ความรักเป็นขบวนการของเวลาและความคิดหรือ
Saanen - 18 July 1978
Public Talk 5
0:08 | ความรักเป็นกระบวนการ |
ของเวลาและความคิดหรือ | |
0:28 | เราได้สนทนาร่วมกัน |
ในประเด็นคำถามเกี่ยวกับความกลัว | |
0:42 | หลังจากได้ยิน ได้ฟัง |
0:46 | การสนทนาร่วมกันถึงแรงถ่วงของความกลัว |
0:58 | เราเป็นอิสระจากมันได้บ้างไหม |
1:04 | หรือเราเพียงแค่ได้ยิน มองเห็นเหตุผล |
ความสมเหตุสมผลของมัน | |
1:14 | และไม่สามารถทำอะไรกับมันได้ |
จึงได้แต่ล่องลอยไปโดยไร้จุดหมาย | |
1:21 | ผมสงสัยว่า จริงๆ แล้ว |
เราแต่ละคนได้ทำอะไรไปบ้าง | |
1:29 | เกี่ยวกับคำถามเรื่องความกลัว |
1:35 | และการผนึกตัวเราเองเข้ากับเพื่อนของเรา |
1:39 | กับครอบครัว เฟอร์นิเจอร์ |
บ้าน ประเทศ และแนวคิดต่างๆ | |
1:39 | กับครอบครัว เฟอร์นิเจอร์ |
บ้าน ประเทศ และแนวคิดต่างๆ | |
1:45 | หลังจากการพูดสี่ครั้งนี้แล้ว |
1:52 | เราได้จบสิ้นการผนึกตนจริงๆ หรือเปล่า |
2:04 | ฉะนั้น จึงมีอิสรภาพมหาศาล |
2:10 | อิสรภาพที่สมบูรณ์ |
ไม่ใช่โดยการเทียบเคียง | |
2:16 | เมื่อเราถามคำถามเหล่านี้ต่อตัวเราเอง |
2:21 | ไม่ว่าจะถามอย่างผิวเผิน |
ถามในเชิงปัญญาความคิด | |
2:29 | |
2:36 | หรือถามคำถามที่จะส่งผล |
ต่อคุณอย่างลึกซึ้งจริงจังที่สุด | |
2:51 | ผมเกรงว่า วันนี้จะมีเสียงรบกวนมาก |
2:55 | เพราะเป็นวันที่อากาศดีที่จะบินเล่น |
3:07 | เมื่อได้ถามคำถามนี้ต่อตัวเราเอง |
3:12 | และถ้าเราจริงจังอยู่บ้าง |
3:18 | ในการจัดบ้านให้เป็นระเบียบ |
บ้านเรา ซึ่งก็คือตัวคุณ | |
3:38 | เมื่อเราจัดสิ่งต่างๆ ในบ้าน |
ให้เป็นระเบียบ | |
3:43 | เราก็เป็นอิสระ เราก็มีพลังงานมากขึ้น |
3:47 | เมื่อมีความไร้ระเบียบเท่านั้น |
ที่เราสูญเสียพลังงาน | |
3:55 | ระเบียบบ่งบอกว่า เราเข้าใจลึกซึ้งแล้ว |
4:06 | ว่ากระบวนการของความไร้ระเบียบในตัวเรา |
เป็นอย่างไร | |
4:16 | เหตุใดเราจึงอยู่อย่างไร้ระเบียบ |
แม้แต่ในห้องของเราเอง ก็อาจเป็นอย่างนั้น | |
4:25 | หรือในบ้านของเรามีระเบียบ |
4:30 | แต่ในตัวเรานั้น มีความไร้ระเบียบที่ฝังลึก |
มีความไม่แน่นอนอยู่ชั่วกาลนาน | |
4:43 | เหตุใดมนุษย์นั้น |
จึงอยู่ในความไร้ระเบียบเช่นนี้ | |
4:49 | จากวินาทีที่เขาเกิดจนกระทั่งเขาตาย |
เพราะอะไรหรือ | |
4:54 | เหตุใดเราจึงทนอยู่ในสภาพนั้น |
5:06 | ผมสงสัยว่าคุณเคยถามคำถามเหล่านี้ |
ต่อตัวคุณเองบ้างไหม | |
5:13 | และถ้าคุณเคยถาม |
–บางคนอาจเคยถาม– | |
5:17 | เมื่อค้นพบว่า เราอยู่ในความไร้ระเบียบ |
5:23 | เราจึงจัดการให้ทุกอย่างในตัวเรา |
เข้าสู่ระเบียบอย่างเป็นกลไก | |
5:31 | ด้วยเหตุนี้ เราจึงปลูกฝังวินัย |
ในการทำตามแบบแผน | |
5:42 | แบบแผนที่วางไว้เป็นพันปี หรือหมื่นปีมาแล้ว |
5:51 | หรือแบบแผนที่วางไว้โดยคุรุ |
หรือนักบวชบางคน | |
5:55 | หรือผู้ที่ได้ชื่อว่า เชี่ยวชาญทางจิตวิญญาณ |
6:06 | หรือเราพยายามหลีกหนี |
จากความไร้ระเบียบที่มีอยู่ตลอดกาล | |
6:13 | ดูเหมือนเป็นความไร้ระเบียบที่ไม่จบสิ้น |
6:18 | หรือเราพยายามผนึกตน |
เข้ากับสิ่งที่เป็นระเบียบอันสูงสุด | |
6:24 | ซึ่งคือ จักรวาล สรวงสวรรค์ |
หรือเอกภพทั้งหมด | |
