูปรากฏการณ์ทั้งหมด
  
17:34  สมองนั้นสามารถไหม
 
17:45  ที่จะปลดแอกตัวมันเองจากอดีต
 
17:52  เป็นอิสระจากแรงกดดัน แรงบีบบังคับทั้งปวง
 
18:04  เป็นอิสระจากการเสพติดทุกรูปแบบ ได้ไหม
 
18:09  ผมขอถามคำถามนั้น
 
18:12  ว่าอะไรหรือที่ทำลายสมอง
 
18:20  ขอให้เริ่มต้นอย่างนี้
 
18:26  คุณลองค้นหา
ขอให้เราพิจารณาเรื่องนี้ด้วยกัน
  
18:30  บางทีผมอาจจะเป็นประสาทมากกว่าคุณ
 
18:36  หรือผมอาจจะเป็น
สิ่งแปลกปลอมทางชีววิทยา
  
18:42  ดังนั้น คุณต้องพิจารณาเรื่องนี้ด้วยกัน
 
18:48  ช่วยกันเผยให้เห็น
ช่วยกันทำความเข้าใจคำถามนี้
  
18:55  อะไรหรือที่ทำลายสมอง
 
19:09  Q: ความเจ็บปวดทางจิตใจ
 
19:13  K: คุณสุภาพบุรุษบอกว่า
“แรงกระตุ้นทางจิตใจ”
  
19:17  ผมไม่ค่อยเข้าใจ
 
19:19  Q: ความเจ็บปวด
 
19:26  K: เป็นสิ่งพื้นฐานกว่านั้น
อะไรที่ทำลายสมอง
  
19:37  Q: ความขัดแย้งไม่ลงรอยกัน
 
19:39  K: ความไม่ลงรอยกัน แย้งกัน
Q: ความขัดแย้งไม่ลงรอยกัน
  
19:40  K: ความไม่ลงรอยกัน แย้งกัน
 
19:43  เมื่อมีความขัดแย้งไม่ลงรอยกัน
 
19:46  นั่นคือ เมื่อรู้สึกอย่างหนึ่ง
แต่ทำสิ่งที่ตรงกันข้าม
  
19:52  คิดอย่างหนึ่ง
 
19:55  แต่พูดอีกอย่าง ที่แตกต่าง
จากสิ่งที่คุณคิดอย่างสิ้นเชิง
  
20:00  หรือมีความอยาก
ที่จะทำอะไรบางอย่าง มีแรงขับ
  
20:07  แต่มีแรงขับที่ตรงข้ามกันด้วย
 
20:12  ใช่ไหม
 
20:14  คุณสุภาพบุรุษหมายถึงอย่างนั้น
ถ้าผมเข้าใจถูกต้อง
  
20:20  เกี่ยวกับความขัดแย้งไม่ลงรอย
 
20:24  อะไรเกิดขึ้นเมื่อมีภาวะที่แย้งกัน
 
20:30  อะไรเกิดขึ้นในชีวิตคุณ
 
20:33  ขอให้ใคร่ครวญเรื่องนี้ด้วยตัวคุณเอง
 
20:37  อะไรเกิดขึ้นเมื่อมีภาวะที่แย้งกัน
มีสิ่งตรงข้ามกัน
  
20:44  เมื่อความอยากหนึ่งต่อต้านอีกความอยากหนึ่ง
อะไรเกิดขึ้น
  
20:52  Q: เกิดความขัดแย้ง
 
20:55  K: ความขัดแย้งเกิดขึ้น
 
20:58  เราพูดได้ไหมว่า ความขัดแย้งไม่ว่ารูปแบบใด
 
21:07  ทั้งทางชีวภาพ และทางจิตใจ
 
21:12  หรือเมื่อความคิดหนึ่ง
ต่อต้านคัดค้านอีกความคิดหนึ่ง
  
21:18  ความขัดแย้งและการต่อสู้อันไม่สิ้นสุด
ทั้งภายนอกและภายในนี้
  
21:26  เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำลายสมอง
 
21:39  อย่าได้เห็นด้วยกับผม
 
21:43  มันสำคัญที่ต้องค้นให้พบด้วยตัวเราเอง
 
21:48  ว่าสมองนี้ ซึ่งไม่ใช่เป็นสมองของคุณ
 
21:56  นั่นแหละ ขอให้เข้าใจตรงนี้
 
21:59  มันไม่ใช่สมองของคุณ
มันเป็นสมองของพวกเราทุกคน
  
22:03  เพราะคุณคือผลพวงนับล้านปี
ของสิ่งที่เรียกว่า วิวัฒนาการ
  
22:09  ความก้าวหน้า การสั่งสมความรู้
ความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน
  