6:35 | ผมสงสัยว่า คุณมองอะไรที่ตัวคุณในกระจก |
6:43 | ที่บอกคุณถึงสิ่งที่คุณเป็นอยู่จริงๆ |
อย่างแม่นยำ | |
6:48 | ผมกังขาว่า คุณจะทำอะไร |
เกี่ยวกับความไร้ระเบียบนี้ | |
6:56 | เราตระหนักไหมว่า |
เรามีชีวิตอยู่ในความไร้ระเบียบ | |
7:04 | เราตระหนักไหมว่า |
เรามีชีวิตอยู่ในความเป็นปฏิปักษ์ | |
7:13 | อยู่ในความขัดแย้งเสมอ ระหว่าง |
“สิ่งเป็นอยู่จริง” กับ “สิ่งที่ควรจะเป็น” | |
7:22 | ผมบอกคุณแล้ว ว่าเช้าวันนี้จะยุ่งยาก |
7:36 | ถ้าเราถามคำถามเหล่านี้ต่อตนเอง |
7:46 | คุณพยายามฟัง เพื่อให้ได้คำตอบจากตัวคุณเอง |
7:52 | หรือพยายามฟัง เพื่อให้ได้คำตอบจากผู้อื่น |
8:03 | ผมเกรงว่าเราส่วนใหญ่ |
มีแนวโน้มที่จะค้นหาระเบียบ | |
8:11 | แต่ไม่ทำความเข้าใจความไร้ระเบียบ |
ไม่สืบค้นว่าระเบียบคืออะไร | |
8:21 | เรายอมรับผู้เชี่ยวชาญ |
ผู้มีอำนาจเหนือโดยง่ายดาย | |
8:26 | ยอมรับนักบวช หรือเหล่าคุรุ |
ที่บอกเราว่าระเบียบคืออะไร | |
8:31 | จิตเราจึงยิ่งเป็นกลไก มากขึ้นและมากขึ้น |
8:41 | เพราะเมื่อเรายอมรับแบบแผนของระเบียบ |
8:47 | เหมือนทหารฝึกซ้อมวันแล้ววันเล่า |
เดือนแล้วเดือนเล่า | |
8:55 | ฝึกซ้อม |
จนเสียงกลองลั่นรัวอยู่ในสมองเขา | |
9:05 | เราทำตาม สยบยอม |
เชื่อฟัง ปรับตัวให้เข้ากันได้ | |
9:15 | การปรับตัวตาม การเชื่อฟัง และการสยบยอม |
9:20 | เป็นรากเหง้าของความไร้ระเบียบ ไม่ใช่หรือ |
9:27 | ดังที่เราได้พูดว่า ขออย่าได้ยอมรับอะไร |
9:31 | ที่ผู้พูดกล่าว ไม่ว่าอะไรก็ตาม |
9:37 | ผมหมายความเช่นนั้นจริงๆ |
9:43 | คำถามเหล่านี้ คุณถามตัวคุณเอง |
9:51 | คุณค้นพบด้วยตัวคุณเองไหมว่า |
9:57 | บทบาทการกระทำของเรานั้น |
เป็นกลไกอย่างเหลือเชื่อเพียงใด | |
10:01 | รวมทั้งท่าที ทัศนคติ และ |
ปฏิกิริยาตอบสนองของเรา | |
10:07 | ดังนั้น สมองและการดำรงอยู่ทั้งหมด |
จึงกลายเป็นกิจวัตรที่ซ้ำซากจำเจ | |
10:21 | และกิจวัตรนั้นก่อตัวขึ้นเป็นจิตของเรา |
10:26 | “จิต” ผมหมายถึงสมอง ความคิด |
10:34 | เนื้อหาทั้งหมดของจิตสำนึก |
และประสาทสัมผัส | |
10:39 | ทั้งหมดนั้น ผมหมายถึง สื่อถึงคำว่า “จิต” |
10:47 | คือจิตสำนึก ประสาทสัมผัส |
การเคลื่อนไหวของความคิด | |
10:55 | เนื้อหาของจิตสำนึก – ทั้งหมดนั้นคือจิต |
11:02 | ผมใช้คำว่าจิตในความหมายนั้น |
11:05 | เราอาจจะเปลี่ยนไปใช้คำที่ต่างกันภายหลัง |
หรือพรุ่งนี้ หรือปีหน้า | |
11:13 | แต่ขณะนี้ เราจะใช้คำว่า “จิต” |
เพื่อสื่อถึงทั้งหมดนั้น | |
11:22 | ถ้าคุณสังเกตในกระจก |
11:28 | คุณไม่พบหรือว่าจิตคุณ |
เนื้อหาทั้งหมดนั้น | |
11:36 | ได้กลายเป็นกลไกอย่างไม่น่าเชื่อ |
11:43 | คุณเป็นคริสเตียน |
หรือหากคุณเลิกความเป็นคริสเตียน | |
11:46 | คุณก็ไปขึ้นสังกัดอื่นอีก |
11:49 | หรือถ้าคุณออกจากสังกัดนั้น |
คุณก็ไปสังกัดอย่างอื่นอีก | |
11:54 | หรือคุณทำตามกิจวัตร |
ทำตามวิธีคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง | |
12:01 | ทำไปตามความคิดเห็นของคุณ |
ประสบการณ์ของคุณ | |
12:04 | ซึ่งทำงานอยู่ภายในความจำกัดคับแคบเสมอ |
12:12 | จริงไหม |
12:18 | คุณเคยสังเกตอย่างนั้นไหม |
ว่าจิตคุณเป็นกลไกอัตโนมัติ | |