22:22  Q: คุณพูดว่า…
 
22:24  รอสักครู่
กรุณารอสักครู่
  
22:28  – เสียงรถไฟ
 
22:34  Q: คุณเพิ่งพูดไปว่า
 
22:37  ในเรื่องนี้ เราอยู่ในสถานะเดียวกัน
 
22:42  แต่ผมเข้าใจว่า ผู้คนแตกต่างกันมาก
 
22:47  เมื่อคุณพูดว่า เป็นสมองของมวลมนุษยชาติ
 
22:53  ทุกคนอยู่ในสถานะเดียวกัน เมื่อตอนเราเกิด
 
22:55  ผมขอถามเรื่องส่วนตัวของคุณ
 
22:58  เมื่อตอนคุณเกิด คุณก็ถูกอิทธิพลกำหนด
 
23:03  หลังจากนั้น คุณปลดปล่อยตัวคุณเป็นอิสระ
 
23:05  K: ไม่ใช่
หลังจากนั้น คุณปลดปล่อยตัวคุณเป็นอิสระ
  
23:06  K: ไม่ใช่
 
23:07  Q: หรือมันเป็นสิ่งที่คุณทำหลังจากนั้น
 
23:09  K: อย่าเพิ่งถลำเข้าไปในรายละเอียด
 
23:14  ขอให้รอสักครู่
 
23:23  คุณคิดว่า สมองของคุณ
 
23:29  ซึ่งเป็นผลของหลายพันปี
 
23:35  แตกต่างจากสมองของผม
 
23:37  ซึ่งเก่าแก่หลายพันปีเช่นกัน อย่างนั้นหรือ
 
23:44  หรือเราต่างก็เดินทางผ่าน
ประตูแห่งประสบการณ์
  
23:52  ผ่านความเจ็บปวด ความทุกข์ทรมาน
ความดิ้นรนแสนสาหัส และอื่นๆ
  
24:01  สมองนั้นอาจถูกอิทธิพลกำหนด
อยู่ในวัฒนธรรมหนึ่ง
  
24:07  ซึ่งแตกต่างจากอีกวัฒนธรรมหนึ่ง
 
24:11  มันอาจได้รับการศึกษา
แตกต่างจากอีกวัฒนธรรมหนึ่ง
  
24:16  ซึ่งมีการศึกษาของมันเอง
 
24:19  แต่คุณสมบัติพื้นฐานของสมองเป็นอย่างนั้น
 
24:26  สมองมีอายุหลายพันปี มันจึงเหมือนกัน
คล้ายกัน ไม่มากก็น้อย
  
24:39  แม้ว่าภายนอก มันจะแตกต่างกัน
 
24:43  เราจะค้นเข้าสู่เรื่องนี้
ขอให้ทิ้งเรื่องนั้นไว้ก่อน
  
24:47  ผมถามตัวผมเอง
และหวังว่าคุณก็ถามตัวคุณเองด้วย
  
24:54  ว่าอะไรคือปัจจัยพื้นฐานที่ทำลายสมอง
 
25:04  ขอให้ลืมเสียว่า
สมองของคุณและของผมเหมือนกัน
  
25:06  ทิ้งเรื่องนั้นไว้ก่อน
 
25:10  เราพูดว่า สาเหตุหนึ่งของการทำลาย
 
25:15  คือความพยายามอันไม่สิ้นสุด
ความขัดแย้ง การต่อสู้ดิ้นรน
  
25:26  ซึ่งทำให้เกิดแรงบีบคั้นมหาศาลต่อสมอง
 
25:30  หรือคุณไม่เห็นด้วยกับที่พูดนี้
 
25:37  คุณคิดว่าอย่างไร
 
25:43  Q: ผมไม่เห็นด้วย
 
25:51  Q: เขาพูดว่า เขาไม่เห็นด้วย
 
25:53  เขาคิดว่า สมองวิวัฒน์มา
โดยผ่านการต่อสู้ดิ้นรน
  
25:56  K: ใช่ วิวัฒน์มาระดับหนึ่ง
ที่คุณสุภาพบุรุษพูด
  
26:02  นี่คือข้อโต้แย้งทั่วๆ ไป
สมองวิวัฒน์มาโดยผ่านการดิ้นรนต่อสู้
  
26:09  ผ่านความขัดแย้ง สงครามการสู้รบไม่สิ้นสุด
ทั้งภายนอกและภายใน
  
26:19  ผมไม่ได้พูดว่าสมองไม่ได้วิวัฒน์
แต่เราตั้งคำถาม
  
26:26  คุณเข้าใจที่ผมพูดไหม
 
26:28  เราไม่ยอมรับง่ายๆ
ว่ามันวิวัฒน์มาโดยผ่านการดิ้นรนต่อสู้
  
26:35  ผมต้องการจะค้นให้พบว่า
นั่นเป็นความจริงไหม
  
26:41  เราจึงถามตัวเราเองว่า
 
26:46  ถ้าการดิ้นรนต่อสู้
เป็นปัจจัยในการเติบโตของมัน
  
26:55  แต่การดิ้นรนต่อสู้ก็ทำลายสมอง
 
27:02  โดยผ่านความตึงเครียดทางกายภาพ
 
27:08  แรงกดดันอันไม่สิ้นสุด
แรงตึงเครียด ความวิตกกังวล
  
27:18  ถ้าสิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดสมองที่ “ดีกว่า”
 
27:25  ผมใช้คำว่า “ดีกว่า” ในเครื่องหมายคำพูด
 
27:33  ผ่านมาแล้วหลายล้านปี
เราประสบผลสำเร็จอะไรบ้าง
  
27:42  เราอยู่ในสภาพอย่างไร
 
27:48  ถ้าสมองวิวัฒน์มา
 
27:51  แล้วกลายเป็นสิ่งงดงามพิเศษสุด น่าอัศจรรย์
 
27:57  หลังจากที่ดิ้นรนต่อสู้มาหลายพันปี
 
28:03  แล้วเราเป็นอยู่อย่างไรในปัจจุบัน
 
28:10  นั่นคือบรรทัดฐานที่เราจะใช้ประเมิน ใช่ไหม
 
28:17  Q: ผมขอถามคำถามต่อไป
ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น
  
28:22  K: โอ้ พระเจ้า......
 
28:23  Q: อย่างที่คุณพูดว่า สมองเรา
 
28:27  วิวัฒน์มาตลอดช่วงเวลาอันยาวนาน
 
28:32  วิวัฒน์มาด้วยกัน
กับสมองของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
  
28:37  ดูเหมือนปัญหา
ไม่ใช่อยู่ที่สมองของมนุษย์เหนือกว่า
  
28:45  สมองของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่นๆ
 
28:50  แต่ดูเหมือนมันโดดเด่นจนเป็นที่น่าสังเกต
 
28:53  ที่สมองมนุษย์มีคุณสมบัติแตกต่างไป
จากสมองของสัตว์อื่นๆ
  
28:59  K: ผมไม่…
 
29:01  Q: และมันมีความเจ็บปวดติดมาด้วย
 
29:05  มีความเป็นไปได้ที่จะเจ็บปวดและขัดแย้ง
โดยผ่านความทรงจำของมัน
  
29:13  โดยความอยากที่จะให้
ประสบการณ์ในอดีตเกิดขึ้นซ้ำอีก
  
29:17  K: ขออภัย ผมไม่ได้ยิน
 
29:20  Q: ผมขอโทษ
 
29:22  ผมถามว่า อะไรคือความแตกต่าง
ระหว่างสมองมนุษย์
  
29:28  และสมองอื่นๆ ซึ่งวิวัฒน์มาด้วยกัน
 
29:34  ดูเหมือนได้กลายเป็นนิสัยของสมองมนุษย์
 
29:37  ที่จะได้รับความทุกข์ทรมานจากการคาดหวัง
 
29:44  จากความอยากได้ประสบการณ์ในอดีตซ้ำอีก
 
29:49  แล้วผมก็สงสัยว่า เราจะแยกความแตกต่าง
 
29:55  ระหว่างสมองมนุษย์
ซึ่งดูเหมือนมีลักษณะเฉพาะ
  
30:00  ออกจากสมองอื่นๆ ได้อย่างไร
 
30:03  K: ผมขอให้
 
30:07  เราคำนึงถึงสมองอย่างที่มันเป็น
– อย่างที่เราเป็น
  
30:14  ไม่พูดว่า เราแตกต่างจากสัตว์หรือเปล่า
 
30:17  เราแตกต่างจากเด็กทารกหรือเปล่า
 
30:21  หรือแตกต่างจากสัตว์ที่ไม่ธรรมดา
อย่างปลาวาฬ เป็นต้น
  
30:29  เราพูดถึงสมองที่เรามีอยู่ตอนนี้
 
30:36  ไม่ใช่สมองของสัตว์
แต่สมองอย่างที่เราเป็นอยู่ขณะนี้
  
30:42  เราพูดว่า ถ้าโดยผ่านการดิ้นรน
ผ่านความขัดแย้ง ผ่านเวลาเป็นพันปี
  
30:52  มนุษย์สร้างสมองอันพิเศษสุดนี้ขึ้น
 
31:00  อะไรคือสิ่งที่เป็นอยู่จริง
ไม่ใช่เป็นทฤษฎี ไม่ใช่สมมุติฐาน
  
31:07  สิ่งที่เป็นอยู่จริงๆ
ที่สมองกำลังทำอยู่ ขณะนี้
  
31:13  มันทำงานอยู่อย่างไรในขณะนี้
 
31:20  ผมไม่ทราบว่า คุณเคยอ่านนิตยสารบ้างไหม
 
31:26  ว่าเรามีสงครามมาตลอด
ในช่วงห้าพันปีที่ผ่านมา
  
31:35  นั่นหมายถึง สงครามเกิดขึ้นทุกปี
ตามประวัติศาสตร์
  
31:45  ใช่ไหม
 
31:47  แต่เราก็ยังดำเนินไปในแบบแผนเดิมๆ
 
31:53  ใช่ไหม
 
31:54  วิธีการเข่นฆ่าของเรา
กลับทรงประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  
32:00  ซับซ้อนยิ่งขึ้น
 
32:01  คุณสามารถทำลายล้างมนุษย์นับล้านคน
 
32:06  โดยที่ตึกรามบ้านช่องไม่บุบสลาย
 
32:13  นั่นเป็นผลของสมองอันเลอเลิศของเรา
ใช่ไหม
  
32:20  คุณตามทันนะ
 
32:23  เราพูดว่า การต่อสู้ ความขัดแย้ง
สงคราม ทั้งภายในและภายนอก
  
32:33  จริงๆ แล้ว สภาพเช่นนั้น
ทำให้สมองเยาว์วัย สดใหม่หรือ
  
32:45  อาจมีวิถีทางอื่น คุณเข้าใจไหม
 
32:49  เรายอมรับบรรทัดฐาน ยอมรับแบบแผน
 
32:53  ว่าเหมือนกับต้นไม้
ที่ดิ้นรนเพื่อรับแสงอาทิตย์
  
33:01  ในป่า หรือในแมกไม้
 
33:03  เราต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อให้มีความรู้มากขึ้น
 
33:08  มีนี่และมีนั่นมากขึ้น และอื่นๆ
 
33:11  ผมจึงพูดว่า อาจมีวิถีทางอื่นอีก
 
33:17  ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดคุณสมบัติ
ของสมองที่แตกต่างออกไป
  