12:27 | เพราะเรากำลังสืบค้น |
ในเรื่องที่ค่อนข้างยาก | |
12:30 | |
12:33 | ผมไม่ทราบหรอกว่า |
การสืบค้นจะนำพาเราไปไหน | |
12:36 | |
12:38 | มันอาจจะซับซ้อนขึ้นอีกนิด |
จึงต้องให้ความใส่ใจอีกหน่อย | |
12:45 | ลองนึกถึงตอนที่คุณมีลูกเล็กๆ |
12:56 | คุณฟังเสียงร้อง ฟังคำบ่นพึมพำ |
13:07 | คุณห่วงใยจริงๆ คุณจึงฟัง |
13:11 | คุณอาจจะง่วงหลับ |
แต่เมื่อเด็กร้องไห้ คุณก็ตื่นทันที | |
13:16 | คุณจะใส่ใจตลอดเวลา เพราะเด็กเป็นลูกคุณ |
13:21 | คุณต้องใส่ใจ ต้องรัก ต้องโอบกอดเขา |
13:26 | คุณจึงใส่ใจอย่างยิ่ง |
13:29 | แม้คุณหลับอยู่ คุณยังต้องตื่น |
13:35 | แล้วคุณฟังเยี่ยงนั้นได้ไหม |
13:41 | ฟังด้วยคุณสมบัติของความใส่ใจ |
ด้วยความรัก ความห่วงใย แบบเดียวกัน | |
13:49 | ฟังทุกๆ การเคลื่อนไหวของเด็กคนนั้น |
13:54 | คุณทำอย่างนั้นได้ไหม ในการส่องมองที่กระจก |
14:00 | ไม่ใช่ฟังผม |
14:04 | แต่ฟังสิ่งที่กระจก |
ซึ่งคือตัวคุณเอง กำลังบอกคุณ | |
14:11 | ฟังด้วยความรัก ความอาทร |
อันเข้มข้นพิเศษสุดนั้น | |
14:19 | คุณจะทำไหม |
14:23 | เราถามว่า เหตุใดมนุษย์จึงกลายเป็นจักรกล |
14:36 | ความเคยชินที่เป็นจักรกลนั้น |
ก่อให้เกิดความไร้ระเบียบอย่างไม่ต้องสงสัย | |
14:44 | เพราะถ้าคุณทำงาน |
อยู่ในความจำกัดคับแคบตลอดเวลา | |
14:53 | ในความจำกัดแคบนั้น |
พลังงานจะถูกจำกัดเสมอ | |
15:00 | ดังนั้น จึงเกิดการดิ้นรนเพื่อฝ่าออกไป |
15:04 | ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของความขัดแย้ง |
15:08 | คุณเข้าใจไหม |
15:14 | ไม่ใช่เข้าใจผม แต่เข้าใจสิ่งที่กระจกบอกคุณ |
15:19 | ที่นี่ ไม่มีผู้พูด |
15:24 | ดังนั้น คุณสังเกตด้วยความรัก |
ความห่วงใยนั้น ได้ไหม | |
15:34 | ซึ่งนั่นเป็นความรักความอาทรอันยิ่งใหญ่ |
รักในสิ่งที่คุณจะฟัง | |
15:39 | |
15:44 | เราพูดถึงความไร้ระเบียบ |
15:49 | เรามีชีวิตอยู่ในความไร้ระเบียบ |
จากความเคยชิน จากความเชื่อ | |
15:55 | จากข้อสรุป และความคิดเห็นต่างๆ |
15:59 | นี่เป็นแบบแผนที่เรามีชีวิตอยู่ |
16:04 | ซึ่งโดยธรรมชาติ เมื่อถูกจำกัด |
ย่อมก่อให้เกิดความไร้ระเบียบ | |
16:14 | เมื่อเราอยู่ในความไร้ระเบียบ |
การแสวงหาระเบียบจึงผิดอย่างเห็นได้ชัด | |
16:21 | เพราะจิตที่สับสน ไม่ชัดเจน |
แล้วแสวงหาสิ่งที่เป็นระเบียบ | |
16:29 | ระเบียบนั้นก็จะสับสน และไม่แน่นอนเช่นกัน |
16:34 | นั่นชัดเจน |
16:35 | แต่เมื่อคุณมองเข้าไปในความไร้ระเบียบ |
16:45 | ถ้าคุณเข้าใจความไร้ระเบียบที่คุณมีชีวิตอยู่ |
16:49 | เข้าใจต้นเหตุและกระบวนการ |
ของความไร้ระเบียบ | |
16:57 | ในการทำความเข้าใจมัน |
จากความเข้าใจนั้น ระเบียบอุบัติขึ้น | |
17:02 | เป็นธรรมชาติ ง่ายดาย และมีความสุข |
ไม่มีการบังคับ ไม่มีการควบคุมใดๆ | |
17:05 | |
17:09 | คุณเข้าใจที่ผมพูด ใช่ไหม |
17:12 | นี่คือสิ่งที่กระจกบอกคุณ |
17:17 | ว่าการเข้าใจนั้น ไม่ใช่เข้าใจในระดับถ้อยคำ |
ระดับปัญญานึกคิด หรืออารมณ์ | |
17:28 | แต่เข้าใจการเคลื่อนไหวของ |
ความไร้ระเบียบในตัวเรา | |
17:35 | เข้าใจว่า เหตุใด |
ความไร้ระเบียบนี้จึงเกิดขึ้น | |
17:39 | คุณจะค้นพบต้นเหตุได้ทันที |
ถ้าคุณให้ความใส่ใจ | |
17:47 | ความใส่ใจเหมือนที่คุณให้ |
แก่เด็กเล็กๆ ที่ไร้การปกป้อง | |
17:59 | นั่นคือ มีการหยั่งเห็นเข้าสู่ความไร้ระเบียบ |
18:09 | แล้วอะไรคือ รากเหง้าของความไร้ระเบียบ |
18:17 | รากเหง้าของมัน |
18:19 | ความไร้ระเบียบมีหลายสาเหตุ |
18:23 | จากการเปรียบเทียบ |
เปรียบเทียบตัวเรากับคนอื่น | |
18:29 | เปรียบเทียบตนเอง |
กับสิ่งที่เขาหรือเธอคิดว่าควรจะเป็น | |
18:36 | การเลียนแบบอย่าง |
18:45 | แบบอย่างใครบางคนที่เป็นนักบุญ |
18:48 | คุณก็รู้เรื่องเหล่านั้น |
ผมไม่ต้องสาธยายเรื่องเหลวไหล | |
18:52 | หรือการทำตัวให้สอดคล้อง |
18:57 | การทำตัวให้สอดคล้อง |
การเลียนแบบ หรือปรับตัวตาม | |
19:03 | สิ่งที่คุณคิดว่าเหนือกว่าสิ่งที่เป็นอยู่ |
19:13 | ใช่ไหม |
19:17 | ดังนั้น จึงเกิดความขัดแย้งเสมอระหว่าง |
“สิ่งที่เป็นอยู่” กับ “สิ่งที่ควรจะเป็น” | |
19:23 | |
19:26 | ซึ่งคือการเปรียบเทียบ |
เป็นกระบวนการของความคิด | |
19:33 | “ฉันเคยเป็นอย่างนี้” หรือ “ฉันเคยมีความสุข” |
19:38 | แล้วสักวันหนึ่ง “ฉันจะมีความสุขอีก” |
19:42 | มีการเทียบวัดอย่างต่อเนื่อง |
ระหว่าง “สิ่งที่เคยเป็นมา” | |
19:50 | หรือ “สิ่งที่เป็นอยู่” กับ “สิ่งที่ควรจะเป็น” |
19:52 | การประเมินค่าตลอดเวลานี้เอง |
นำมาซึ่งความขัดแย้ง | |
20:00 | นี่คือ เหตุผลขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง |
ของความไร้ระเบียบ | |
20:07 | ใช่ไหม |
20:09 | และอีกเหตุหนึ่งคือ เราปฏิบัติการจากอดีต |
20:22 | แล้วความรักเป็นกระบวนการของเวลา |
20:33 | ของความคิด ของความทรงจำหรือ |
20:42 | คุณเข้าใจคำถามของผมหรือเปล่า |
20:44 | คำถามนี้กระจกถามคุณ |
20:48 | กระจกที่คุณกำลังมองดูอยู่ |
20:54 | ความรักนี้ |
สิ่งที่เรียกกันว่า “ความรัก” ไม่ใช่หรือ | |
21:01 | ที่ก่อให้เกิดความไร้ระเบียบอย่างมหันต์ |
ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ | |
21:14 | มองดูด้วยตัวคุณเอง |
21:25 | อะไรคือรากเหง้าของความไร้ระเบียบ |
21:29 | เราเห็นเหตุของมัน และยังมีเหตุอื่นอีก |
แต่นั่นไม่สำคัญ | |
21:37 | ในการตรวจสอบว่า รากเหง้าของมันคืออะไร |
อย่าได้วิเคราะห์ | |
21:41 | –เราผ่านเรื่องนั้นมาแล้ว– |
แค่มองดูมัน | |
21:49 | ถ้าคุณมองดูโดยปราศจากการวิเคราะห์ |
คุณก็หยั่งเห็นมันทันที | |
21:58 | แต่ถ้าคุณพูดว่า "ฉันจะตรวจสอบ |
ฉันจะพิจารณาเหตุผล" | |
22:02 | จากภายนอก เราวิเคราะห์ |
พิสูจน์ และพิจารณาโดยใช้เหตุผล | |
22:17 | ซึ่งก็ยังเป็นการเคลื่อนไหวของความคิด |
22:43 | แต่หากคุณสังเกตด้วยความรักความห่วงใย |
22:56 | ความใส่ใจอันลึกซึ้ง |
23:02 | ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความอ่อนโยน |
และความรักความอาทรมหาศาล | |
23:07 | แล้วคุณจะเกิดการหยั่งเห็น |
23:11 | เราถามว่า อะไรคือรากเหง้า |
ของความไร้ระเบียบ | |
23:18 | ขอให้ค้นหาต่อไป |
23:21 | อะไรคือรากเหง้าของความไร้ระเบียบ |
23:26 | ไร้ระเบียบภายใน |
ฉะนั้นจึงไร้ระเบียบภายนอกด้วย | |
23:30 | คุณเห็นได้ว่าโลกอยู่ในความไร้ระเบียบ |
น่าสยดสยอง | |
23:36 | ความไร้ระเบียบสร้างความเจ็บปวดอย่างยิ่ง |