33:26  ที่ไม่ทำให้เจ็บปวด ไม่อยู่ภายใต้แรงกดดัน
 
33:32  ถ้าเราเข้าใจว่า ความพยายามนั้นไร้ผล
 
33:40  Q: เราไม่รู้ว่า สภาวะเช่นนั้นมีอยู่ไหม
 
33:44  K: คุณไม่รู้
ใช่คุณไม่รู้
  
33:48  Q: ใครจะให้คำตอบผม
ว่ามันเป็นไปได้หรือเปล่า
  
33:51  ที่มนุษยชาติจะสามารถดำเนินไปได้
โดยปราศจากความขัดแย้ง
  
33:56  ผมไม่ทราบ
 
33:58  K: คุณไม่ได้ฟังสิ่งที่ผมพูด
 
34:03  ผมพูดว่า อาจมีวิถีทางอื่น คุณไม่รู้ว่ามีไหม
 
34:08  Q: ผมทึกทักเอา
 
34:10  K: ผมพูดว่า อาจจะมี
 
34:14  หมายถึง อาจจะ ในภาษาอังกฤษ
 
34:17  Q: อาจจะ
 
34:18  K: มีความเป็นไปได้
ดังนั้นอย่าพูดว่า เราไม่รู้
  
34:26  เราพูดแล้วว่า
 
34:30  การต่อสู้ดิ้นรน
ไม่ได้ก่อให้เกิดสติปัญญาแก่ชีวิตเรา
  
34:42  มันกลับฉลาดแยบยลในการปกป้องตัวมันเอง
 
34:46  แต่นั่นไม่ใช่สติปัญญา
เมื่อคุณมีแต่สงครามและสงครามเกิดขึ้น
  
34:51  ปีแล้วปีเล่า ทั่วทั้งโลก
 
34:56  ซึ่งปรากฏให้เห็นอยู่
 
34:59  ผมเสนอว่า บางที
– บางทีนะ –
  
35:03  อาจจะมีวิถีอื่น มีวิถีทางอื่นในการดำรงชีวิต
 
35:10  ซึ่งบางทีจะทำให้สมองมีชีวิตชีวา
เยาว์วัย และสดใหม่ ยิ่งกว่า
  
35:15  ถ้าเราเข้าใจ
ความเปล่าประโยชน์ของความพยายาม
  
35:26  Q: (ไม่ได้ยิน)
 
35:48  K: โครงสร้างทางสังคมปัจจุบัน
อยู่บนพื้นฐานของปัญหาการแข่งขัน
  
35:56  ใช่ไหม
 
36:00  นั่นคือ
 
36:23  โครงสร้างทางสังคมทุกวันนี้
อีกทั้งระบบเศรษฐกิจของมัน และอื่นๆ
  
36:29  แท้จริงแล้วอยู่บนพื้นฐานของการแข่งขัน
การแก่งยิ่งชิงดีชิงเด่น
  
36:35  การต่อสู้เพื่อไปให้ถึง
ดิ้นรนเพื่อให้ได้บางสิ่งบางอย่าง
  
36:42  นั่นคือ ลักษณะและโครงสร้างทางสังคม
 
36:47  ซึ่งผมจะไม่ลงลึกในรายละเอียด
 
36:49  โครงสร้างของสังคมที่เราอาศัยอยู่
 
36:53  สังคมนั้นเป็นผลผลิตของเรา เราสร้างมันขึ้นมา
 
37:00  พระเจ้าไม่ได้สร้างมันขึ้น
 
37:04  มนุษย์ทุกคนก่อให้เกิดสังคม
ซึ่งเรามีชีวิตอยู่
  
37:09  เพราะเขาก้าวร้าว เขาต้องการตำแหน่ง
สถานะ เขาต้องการอำนาจ
  
37:13  เขาโลภมาก และอื่นๆ
 
37:19  สังคมของเราจึงมีการแก่งแย่งชิงดี
มีความไร้ศีลธรรมเป็นพื้นฐาน
  
37:33  เราจะยังไม่พูดถึงว่า อะไรคือศีลธรรม
 
37:36  เราจะพูดในโอกาสต่อไป
 
37:39  แท้จริงแล้ว สังคมไร้ศีลธรรม แบ่งแยก
 
37:46  มีอำนาจที่สูงกว่าและต่ำกว่า
 
37:51  การศึกษาของเรา วิถีชีวิตทั้งหมดของเรา
อยู่บนพื้นฐานนั้น
  
38:02  และนั่นคือแบบแผนชีวิตเรา
ตั้งแต่ล้านปีมาแล้ว
  
38:07  ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในเหตุปัจจัย
ที่ทำลายสมอง
  
38:10  ผมแค่เสนอ
ผมไม่ได้พูดว่ามันเป็นอย่างนั้น
  
38:13  มันอาจจะเป็นเหตุปัจจัยหนึ่ง
 
38:21  ความเครียด
และการดิ้นรนต่อสู้อันไม่สิ้นสุดนี้
  
38:26  ความต้องการอันไม่สิ้นสุด
ที่จะค้นหาอะไรบางอย่าง
  
38:32  การถูกผลักดันไปสู่อะไรบางอย่าง
 
38:38  เหล่าผู้ที่กำลังแสวงหา
 
38:42  เขารู้อยู่แล้วว่า เขากำลังแสวงหาอะไร
 
38:49  ไม่เช่นนั้น คุณก็ไม่แสวงหามัน
 
39:00  นั่นเป็นหนึ่งในปัจจัยพื้นฐานที่ทำลายสมอง
 
39:09  เราจึงถามอีกครั้งถึงความน่าจะเป็น
 
39:15  ผมต้องการถามคำถามเหล่านี้
 
39:17  มิฉะนั้น เราก็จะคงอยู่ในสภาพที่เราเป็น
 
39:20  มีความเป็นไปได้ไหม
ที่จะมีชีวิตอยู่โดยปราศจากความขัดแย้ง
  
39:27  ไม่เช่นนั้น สมองเราจะทำงานอยู่ตลอดเวลา
 
39:31  ทำงานอยู่ในแบบแผนแคบๆ และจำกัดอย่างยิ่ง
 
39:37  เรื่องนั้นง่ายพอที่จะเข้าใจไหม
 
39:43  Q: เราเห็นแล้วว่า
สมองถูกอิทธิพลกำหนดอยู่อย่างไร
  
39:46  สมองเช่นนั้น จะมีการกระทำที่ถูกต้องได้อย่างไร
 
39:54  K: เราจะสืบค้นไปช้าๆ ทีละก้าว
 
40:08  ยิ่งเราแก่ตัวลง เหตุปัจจัยนั้นก็ยิ่งทำให้สมอง
 
40:15  เสื่อมสภาพมากขึ้นและมากขึ้น
 
40:18  ยิ่งซ้ำซากมากขึ้นและมากขึ้น
มันจะไม่เปลี่ยนแบบแผนของมัน
  
40:28  มันกลัวที่จะทำลายแบบแผน
 
40:33  ถ้ามันมุ่งร้าย ขมขื่น โกรธเคือง
มันก็จะคงอยู่อย่างนั้น
  
40:46  แล้วมีหรือ วิถีชีวิต
 
40:50  ที่ไม่ใช่ความตึงเครียด
การต่อสู้อันไม่สิ้นสุดนี้
  
40:58  การจะค้นให้พบ
เราต้องเข้าใจธรรมชาติและโครงสร้าง
  
41:03  ของความขัดแย้งไม่ลงรอยกัน
การเปรียบเทียบ และแรงผลักดัน
  
41:13  ที่น่าพอใจ บางครั้งก็ไม่น่าพอใจ ที่ก้าวร้าว
 
41:18  และบางครั้งก็ง่ายดาย
 
41:21  แต่แรงผลักดันนี้
 
41:28  คือสิ่งที่เราพูดว่าทำลายสมอง
 
41:33  แม้แต่ผู้เชี่ยวชาญก็เห็นด้วยในเรื่องนี้
 
41:40  เราได้พูดคุยกับผู้ที่ได้ชื่อว่า
เป็นผู้เชี่ยวชาญทางสมองคนหนึ่ง
  
41:45  เขาก็เห็นด้วยในเรื่องนี้
 
41:48  ในเมื่อเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญ
คุณก็ต้องเห็นด้วยกับเขา
  