ผู้คนเข่นฆ่ากัน | |
23:46 | ผู้ที่ไม่เห็นด้วยจะถูกทรมาน ถูกกักขัง |
คุณเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ไหม | |
23:50 | |
23:52 | เราทนดูสิ่งเหล่านี้ เพราะจิตใจเรายอมรับมัน |
24:00 | เราพยายามเปลี่ยนแปลง |
ตรงนั้นตรงนี้บ้าง เล็กๆ น้อยๆ | |
24:09 | อะไรคือรากเหง้าของความไร้ระเบียบ |
24:16 | คุณต้องพิจารณาในคำถามนี้ ซึ่งหมายถึง |
24:20 | อะไรคือจิตสำนึกของเรา |
24:26 | คุณเข้าใจไหม จิตสำนึกของคุณคืออะไร |
24:30 | เมื่อคุณมองดูตัวคุณเอง |
ในกระจกที่ไม่บิดเบือน | |
24:38 | จิตสำนึกของคุณคืออะไร |
24:42 | นั่นอาจจะเป็นปัจจัยสำคัญ |
ของความไร้ระเบียบ | |
24:54 | เราจึงต้องสืบค้นด้วยกัน |
ว่าจิตสำนึกของเราคืออะไร | |
25:07 | จิตสำนึกนั้นเป็นสิ่งมีชีวิต สิ่งที่เคลื่อนไหว |
25:16 | มันทำงานตลอดเวลา |
ไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่ง ถูกปิด ถูกกักขัง | |
25:25 | มันไม่เป็นอย่างนั้น |
มันเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา | |
25:29 | แต่เปลี่ยนแปลง ภายในขอบเขตที่เล็กและจำกัด |
25:37 | ก็เหมือนกับคนที่คิดว่า เขากำลังเปลี่ยนแปลง |
25:40 | เมื่อเขาเปลี่ยนเล็กๆ น้อยๆ ในมุมหนึ่ง |
25:43 | แต่ในส่วนอื่นๆ ของขอบเขต |
เขาไม่ได้เปลี่ยนแปลงใหม่ | |
25:47 | เราจึงต้องเข้าใจธรรมชาติ |
และโครงสร้างของจิตสำนึก | |
25:57 | เราทำความเข้าใจเพื่อค้นให้พบว่า |
นั่นคือรากเหง้าของความไร้ระเบียบ หรือเปล่า | |
26:06 | มันอาจจะไม่ใช่ เราจะค้นให้พบ |
26:12 | จิตสำนึกของเราคืออะไร |
26:21 | มันไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง |
ที่ความคิดรวบรวมขึ้นหรือ | |
26:39 | รูปลักษณ์ ร่างกาย ชื่อ ประสาทสัมผัส |
26:46 | ซึ่งความคิดได้ผนึกตัวมัน |
เข้าไปรวมเป็นหนึ่งเดียว | |
26:49 | ทั้งความเชื่อ ความเจ็บปวด ความทรมาน |
ความปวดร้าวแสนสาหัส | |
26:53 | ความไม่สะดวกสบาย ความหดหู่ซึมเศร้า |
ความตื่นเต้นดีใจ | |
26:57 | ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล |
ความกลัว ความสุขเพลิดเพลิน | |
27:02 | ประเทศของฉันและประเทศของคุณ |
ฉันเชื่อในพระเจ้า ฉันไม่เชื่อในพระเจ้า | |
27:06 | พระเยซูสำคัญสูงสุด พระกฤษณะสำคัญยิ่งกว่า |
27:10 | และอื่นๆ มากมายไม่สิ้นสุด |
27:13 | ทั้งหมดนั้นไม่ใช่จิตสำนึกของคุณหรือ |
27:29 | คุณยังเพิ่มรายละเอียดได้อีกมากมาย |
27:38 | “ฉันผิวสีเข้ม ฉันปรารถนาที่จะขาวกว่านี้” |
27:43 | “ฉันผิวดำ แต่ผิวดำสวยดี” และอื่นๆ ไม่จบสิ้น |
27:53 | ทั้งอดีต จารีต และสิ่งที่สืบทอดกันมา |
27:59 | จารีตทั้งหมดของมนุษยชาติ |
แท้จริงแล้วอยู่บนพื้นฐานนี้ | |
28:08 | ตำนานปรัมปรา ทั้งหมดนั้น |
คือเนื้อหาของจิตสำนึก | |
28:15 | ถ้าคุณเกิดในอินเดียหรือในแอฟริกา |
28:20 | ที่นั่น การเป็นคริสเตียนไม่เป็นที่นิยม |
28:25 | เขามีพระเจ้าของเขาเอง |
มีสัญลักษณ์ และมีรูปบูชาของเขาเอง | |
28:27 | |
28:30 | นั่นเป็นส่วนหนึ่งของจิตสำนึกของเขา |
เหมือนที่คุณมีที่นี่ | |
28:34 | เพียงแต่เขาเรียกมันด้วยชื่อที่ต่างกัน |
28:36 | แท้จริงแล้ว มันเป็นแบบแผนเดียวกัน |
28:40 | ใช่ไหม |
28:46 | ตราบใดที่เรายังไม่ตระหนักรู้ |
28:50 | ถึงเนื้อหาของจิตสำนึก แล้วกระทำ |
28:56 | การกระทำนั้นย่อมต้องจำกัด |
ฉะนั้นจึงไร้ระเบียบ | |
29:09 | คุณเข้าใจไหม |
29:10 | การเคลื่อนไหวของความคิด |
ต้องก่อให้เกิดความไร้ระเบียบ | |
29:20 | จนกว่าความคิดจะรู้ชัด ถึงบทบาท |
ที่เหมาะสมของมัน ซึ่งคือความรู้ | |
29:30 | ความรู้นั้นจำกัด ฉะนั้น |
มันจึงมีบทบาทที่เหมาะสมของมัน | |
29:35 | นั่นชัดเจน เราได้พิจารณาเรื่องนี้แล้ว |
ผมจะไม่พูดซ้ำอีก | |
29:41 | ความคิดเกิดจากเมื่อวาน |
หรือหมื่นล้านวันวาน | |
29:53 | มันจึงจำกัด |
29:55 | เนื้อหาของจิตสำนึกจึงถูกจำกัดด้วย |
30:01 | แม้ความคิดจะบอกว่า |
30:06 | จิตสำนึกนี้ไม่จำกัด |
เพราะมีจิตสำนึกที่สูงกว่า | |
30:10 | แต่นั่นก็ยังเป็นรูปแบบหนึ่งของจิตสำนึก |
30:14 | คุณตามทันไหม |
30:16 | การที่ความคิดไม่รู้บทบาทที่เหมาะสมของมัน |
30:24 | เป็นปัจจัยสำคัญของความไร้ระเบียบ |
30:31 | ใช่ไหม |
30:34 | คุณเข้าใจใช่ไหม |
30:35 | นี่ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝัน |
คลุมเครือ หรือไร้สาระ | |
30:40 | แต่คุณเห็นได้ด้วยตัวคุณเอง |
ถ้าคุณมีตรรกะ มีเหตุผล ชัดเจน | |
30:48 | ว่าความคิดซึ่งเป็นสิ่งจำกัด |
ย่อมต้องทำให้เกิดความไร้ระเบียบ | |
30:54 | เหมือนกับคนที่พูดว่า “ฉันเป็นชาวยิว” |
หรือ “ฉันเป็นชาวอาหรับ” หรือเป็นชาวจีน | |
31:00 | เขาถูกจำกัด ฉะนั้นจึงปิดกั้นตนเอง |
จึงมีการต่อต้าน | |
31:05 | สงครามและความทุกข์ยากจึงตามมา |
31:10 | ใช่ไหม |
31:12 | คุณมองเห็นความเป็นจริงนี้จริงๆ ไหม |
31:18 | ไม่ใช่เห็นแค่เป็นแนวคิด |
เป็นสิ่งที่ใครบางคนบอกคุณ | |
31:23 | แต่เห็นด้วยตัวคุณเอง เหมือนที่ |
คุณได้ยินเสียงร้องของลูกน้อย | |
31:33 | แล้วคุณเคลื่อนไหว คุณลุกขึ้นมา |
31:43 | นั่นแหละ |
31:46 | ส่วนหนึ่งของชีวิตที่เป็นกลไกของเรา |
31:52 | เกิดจากจิตสำนึกที่จำกัดนี้ |
32:00 | จริงไหม |
32:02 | ดังนั้น เป็นไปได้ไหม |
ที่เราจะไม่แผ่ขยายจิตสำนึก | |
32:16 | คุณเข้าใจความหมายไหม |
32:18 | การแผ่ขยาย การทำให้มันเติบใหญ่ขึ้น |
หรือเพิ่มเติมสารพัดสิ่งเข้าไป | |
32:27 | เพิ่มความรู้ เพิ่มประสบการณ์ |
หรือเคลื่อนจากมุมหนึ่งไปอีกมุม | |
32:34 | พยายามที่จะขยายมัน ต่อเติมมัน |
32:40 | มีสำนักต่างๆ ทำอย่างนั้น |
32:43 | โดยการฝึกปฏิบัติ โดยใช้ระเบียบวินัย |
เพื่อควบคุม และอื่นๆ | |
33:02 | เมื่อคุณพยายาม แผ่ขยายจิตสำนึก |
33:09 | ก็จะมีศูนย์กลางเพื่อการเทียบวัด |
33:15 | คุณเข้าใจใช่ไหม |
33:18 | เมื่อคุณพยายามขยายอะไรก็ตาม |
เช่น ต่อเติมขยายบ้าน | |
33:25 | จากรากฐานเล็กหรือใหญ่ |
33:29 | คุณต่อเติมขยายมัน |
มีศูนย์กลางจากที่คุณขยายมันออกไป | |
33:32 | ในทำนองเดียวกัน มีศูนย์กลาง |
จากที่คุณพูดว่า “ฉันกำลังแผ่ขยาย” | |
33:40 | ซึ่งเป็นการเทียบวัด |
33:42 | ถ้าคุณไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร |
แต่ให้มองดูตัวคุณเอง | |
33:45 | คุณไม่ได้พยายามแผ่ขยาย |
จิตสำนึกของคุณอยู่หรือ | |
33:48 | คุณอาจจะไม่ได้ใช้คำว่าแผ่ขยาย |
33:51 | คุณอาจจะบอกว่า |