41:54  ใช่ไหม
 
41:56  เพราะพวกคุณติดอยู่ในอำนาจของผู้รู้
 
42:02  นั่นคือเหตุปัจจัยหนึ่ง
 
42:06  แล้วมีเหตุปัจจัยอะไรอีก
 
42:15  พูดมาเลย
 
42:17  Q: ดูเหมือนความคิดของผม
ไม่ต้องการให้ตัวมันจบสิ้น
  
42:30  K: เขาพูดสิ่งสำคัญที่ต้องเข้าใจ
 
42:34  ถ้าผมเข้าใจคำถามถูกต้อง
 
42:38  เรากลัวการจบสิ้น
 
42:44  ใช่ไหม
 
42:47  ถ้าเราผูกพัน รวมทั้งสิ่งที่ตามมาเป็นลำดับ
 
42:56  และสิ่งที่เกี่ยวเนื่องอยู่ในความผูกพัน
 
43:01  ทั้งความเจ็บปวด ความกลัว และทั้งหมดนั้น
 
43:08  การสืบต่อแบบแผนที่เหมือนเดิมของความผูกพัน
 
43:12  เป็นหนึ่งในเหตุปัจจัยที่ทำให้สมองเสื่อม
 
43:18  ผมสงสัยว่า คุณเข้าใจไหม
 
43:24  เพราะสิ่งที่สืบต่อนั้น
 
43:34  เป็นนิสัยเคยชิน
เป็นกิจวัตรเดิมๆ เป็นกลไก
  
43:44  สมองซึ่งกลายเป็นกลไก
 
43:50  เป็นหนึ่งในเหตุปัจจัยที่ทำให้เสื่อมถอย
 
44:00  เรื่องนี้ชัดเจนมาก
 
44:05  ไม่ใช่หรือ
 
44:08  ถ้าผมเกิดในอินเดีย
สืบต่อความเป็นคนอินเดีย
  
44:14  คิดไปตามครรลองเดิมๆ
 
44:17  ที่เป็นความงมงายของผม
พระเจ้าของผม สิ่งประดิษฐ์ของผม
  
44:21  เป็นกิจวัตรซ้ำๆ ซากๆ
มันเป็นกลไกอย่างเห็นได้ชัด
  
44:25  เป็นจารีต มันจึงทำลายตัวมันเอง
 
44:32  นั่นคือเหตุปัจจัยหนึ่ง
 
44:35  การดิ้นรนต่อสู้ ความพยายาม
การต่อสู้กับตนเอง
  
44:45  และวิถีชีวิตที่เป็นกลไก
 
44:54  การทำตามจารีตซึ่งอาจจะเก่าแก่
แค่สองวันหรือหมื่นปีก็ตาม
  
45:02  นั่นหมายถึง กระบวนการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่อง
 
45:06  ไปในทิศทางเดียวกัน
 
45:09  เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สมองเสื่อมถอย
 
45:15  ไม่ใช่หรือ
 
45:17  Q: กระบวนการเคลื่อนไหวที่ต่อเนื่อง
บ่งบอกถึงการดิ้นรนต่อสู้ ใช่ไหม
  
45:20  มันเหมือนกัน ไม่ใช่หรือ
เพราะถ้าผมไม่ดิ้นรนต่อสู้
  
45:23  ผมก็ไม่สามารถเคลื่อนไปได้อย่างต่อเนื่อง
 
45:26  K: ผมอาจจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
ในวิถีนี้ หรือวิถีนั้น
  
45:30  Q: แต่การสืบต่อเนื่องนั่นเอง คือการดิ้นรน
 
45:35  มันเหมือนกันกับการดิ้นรน
 
45:38  K: เห็นด้วยไหม
 
45:40  อย่าอธิบาย เป็นที่เข้าใจกันแล้ว
 
45:48  การดิ้นรนต่อสู้เป็นสิ่งที่เราคุ้นเคย
จนกลายเป็นแบบแผน
  
45:55  และไม่เคยจบสิ้นอะไรเลย
ซึ่งก็เป็นแบบแผนของเราด้วย
  
46:04  ถ้าผมเจ็บปวด ผมก็แบกพามันไปชั่วชีวิต
 
46:09  ผมไม่เคยจบสิ้นความเจ็บปวดของผม
 
46:14  ดังนั้น วิถีชีวิตแบบกลไก
เป็นหนึ่งในเหตุปัจจัยที่ทำให้สมองเสื่อม
  
46:23  นั่นไม่ได้หมายความว่า เราต้องเป็นธรรมชาติ
 
46:28  จิตที่ไม่เคยเป็นอิสระเลย
 
46:33  จิตที่ทำงานอยู่ในแนวราบหรือแนวตั้ง
ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง
  
46:39  จิตที่ทำตามแบบแผนเช่นนั้น
 
46:43  จะมีความเป็นธรรมชาติลักษณะใดๆ ได้หรือ
มันเป็นไปไม่ได้
  
46:46  มันอาจคิดว่าเป็นธรรมชาติ
- เราค้นพบสองเหตุปัจจัยแล้ว
  
46:55  มีเหตุปัจจัยอะไรอีกไหม
 
46:58  Q: ตัวความคิดเองนั่นแหละ
 
47:01  K: เดี๋ยวก่อน
ผมจะพูดถึงเรื่องนั้นในตอนท้าย
  
47:03  ก่อนที่คุณจะเอาเรื่องความคิดเข้ามา
ให้พิจารณาเรื่องอื่นก่อน
  
47:11  Q: การเอาตนเองเป็นศูนย์กลางความสำคัญ
 
47:16  K: การเอาตนเองเป็นศูนย์กลางความสำคัญ
อาจเป็นไปได้
  
47:25  เดี๋ยวก่อน ผมกำลังจะมาถึงตรงนั้น
 
47:28  เหตุปัจจัยหนึ่ง
อาจจะเป็นความอยากที่ไม่สิ้นสุด
  
47:34  อยากที่จะผนึกตนเข้ารวม
เป็นหนึ่งเดียวกับบางสิ่ง
  
47:42  ผมถามคุณ
อย่าเพิ่งเห็นด้วยหรือปฏิเสธ แต่ให้ค้นหา
  
47:49  แรงพยายาม แรงผลักดัน แรงกระตุ้น
ความอยากอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
  
47:57  ที่พูดว่า “ฉันคือสิ่งๆ นั้น”
 
48:08  ที่ผนึกตัวฉันเองเข้ากับประเทศชาติ
 
48:12  กับความเชื่อ บุคคล แนวคิด และอุดมคติ
 
48:19  หรือเครื่องประดับ คุณเข้าใจไหม
 
48:24  การเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
จากสิ่งที่ฉันเป็น ไปสู่สิ่งที่ฉันควรจะเป็น
  
48:38  และการผนึกตนเข้ากับสิ่ง “ที่ควรจะเป็น”
 
48:44  ซึ่งก็คือ การต่อสู้ อีกนั่นแหละ
 
48:52  มีเหตุปัจจัยอะไรอื่นอีกไหม
 
48:56  ความพยายาม วิถีชีวิตที่เป็นกิจวัตรซ้ำซาก
 
49:03  ถ้าสิ่งพวกนั้นถูกทำลาย
คุณก็สร้างกิจวัตรอื่นขึ้นมาอีก
  
49:08  ซึ่งหมายถึง จิต สมอง
ที่ถูกทำให้เคยชิน
  
49:16  เป็นความเคยชินของมัน
ที่ทำตามอย่างเป็นกลไก
  
49:24  ยอมรับอย่างเป็นกลไก
มีชีวิตอยู่อย่างเป็นกลไก
  
49:29  - ฉันทำสิ่งนี้เมื่อวาน
และฉันต้องทำอีกในวันพรุ่งนี้
  
49:34  เมื่อวาน ฉันมีความสุขเพลิดเพลินทางกามารมณ์
และพรุ่งนี้ฉันต้องมีอีก
  
49:38  อย่างนี้เป็นต้น
 
49:43  อาจมีอีกเหตุปัจจัยหนึ่ง
 
49:47  ซึ่งคือ แรงทบทวีทั้งมวลของความคิด
 
49:56  บางทีคุณอาจไม่เห็นด้วยในเรื่องนี้
ก็อย่าเห็นด้วย
  
50:04  แต่เราจะไม่สามารถสื่อกันได้
 
50:10  ผมต้องการจะสื่อ แต่คุณอาจไม่เต็มใจที่จะสื่อ
 
50:16  คุณอาจจะพูดว่า “ให้ใช้คำพูดที่แตกต่างออกไป”
 
50:23  คำพูดไม่สำคัญ
เมื่อคุณต้องการสื่ออะไรบางอย่าง
  
50:28  จะต้องมีแรงกระตุ้น
ที่จะทำความเข้าใจกันและกัน
  
50:32  แล้วผมก็ใช้คำในภาษาเอสกิโม
หรือภาษาอื่นได้
  
50:40  ภาษาไม่ใช่อุปสรรค
 
50:45  ความอยากที่จะเข้าใจสำคัญกว่าถ้อยคำ
 
50:55  ผมจึงถามว่า
 
50:58  เหตุปัจจัยสำคัญหนึ่ง
ซึ่งอาจเป็นเพียงเหตุปัจจัยเดียวเท่านั้น
  
51:06  ที่ทำลายสมอง
 
51:08  คือ การที่ความคิดเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
ใช่ไหม
  
51:26  Q: ความคิดก่อให้เกิดความกลัว
 
51:31  ความกลัวหนึ่งคือ
กลัวการสื่อกัน สื่อกันจริงๆ
  
51:37  ขณะนี้ผมกลัวที่จะสื่อกับคุณ
 
51:41  ผมกำลังสื่อกับคุณ
แต่ผมรู้สึกกลัว จะด้วยเหตุใดก็ตาม
  
51:45  ดูเหมือนความคิด
ก่อให้เกิดความกลัวขึ้น ในตัวผม
  
51:48  กลัวที่จะสื่อกับคุณ
ขณะนี้ ที่นี่ ที่มีผู้คนเหล่านี้
  
51:53  Q: เขาพูดว่า ความคิดก่อให้เกิดความกลัว
 
51:56  กลัวที่จะสื่อกับคุณ ที่นี่และขณะนี้
 
52:01  K: ความคิดก่อให้เกิดความกลัว
 
52:07  ความกลัวนั้นเกิดขึ้น
เพราะความคิดกลัวที่จะสื่อกับคุณ
  
52:18  อย่างนั้นใช่ไหม คุณกลัวหรือที่จะสื่อกับผม
 
52:24  ผมไม่ได้พูดว่า คุณกลัวหรือไม่กลัว
ผมไม่ทราบ
  
52:29  นอกจากคุณเป็นผู้อุทิศตน
นอกจากคุณจะพูดว่า
  
52:34  “ผมศิโรราบต่อคุณ
ไม่ว่าคุณจะเป็นอะไร ผมศิโรราบ”
  
52:39  แล้วคุณก็จะหลับหลง
 
52:43  เรารู้สึกกลัวหรือที่จะสื่อกันและกัน
 
52:51  Q: เราไม่เข้าใจสิ่งที่คุณพูดอย่างเต็มที่
 
52:59  K: ไม่ใช่ มันต่างจากนั้น...
 
53:04  เราไม่เข้าใจเต็มที่ในสิ่งที่คุณพูด
 
53:08   
 
53:13  ฉะนั้น สิ่งที่อาจเกิดขึ้น ไม่ใช่ความกลัว
 
53:16  “ผมไม่เข้าใจที่คุณพูด ขอให้อธิบายอีก
อธิบายในแบบที่ต่างออกไป”
  
53:18  ในการทำเช่นนั้น ไม่มีความกลัว
 
53:24  นอกจากเรากลัวที่จะเปิดเผยตัวเราเอง
 
53:31  ใช่ไหม
 
53:33  คุณอาจไม่ต้องการจะเปิดเผยตัวคุณให้ผมรู้
 
53:35  และผมก็ไม่ต้องการ
ให้คุณเปิดเผยตัวคุณต่อผม
  
53:40  แต่คุณควรเปิดเผยตัวคุณ ต่อตัวคุณเอง
 
53:47  มองให้เห็นตัวคุณ บางทีคำว่าเปิดเผยตัวคุณ
เป็นคำที่ค่อนข้างคลุมเครือ
  
53:54  คุณควรเห็นตัวคุณเองอย่างที่คุณเป็น
 
54:00  บทบาทของผู้พูดจึงไม่สำคัญ
 
54:04  ถ้าคุณใช้เขาเป็นกระจก
เพื่อมองให้เห็นตัวคุณอย่างที่คุณเป็น
  
54:11  ขอให้เคลื่อนต่อไปด้วยกัน
 
54:16  เราพูดว่า เหตุปัจจัยสำคัญหนึ่ง
และอาจเป็นเหตุปัจจัยเดียวเท่านั้น
  
54:22  คือการที่ความคิดเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
 
54:31  ทั้งขณะที่คุณตื่นและหลับ
 
54:36  ขณะที่คุณกำลังมองออกไปนอกหน้าต่าง
หรืออยู่นิ่งๆ
  
54:42  การคิดจ้ออยู่ตลอดเวลานี้
 
54:46  บางทีไม่ได้พูดออกมา แต่มีจินตนาการ
 
55:00  เมื่อมองดูสิ่งต่างๆ แล้วให้ชื่อมัน
 
55:04  กลไกนี้ดำเนินอยู่ตลอดเวลา
 
55:10  เราพูดว่า นั่นอาจจะเป็น
ตัวการทำลายสมองที่แท้จริง
  
55:28  คำถามจึงเกิดขึ้นว่า
 
55:32  แล้วเป็นไปได้อย่างไร ที่จะไม่คิดเลย
 
55:39  เดี๋ยว เดี๋ยวก่อน
 
55:45  นั่นเป็นแนวคิดที่จะควบคุมความคิด
 
55:53  เพื่อที่มันจะไม่คิดเรื่องอะไรเลย
 
55:57  นอกจากสิ่งที่มันถูกบงการให้คิด
 
56:01  คุณเข้าใจไหม
 
56:09  นั่นคือ เราตระหนัก ถ้าคุณตระหนัก
 
56:14  ว่าความคิดคือ หนึ่งในเหตุปัจจัยหลัก
ที่ทำลายสมอง
  
56:22  ความคิดทำลายสมอง
 
56:26  แล้วคุณก็ถามว่า
 
56:30  เพราะเหตุใด กลไกนี้จึงดำเนินอยู่ตลอดเวลา
 
56:38  แรงจูงใจที่ขับเคลื่อนมันคืออะไร
เชื้อเพลิงของมันคืออะไร
  
56:44  อะไรคือน้ำมันที่หล่อเลี้ยง
ไม่ว่ามันจะเป็นอะไรก็ตาม
  
56:47  ที่ทำให้กระบวนการนี้ดำเนินอยู่
ดำเนินอยู่ต่อๆ ไป
  
56:50  ทั้งวันและคืน
 
56:53  Q: หน้าที่ของสมองคือการคิด ใช่ไหม
 
57:03  K: หน้าที่ของสมองคือการคิด
 
57:10  ใช่ไหม
 
57:13  อย่ากำหนดอะไร อย่าให้แน่นอนตายตัว
 
57:19  ถ้าผมขอได้ ขอให้เราค้นหา
 
57:26  ถ้าการคิดเป็นธรรมชาติของสมอง
 
57:34  และการคิดนี้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
ไม่หยุดหย่อน
  
57:38  มันจึงทำลายตัวมันเอง
 
57:41  เหมือนเครื่องจักร
เหมือนรถคุณที่วิ่งอยู่ตลอดเวลา
  
57:49  เติมของใหม่ น้ำมันหล่อลื่นใหม่
ดูแลมันอย่างเหมาะสม
  
57:54  แต่ใช้งานให้มันวิ่ง วิ่งตลอดเวลา
คุณจะทำให้มันเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว
  
58:05  นั่นจึงเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำลายสมอง
 
58:13  คุณตามทันไหม ไม่ว่าคุณจะคิดในแนวตั้ง
แนวราบ หรือแนวนอน
  
58:23  เราคุ้นชินกับการอ่านหนังสือจากซ้ายไปขวา
 
58:31  การคิดของเราจึงเป็นแนวราบ ไม่มากก็น้อย
 
58:35  แต่หากคุณอ่าน
อย่างที่อ่านกันในจีนและญี่ปุ่น
  
58:39  การทำอย่างนั้น
คุณก็ทำไปตามครรลองที่แน่นอน
  
58:51  คืออ่านจากซ้ายไปขวา ขวาไปซ้าย
ก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นอาหรับ หรืออื่นๆ
  
58:56  ปัญหาของเราก็คือ
 
59:02  อะไรคือน้ำมันเชื้อเพลิง
น้ำมันหล่อลื่น พลังงาน
  
59:12  ที่ทำให้สภาพนี้ดำเนินต่อไป
ซ้ำๆ ซากๆ แล้วๆ เล่าๆ
  
59:17  นั่นคือปัญหา ใช่ไหม
 
59:18  อะไรคือต้นกำเนิดของพลังงานนี้
 
59:23  ซึ่งใช้ในการคิดอยู่ในขณะนี้
 
59:30  Q: มันถูกส่งมาโดยประสาทสัมผัส
 
59:40  K: ผู้ถามหรือเธอพูดว่า
มันถูกส่งสัญญาณมาโดยประสาทสัมผัส
  
59:49  ใช่อย่างนั้นไหม
 
59:52  เมื่อคุณเปิดตาแล้วมองดู
 
59:58  ประสาทสัมผัสของคุณกำลังมอง
 
1:00:02  แต่ถ้าคุณหลับตาและคิดไปเรื่อย
 
1:00:10  การคิดเป็นผลของประสาทสัมผัสเท่านั้นหรือ
 
1:00:16  หรือการคิดขึ้นอยู่กับอย่างอื่น
ซึ่งคือความทรงจำ เป็นต้น
  
1:00:24  เราต้องการจะค้นให้พบว่า พลังงานอะไร
 
1:00:32  ที่ใช้ในการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง
ของความคิด คุณเข้าใจไหม
  