“ฉันแค่พยายามที่จะดีกว่านี้” | |
33:53 | “ฉันพยายามจะเป็นอย่างนี้หรืออย่างนั้น” |
หรือประสบความสำเร็จให้มากขึ้น | |
33:59 | ตราบเท่าที่มีศูนย์กลางที่กระทำออกไป |
34:07 | ต้องมีความไร้ระเบียบ |
34:36 | แล้วปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ |
เป็นไปได้หรือที่จะกระทำ | |
34:43 | ที่จะดำเนินชีวิตอย่างเป็นธรรมชาติ |
มีความสุข โดยปราศจากศูนย์กลาง | |
34:50 | ปราศจากเนื้อหาของจิตสำนึก |
34:55 | คุณเข้าใจคำถามเหล่านี้ไหม |
34:58 | เราถามคำถามที่เป็นพื้นฐาน |
35:03 | คุณอาจจะยังไม่คุ้นเคยกับคำถามเช่นนี้ |
35:07 | เราส่วนใหญ่ถามคำถามแบบขี้เกียจ เฉื่อยชา |
35:11 | ไม่แยแส แล้วเคลื่อนออกไป |
35:15 | แต่เราถามคำถามที่คุณต้องตอบ |
35:18 | คุณต้องค้นหาคำตอบ สืบค้น |
เพื่อให้พบคำตอบด้วยตัวคุณเอง | |
35:25 | ว่าเป็นไปได้ไหมที่จะกระทำ |
ดำเนินชีวิตแต่ละวัน โดยไร้ศูนย์กลาง | |
35:37 | ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของความไร้ระเบียบ |
35:44 | นั่นคือ ในความสัมพันธ์ของคุณกับผู้อื่น |
ไม่ว่าจะสนิทสนมใกล้ชิดเพียงใด | |
35:51 | ถ้าคุณสนใจแต่ตัวคุณเองตลอดเวลา |
35:56 | สนใจความทะยานอยาก บุคลิกลักษณะ |
ความสวยงาม ความคุ้นชินต่างๆ ของคุณ | |
36:01 | คุณเป็นเช่นนั้นในความสัมพันธ์กับคนอื่น |
36:04 | ส่วนคนอื่นก็ทำเหมือนกัน |
36:07 | จึงเป็นธรรมดาที่จะเกิดความขัดแย้ง |
ซึ่งเป็นความไร้ระเบียบ | |
36:16 | แล้วเป็นไปได้ไหม ที่จะไม่กระทำ |
ไม่เคลื่อนไหวจากศูนย์กลาง | |
36:29 | เราได้สืบค้นแล้วว่า ศูนย์กลางคืออะไร |
36:32 | ศูนย์กลางคือจิตสำนึก พร้อมด้วยเนื้อหาของมัน |
36:38 | เนื้อหาคือสิ่งทั้งปวง ที่ความคิดประกอบกันขึ้น |
36:45 | ด้วยความรู้สึกทางประสาทสัมผัส |
ความอยาก ความกลัว และอื่นๆ | |
36:54 | จริงไหม |
37:00 | แล้วอะไรที่เป็นการกระทำ |
37:05 | ที่ไม่มีความขัดแย้งอยู่ในนั้น |
37:14 | ไม่มีความเสียใจ |
ไม่มีรางวัลตอบแทน ไม่มีโทษ | |
37:24 | ฉะนั้น เป็นการกระทำที่เป็นทั้งหมด |
37:29 | คุณเข้าใจไหม |
37:31 | เรากำลังจะค้นหาความจริง |
37:35 | เราร่วมกันค้นหา |
ไม่ใช่ผมค้นพบคำตอบ แล้วบอกคุณ | |
37:40 | แต่เราจะค้นหาไปด้วยกัน |
37:45 | ระลึกไว้ด้วยว่า ไม่มีผู้พูด |
37:47 | มีเพียงกระจก ที่คุณกำลังส่องดูเท่านั้น |
37:53 | เพื่อทำความเข้าใจ คุณต้องค้นในคำถาม |
ว่าความรักคืออะไร | |
38:06 | เพราะถ้าเราค้นพบความจริงนี้ได้ |
38:10 | การค้นพบนั้นอาจสลายศูนย์กลางได้หมดจด |
38:18 | นำมาซึ่งการกระทำที่บริสุทธิ์ ศักดิ์สิทธิ์ |
38:26 | เราจึงต้องสืบค้นเรื่องนี้ |
ด้วยความระมัดระวัง เอาใจใส่อย่างยิ่ง | |
38:30 | ถ้าคุณเต็มใจ |
38:33 | หมายถึงคุณเต็มใจที่จะฟัง |
38:45 | แน่นอน คุณมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความรัก |
38:49 | คุณมีข้อสรุปของคุณเกี่ยวกับความรัก |
38:51 | คุณพูดว่า “เป็นไปไม่ได้ที่จะมีความรัก |
โดยไม่มีความอิจฉาริษยา” | |
38:55 | “ความรักมีอยู่เมื่อมีกามารมณ์เท่านั้น” |
39:00 | “ความรักมีอยู่ |
เมื่อคุณรักเพื่อนบ้านทั้งหมดเท่านั้น... | |
39:04 | ...รักสัตว์” และอื่นๆ |