1:00:42  Q: นั่นหมายถึง ความคิดนั้นอยู่ในอดีต
 
1:00:46  K: ไม่ใช่ อย่าเพิ่งพูดว่ามันเป็นอย่างนั้น
 
1:00:55  ขอให้ค้นหา
 
1:01:01  พลังงานมีอยู่ ใช่ไหม
 
1:01:08  พลังงานซึ่งใช้ไปในความขัดแย้ง
 
1:01:14  ซึ่งกลายเป็นกลไก เป็นกิจวัตรซ้ำซาก
 
1:01:23  และเราพูดแล้วว่า การผนึกตนอยู่ตลอดเวลานี้
 
1:01:30  พลังงานทั้งหมดถูกใช้ไปตามครรลองเหล่านี้
 
1:01:34  เราถามว่า
 
1:01:41  เพราะเหตุใด
ความคิดจึงใช้พลังงานนี้อย่างเต็มที่
  
1:01:51  คุณเข้าใจที่ผมพูดไหม
 
1:01:55  K: ขออย่าด่วนสรุป แต่ให้ค้นหา
 
1:02:00  ผมไม่ทราบว่า ผมอธิบายชัดเจนหรือยัง
 
1:02:07  ในการพยายาม คุณต้องใช้พลังงาน
 
1:02:12  ในการดิ้นรน การต่อสู้ ภายในหรือภายนอก
พลังงานเป็นสิ่งจำเป็น
  
1:02:20  ในการผนึกตนเข้ากับคนอื่น และอื่นๆ
 
1:02:23  จำต้องใช้พลังงาน
 
1:02:27  เมื่อสมองกลายเป็นกลไก เป็นกิจวัตรซ้ำซาก
 
1:02:36  ทำตามแบบแผน
 
1:02:39  มันก็ใช้พลังงานด้วย
 
1:02:43  ผมถามว่า เพราะอะไรความคิด
จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
  
1:02:50  และใช้พลังงานของเราแทบหมดสิ้น
 
1:02:58  ผมเพิ่งกล่าวออกไป ตัวผมเองยังไม่ชัดเจน
 
1:03:02  ว่าผมบอกสิ่งที่ผมสังเกตอยู่หรือเปล่า
บอกเป็นคำพูด
  
1:03:08  ถ้าใครเข้าใจที่ผมพูดแล้ว ขอให้สืบค้นต่อไป
 
1:03:13  Q: เราพยายามที่จะควบคุมสภาพแวดล้อม
 
1:03:22  K: การควบคุมลักษณะใดก็ตาม
ทำให้พลังงานสูญเปล่า
  
1:03:36  Q: อาจจะ
เมื่อคุณใช้ความคิดไม่หยุดหย่อนเท่านั้น
  
1:03:39  การทำเช่นนั้น
 
1:03:41  คุณเพียงสืบต่อ
ความรู้สึกเป็น “ฉัน” ให้คงอยู่ถาวร
  
1:03:43  “ฉัน” ความเป็นตัวตน
 
1:03:44  K: ผมต้องการไปให้ถึงเรื่องนั้น
“ฉัน” ความเป็นตัวตน
  
1:03:45  K: ผมต้องการไปให้ถึงเรื่องนั้น
 
1:03:46  เพราะอะไรความคิดจึงใช้พลังงานมากมาย
 
1:03:57  เราจึงไม่มีพลังงานเพื่อการอื่น
 
1:04:02  Q: เพราะหากปราศจากความรู้สึก
ของความเป็น “ฉัน”
  
1:04:05  ความจริงคือว่า
“ฉันสามารถทำอะไรบางอย่างได้…
  
1:04:07  K: ผมต้องการค้นในเรื่องนั้น
ขอให้ค้นเข้าไปอีกหน่อย
  
1:04:10  ถ้าเราเข้าใจกันและกัน
ขอให้สืบค้นเข้าไปอีกเล็กน้อย
  
1:04:14  คุณเข้าใจที่ผมพูดไหม
 
1:04:20  Q: ผมคิดว่า สมองมองหา
ความมั่นคงปลอดภัยอยู่เสมอ
  
1:04:23  โดยการเปรียบเทียบทุกสิ่งทุกอย่าง
 
1:04:25  K: ผมเข้าใจ
เราแสวงหาความมั่นคงปลอดภัย
  
1:04:30  มั่นคงปลอดภัยอยู่ในความเชื่อ
ในครอบครัว ในบ้าน
  
1:04:34  ในอุดมการณ์ ในการผนึกตน และอื่นๆ
 
1:04:40  เราต้องการความมั่นคงปลอดภัย
นั่นเป็นที่เข้าใจ
  
1:04:43  เหมือนเด็กเล็กๆ เหมือนทารก
จำต้องมีความมั่นคงปลอดภัย
  
1:04:47  สมองจึงเรียกร้องต้องการความมั่นคงปลอดภัย
เราพูดไปแล้ว
  
1:04:51  และคุณอาจคิดว่า ความมั่นคงปลอดภัยนั้น
 
1:04:55  มีอยู่ในการเคลื่อนไหว
อันไม่สิ้นสุดของความคิด
  
1:05:00  คุณเข้าใจไหม
คุณค้นพบอะไรบางอย่างไหม
  
1:05:06  ความคิดแสวงหาความมั่นคงปลอดภัย
 
1:05:13  และสร้างสิ่งที่มันคิดว่ามั่นคงขึ้น
 
1:05:18  แล้วคงอยู่ในแบบแผนนั้น
 
1:05:23  ความคิดจึงใช้พลังงานมหาศาล ทั้งคืนทั้งวัน
 
1:05:32  แล้วเราพูดว่า นั่นอาจเป็นปัจจัยหนึ่ง
 
1:05:34  ที่ทำให้สมองเสื่อมถอย
 
1:05:38  Q: มันเป็นตัวความคิดเอง
หรือเป็นจุดที่ความคิด…
  
1:05:44  K: เป็นตัวความคิดเอง หรือเมื่อความคิดทำงาน
 
1:05:50  ถูกแล้ว ตัวความคิดเอง
หรือความคิดที่เคลื่อนไหวทำงาน
  
1:05:58  ใช่ไหม
 
1:06:02  Q: ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสมดุลหรือ
 
1:06:08  K: ไม่ใช่ปัญหาความสมดุลหรือ
 
1:06:13  อาจใช่หรือไม่ใช่
 
1:06:17  คุณไม่ได้ฟัง
 
1:06:18  พวกคุณทั้งหมดกำลังคิด
แต่เราไม่ได้คิดไปด้วยกัน
  
1:06:21  นั่นไม่ได้หมายความว่า
ให้คุณยอมรับ
  
1:06:24  แต่ขอให้คิดไปด้วยกัน
ในประเด็นเดียวกัน
  
1:06:26  บางทีเราอาจจะเกิด
ความเข้าใจบางสิ่งบางอย่าง
  
1:06:32  รอสักครู่
 
1:06:34  Q: ฉันคิดว่า
เรากลัวที่จะว่างเปล่าโดยปราศจากการคิด
  
1:06:39  หรือปลอดภัยโดยปราศจากการคิด
 
1:06:41  K: เราพูดกันแล้วเมื่อวานหรือวานซืน
 
1:06:46  ว่าเรากลัว ถ้าความคิดไม่ยุ่งวุ่นวาย
อยู่กับบางสิ่งบางอย่าง
  
1:06:53  เรากลัวที่จะเผชิญความอ้างว้างเดียวดาย
 
1:06:57   
 
1:07:03  ความกลัวเป็นปัจจัยหนึ่ง
ที่ทำลายสมองอย่างเห็นได้ชัด
  
1:07:09  Q: เราพูดได้ไหมว่า ความคิดโลดแล่น
ไม่อาจควบคุมได้
  
1:07:14  K: เราพูดได้ไหมว่า ความคิดโลดแล่น
ควบคุมไม่ได้
  
1:07:20  พูดได้ ความคิดควบคุมไม่ได้
 
1:07:27  ในทางเทคโนโลยี ความคิดโลดแล่น
ไม่หยุดยั้ง
  
1:07:31  มีการผลิตเด็กทารกในหลอดทดลอง เป็นต้น
 
1:07:37  ขอให้กลับมาเรื่องเดิม
 
1:07:44  ผมต้องการค้นให้พบวิถีชีวิตที่ไม่ทำลายสมอง
 
1:07:59  Q: มีหรือวิถีชีวิต…
 
1:08:02  K: พระเจ้า!
 
1:08:03  Q: เพื่อที่จะ
ไม่ต้องลดสิ่งที่เป็นกลไกไปทั้งหมด
  
1:08:06  สิ่งที่เป็นเทคโนโลยีทั้งหมด
 
1:08:09  ที่ประหลาดพิกล
ซึ่งเป็นผลผลิตของสมองมนุษย์
  
1:08:16  เราสามารถมีสิ่งเหล่านั้น
ซึ่งเป็นผลผลิตของความคิด ได้ไหม
  
1:08:20  ซึ่งจะช่วยปลดเปลื้องเรา
จากความไม่สะดวกสบายต่างๆ นานา
  
1:08:26  หรือความกลัวที่จะไม่สะดวกสบาย
 
1:08:29  หรือความกลัว
ที่จะไม่สืบต่อสิ่งส่วนตัวของเรา
  
1:08:33  K: เราค้นเข้าสู่เรื่องทั้งหมดนั้นแล้ว
 
1:08:36  ในช่วงการพูดและการสนทนา
สองสามครั้งที่ผ่านมา
  
1:08:39  แต่ผมต้องการเข้าสู่เรื่องต่อไป
ขอให้ช่วยกันค้นหา
  
1:08:49  เราสังเกตเห็นได้ชัดเจน
ว่าความพยายามอันไม่สิ้นสุดทำลายสมอง
  
1:09:00  การดิ้นรนอันไม่สิ้นสุด
 
1:09:04  และกระบวนการที่เป็นกลไกด้วย
 
1:09:11  ซึ่งหมายถึงการฝึกปฏิบัติ
เรื่องทั้งหมดนั้น
  
1:09:13  ซึ่งกลายเป็นกลไกจนหมดสิ้น
ที่เรียกว่า การทำสมาธิ
  
1:09:19  เราค้นพบแล้วสองเหตุปัจจัย
 
1:09:23  แล้วเราก็พูดว่า ปัจจัยหลักอาจจะเป็น
 
1:09:27  กระบวนการ การเคลื่อนไหวทั้งหมด
ของความคิด และการกระทำของมัน
  
1:09:36  และเราถามว่า เหตุใดความคิด
จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง
  
1:09:46  มันใช้พลังงานอย่างมหาศาล ทั้งคืนทั้งวัน
 
1:09:58  ในความคิดที่เป็นมโนภาพ ในแนวคิด
ในมโนภาพทางกามารมณ์ และอื่นๆ
  
1:10:02  ล้วนเป็นการเคลื่อนไหวของความคิด
ที่คิดตลอดเวลา
  
1:10:05  ทั้งความโกรธ ความขมขื่น ความก้าวร้าว
 
1:10:08  ที่พูดว่า “คุณผิด ฉันถูก”
การต่อสู้ที่ดำเนินอยู่
  
1:10:16  เพราะเหตุใด ความคิดจึงสำคัญอย่างใหญ่หลวง
 
1:10:23  ซึ่งดูเหมือนเห็นได้ชัดว่า ไม่จบสิ้น
 
1:10:30  คุณเข้าใจคำถามไหม
 
1:10:34  มีหรือจุดจบสิ้น คุณตามทันไหม
 
1:10:41  การจบสิ้นอะไรบางอย่าง
เป็นการปลดปล่อยพลังงาน
  
1:10:48  ไม่ใช่ในทิศทางใด
แต่เป็นการปลดปล่อยพลังงาน
  
1:10:52  เรื่องนี้ยากเกินไปสำหรับคุณ
 
1:10:55  แต่ผมต้องการเคลื่อนต่อไป
 
1:11:03  เรารู้ไหมว่า เหตุสำคัญอย่างหนึ่ง
 
1:11:07  คือการที่ความคิดอยู่ในการขับเคลื่อน
อยู่ในการเคลื่อนไหว
  
1:11:11  ในทันทีที่คุณตื่น จนกระทั่งคุณหลับ
 
1:11:17  เมื่อคุณหลับ
มันก็ยังขับเคลื่อนอยู่ตลอดเวลา
  
1:11:26  มันอาจจะเป็นกลไกอัตโนมัติ
 
1:11:31  ดังนั้น ความคิดจึงเป็นกลไกอัตโนมัติ
 
1:11:34  มันจึงเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้สมองเสื่อมถอย
 
1:11:56  เรารู้ไหม เราเห็นความจริงไหม
ว่าความคิดเป็นกลไกอัตโนมัติ
  
1:12:06  Q: ดูเหมือนมีอะไรมากกว่านั้น
 
1:12:11  ความคิดที่ไม่สิ้นสุดนี้
หล่อเลี้ยงแรงขับเหล่านั้น
  
1:12:16  ซึ่งกระตุ้นการคิด
เช่น ความหยิ่งทะนง ความโลภ
  
1:12:22  K: เราพูดแล้วว่า อะไรเป็นแรงจูงใจ
 
1:12:26  เราถามว่า อะไรเป็นแรงจูงใจ
ในการคิดที่ไม่สิ้นสุดนี้
  
1:12:32  แรงจูงใจหมายถึง
การเคลื่อนไปในทิศทางหนึ่ง หรือไม่มีทิศทาง
  
1:12:42  จริงๆ แล้ว คำว่าแรงจูงใจ
หมายถึง การเคลื่อนไป
  
1:12:49  เราได้ค้นเข้าสู่เรื่องทั้งหมดนี้แล้ว
 
1:12:51  ผมถามว่า ตราบใดที่สมองนี้
สมองของเรา
  
1:13:02  กลายเป็นกลไก
 
1:13:06  นั่นอาจเป็นปัจจัยหลักของการเสื่อมถอย
 
1:13:10  กระบวนการที่เป็นกลไกนั้นคือความคิด
ความคิดเป็นกลไกอัตโนมัติ
  
1:13:20  คุณเห็นไหม
 
1:13:26  คุณอาจประดิษฐ์เครื่องยนต์ที่ยอดเยี่ยมที่สุด
 
1:13:31  แต่มันก็ยังเป็นกระบวนการของความคิด
 
1:13:35  คุณอาจจะนั่งหลับตาแล้วคิดเกี่ยวกับพระเจ้า
 
1:13:39  มันก็ยังเป็นกลไกอัตโนมัติ
 
1:13:42  หรือคุณจะพูดว่า “ฉันจะฝึกปฏิบัติ
ฉันจะนั่งเงียบๆ
  
1:13:46  ฉันจะยอมจำนน
ต่อใครบางคนที่มีหนวดเครา หรือไม่มี”
  
1:13:52  นั่นก็เป็นกลไกเช่นกัน
 
1:13:54  ดังนั้น การเคลื่อนไหวใดๆ ของความคิด
เป็นกลไกอัตโนมัติ
  
1:14:00  แล้วเราพูดว่า นั่นเป็น
เหตุปัจจัยที่แท้ของการเสื่อมถอย
  
1:14:08  เพราะทำให้เราดิ้นรนต่อสู้
 
1:14:12  ใช่ไหม
 
1:14:15  เราแก่งแย่งชิงดี
ต้องการจะไปให้ถึง ต้องการบรรลุ
  
1:14:19  ต้องการเป็นผู้ประสบความสำเร็จ
ทั้งหมดนั้น คือการเคลื่อนไหวของความคิด
  
1:14:25  การผนึกตน เป็นต้น
 
1:14:28  ความคิดจึงเป็นเหตุปัจจัยที่แท้จริง
ของการเสื่อมของสมอง
  
1:14:41  Q: ความคิดคือ ความเป็น “ฉัน”
 
1:14:47  K: ความคิดคือ ความเป็น “ฉัน”
 
1:14:54  Q: แต่เป็นไปไม่ได้หรือ
ที่ภายในพื้นที่ของความคิด
  
1:14:58   
 
1:15:00  จะมีพื้นที่อื่น
ที่ความคิดเป็นธรรมชาติและมีชีวิต
  
1:15:04  ความคิดโดยทั่วไปแล้ว เป็นเพียง…
 
1:15:08  K: หมายถึง เราต้องสืบค้นเข้าสู่คำถามว่า
ความคิดคืออะไร
  
1:15:15  ความคิดคืออะไร
 
1:15:18  ถ้าคุณไม่มีความทรงจำ
คุณไม่สามารถที่จะคิดได้
  
1:15:23  ความทรงจำเป็นการสั่งสมประสบการณ์
เป็นความรู้
  
1:15:29  นั่นชัดเจน
 
1:15:34  ไม่ชัดเจนหรือ
 
1:15:40  แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ที่ลึกล้ำก็พูดอย่างนี้
 
1:15:45  ขอให้ยอมรับ
 
1:15:55  ถ้าคุณต้องการที่จะยอมรับผู้เชี่ยวชาญ
 
1:15:58  แต่คุณสังเกตสมองของคุณเองได้
ในขณะที่มันทำงาน
  
1:16:09  ถ้าเป็นอย่างนั้น แล้วเราจะทำอย่างไร
 
1:16:21  คุณเข้าใจไหม
 
1:16:23  การเคลื่อนไหวใดๆ ของความคิด
ทำให้สมองเสื่อมถอย
  
1:16:29  การเคลื่อนไหวใดก็ตาม
 
1:16:37  Q: เรามีชีวิตอยู่
โดยปราศจากการคิดได้อย่างไร
  
1:16:41  K: เมื่อปราศจากการคิด
เราจะมีชีวิตอยู่อย่างไร
  
1:16:44  เราได้ค้นเข้าสู่เรื่องทั้งหมดนี้แล้ว
ผมจะบอกคุณ
  
1:16:50  หมดเวลาแล้วหรือยัง
 
1:16:53  Q: (ไม่ได้ยิน)
 
1:16:56  K: 11.45 น
 
1:16:58  Q: แล้วเราจะทำอย่างไรดี
 
1:17:03  K: คุณจะฟังไหม ถ้าผมบอกคุณ
 
1:17:05  Q: เราทุกคนจะฟังอย่างตั้งใจ
 
1:17:16  K: ผมบอกคุณไปแล้ว
 
1:17:26  ผมบอกคุณแล้ว
 
1:17:30  แต่คุณไม่ได้ฟัง
 
1:17:33  Q: คุณเอ่ยว่า “เราจะทำอย่างไรดี”
 
1:17:35  K: เดี๋ยวก่อน ผมบอกคุณไปแล้ว
Q: คุณเอ่ยว่า “เราจะทำอย่างไรดี”
  
1:17:36  K: เดี๋ยวก่อน ผมบอกคุณไปแล้ว
 
1:17:38  ถ้าผมไม่ปัญญาอ่อนที่พูดว่า
ผมบอกคุณไปแล้ว ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้บอก
  
1:17:41  ผมก็เป็นคนโกหก
 
1:17:43  หรือไม่ คุณก็ไม่ได้ฟัง
 
1:17:48  ดังนั้น กรุณาฟังอีกครั้ง
 
1:17:55  นั่นหมายถึง ฟังเพื่อค้นให้พบ
 
1:18:03  ฟังด้วยความใส่ใจ ฟังด้วยความรัก
 
1:18:06  ฟังโดยไม่พูดว่า “ฉันได้ยินมาก่อนแล้ว”
 
1:18:12  ถ้าคุณได้ยินมาก่อน แล้วผมพูดซ้ำอีก
 
1:18:14  คุณก็จะพูดว่า “ฉันเบื่อแล้ว”
 
1:18:18  แต่ถ้าคุณได้ฟัง ได้ลองทำ
ได้ทำดู ได้ค้นพบ
  
1:18:22  คุณจะไม่มีวันเบื่อเลย
 
1:18:26  ทุกครั้งที่คุณลองทำ
จะมีอะไรบางอย่างใหม่เกิดขึ้น
  
1:18:33  ถ้าคุณเพียงแค่พูดว่า “ใช่ ผมเข้าใจ
 
1:18:36  คุณพูดอย่างนี้ อย่างนั้น คุณพูดซ้ำอีก
 
1:18:39  ฉันรู้สึกเบื่อ หรือกึ่งเบื่อ”
 
1:18:43  นั่นหมายถึง คุณไม่ได้ลองทำดู
 
1:18:47  คุณไม่ได้ทดลอง ไม่ได้มองดู
ไม่ได้ค้นเข้าสู่มัน
  
1:18:52  ถ้าคุณค้นพบอะไรบางอย่าง
 
1:18:55  คุณก็จะต้องการค้นเข้าสู่มัน
ให้มากขึ้นและมากขึ้น
  
1:18:58  ไม่รู้สึกเบื่อเลย แม้ชั่วขณะเดียว
 
1:19:05  เหมือนพวกนักวิจัย เขาไม่เคยเบื่อเลย
 
1:19:08  เขามุ่งมั่นทำงานอย่างแน่วแน่
จากเช้าจรดค่ำ
  
1:19:11  เพราะเขาต้องการจะค้นให้พบ
อะไรบางอย่างที่ใหม่ การค้นพบใหม่ๆ
  
1:19:22  เมื่อเราเผชิญกับปัญหาที่ใหญ่หลวง
ซับซ้อนและยุ่งยาก
  
1:19:30  นั่นคือ ในธรรมชาติและโครงสร้าง
ของตัวความคิดนั้น
  
1:19:35  เป็นเหตุปัจจัยหลักที่ทำให้สมองเสื่อมถอย
 
1:19:43  จากนั้นคุณถามว่า เราจะทำอย่างไรดี
 
1:19:49  ขอให้ฟัง
 
1:19:54  ใครถามคำถามนี้
 
1:19:59  ความคิดถามคำถามนั้น
 
1:20:04  ใช่ไหม
 
1:20:13  ตราบใดที่คุณถามคำถาม
 
1:20:17  ซึ่งคือความคิดที่พูดว่า “ฉันจะทำอย่างไร”
 
1:20:26  แล้วความคิดก็พูดว่า
“ฉันต้องค้นหาการกระทำ
  
1:20:29  ที่จะกำจัดการทำกิจวัตรซ้ำซาก
กระบวนที่เป็นกลไกของฉัน
  
1:20:34  ฉันจะหยุดการคิดได้อย่างไร
 
1:20:39  ฉันไม่สามารถหยุดได้ ในชีวิตฉันต้องคิด”
 
1:20:43  แน่นอน คุณต้องคิด
 
1:20:46  ไม่เช่นนั้น คุณไม่มานั่งอยู่ตรงนี้
และผมก็ไม่มา
  
1:20:53  ตราบใดที่ความคิดมีการเคลื่อนไหว
ในลักษณะใดก็ตาม
  
1:21:05  ไม่ว่ามันจะทำอะไร
จะเป็นเหตุที่ทำให้สมองเสื่อม
  
1:21:14  ถ้าคุณเข้าใจตรงนี้จริงๆ
 
1:21:20  เห็นความจริงของมันจริงๆ คุณก็จบ
 
1:21:27  คุณได้วางความคิด
ไว้ในที่ทางที่ถูกต้องของมัน
  
1:21:34  ซึ่งคือ ความคิดเป็นผลของความรู้
ความทรงจำ ประสบการณ์
  
1:21:47  ความคิดจำเป็นในการขับรถ
 
1:21:48  ในการขึ้นรถกลับบ้าน ไปโรงงาน
 
1:21:53  แต่ถ้าสมองตระหนักว่า ความคิดคือเหตุปัจจัย
 
1:22:00  ที่ทำให้มันเสื่อมถอย
 
1:22:03  มันก็จะพูดว่า
“ฉันเข้าใจเรื่องนี้แล้ว ฉันเข้าใจแล้ว”
  
1:22:10  แล้วเราจะสามารถ
ค้นเข้าสู่สิ่งที่ลึกยิ่งกว่าได้
  
1:22:13  คุณเข้าใจไหม ตอนนี้เราอยู่บนพื้นผิวเท่านั้น
 
1:22:19  ดังนั้น การกระทำเชิงบวกของความคิด
ซึ่งเราทั้งหมดเคยชินกับมัน
  
1:22:28  คือเหตุที่ทำให้สมองเสื่อมถอย
 
1:22:31  ความคิดที่ไม่กระทำการ
 
1:22:35  ซึ่งคือความคิดที่อยู่ในที่ทาง
ที่ถูกต้องของมัน
  
1:22:38  เมื่อเป็นเช่นนั้น สมองจะไม่เสื่อมถอย
 
1:22:42  พอแล้ว