39:09 | คุณมีกรอบความคิด มีแนวคิดและ |
บทสรุปไว้แล้วว่า ความรักคืออะไร | |
39:19 | ซึ่งถ้าคุณมี |
มันก็เป็นไปไม่ได้ที่คุณจะสืบค้น | |
39:27 | จริงไหม |
39:28 | ถ้าคุณบอกว่า “เป็นอย่างนั้นจริง” คุณก็จบเลย |
39:34 | มันก็เหมือนเหล่าคุรุ ที่บอกว่า |
“ฉันรู้ ฉันเข้าถึงการตื่นรู้แล้ว” | |
39:38 | แล้วคุณก็เชื่อตามง่ายๆ |
39:46 | คุณไม่เคยตั้งคำถามกังขาเขา |
39:53 | ที่นี่เรา... |
39:56 | ไม่มีผู้รู้ ไม่มีผู้พูด |
40:01 | แต่เราถามคำถามที่จริงจังจริงๆ |
40:05 | ซึ่งอาจจะแก้ปัญหาความขัดแย้ง การควบคุม |
40:11 | การต่อสู้ที่ไม่สิ้นสุด ระหว่างตัวเราและผู้อื่น |
40:18 | การที่จะค้นให้พบ |
เราต้องค้นลึกลงไปอย่างยิ่ง | |
40:23 | ค้นเข้าสู่คำถาม ว่าความรักคืออะไร |
40:28 | ผมกำลังพูดถึงความรัก ไม่ใช่ความเมตตาการุญ |
40:34 | อย่าเอาคำอื่นเข้ามา จะทำให้สับสน |
40:39 | เราเพียงพูดกันว่า |
สิ่งที่มนุษย์เรียกว่า “ความรัก” คืออะไร | |
40:46 | รักสัตว์ของพวกเขา รักสัตว์เลี้ยง รักสวน |
40:52 | รักบ้าน รักเฟอร์นิเจอร์ รักลูกชายหญิงของเขา |
40:59 | รักพระเจ้า รักประเทศชาติ |
41:04 | สิ่งที่เรียกว่า “ความรัก” นี้ |
ถูกยัดเยียดความหมาย | |
41:10 | ถูกเหยียบย่ำ บดขยี้ |
41:15 | เราจึงต้องค้นให้พบ ว่าแท้จริงแล้วมันคืออะไร |
41:23 | อย่าเพิ่งหลับ อย่าจดบันทึก |
41:31 | ผมเชื่อว่า จะมีแถบเสียงคาสเซ็ท |
41:33 | ที่คุณจะฟังได้ภายหลัง ถ้าคุณต้องการ |
41:36 | แต่การจดบันทึก |
ในขณะที่ลูกน้อยกำลังส่งเสียงร้อง | |
41:45 | นั่นเป็นการเปรียบเทียบที่ดี คุณจะเข้าใจเลย |
41:52 | คุณพูดว่า “ทำไมลูกร้องไห้” |
จดให้หมดอย่างเอาใจใส่ | |
42:11 | ดังนั้น ขอให้ใส่ใจสักนิด ใส่ใจที่จะฟัง |
42:20 | ซึ่งหมายถึง ศิลปะในการฟัง |
42:27 | เวลาที่ลูกคุณส่งเสียงร้อง |
คุณฟังด้วยความสามารถทั้งหมด | |
42:35 | ศิลปะในการฟัง หมายถึง |
42:40 | คำว่า “ศิลปะ” บ่งบอกถึง การจัดทุกสิ่ง |
ทุกอย่างไว้ในที่ทางที่ถูกต้องของมัน | |
42:48 | ถ้าคุณเข้าใจความหมายของคำนี้จริงๆ |
42:55 | นั่นคือศิลปะที่แท้จริง |
ไม่ใช่การวาดภาพ หรืออะไรพวกนั้น | |
43:00 | เหล่านั้นเป็นเรื่องรอง หรือเรื่องอันดับสาม |
43:03 | แต่ศิลปะในการจัดแจงชีวิตคุณ |
ให้อยู่ในที่ทางในบทบาทที่เหมาะสม | |
43:14 | คือการมีชีวิตอยู่อย่างกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว |
43:16 | เมื่อคุณจัดทุกสิ่งทุกอย่างในตัวคุณ |
ไว้ในที่ถูกที่ควร | |
43:21 | คุณก็เป็นอิสระ |
43:25 | การจัดทุกสิ่งทุกอย่างในที่ถูกที่ควร |
เป็นส่วนหนึ่งของสติปัญญา | |
43:33 | |
43:35 | แล้วคุณจะถามว่า “คุณหมายความว่าอย่างไร” |
คุณให้ความหมายใหม่แก่คำว่า “สติปัญญา” | |
43:40 | เราต้องทำเช่นนี้ |
43:43 | สติปัญญาแสดงถึง |
การทำความเข้าใจความหมายที่แฝงอยู่ | |
43:49 | แฝงอยู่เบื้องหลังถ้อยคำ |
ความเงียบ คำกล่าว | |
43:53 | คือการฟัง |
43:58 | ดังนั้น จิตคุณจึงตื่นอยู่ตลอดเวลาที่จะฟัง |
44:06 | คุณไม่เพียงฟังด้วยหูเท่านั้น |
44:10 | แต่ฟังโดยไม่ใช้หูด้วย |
44:18 | เราถามว่า อะไรคือความหมาย |
และความงามของความรัก | |
44:27 | ถ้าความรักมีความงาม |
44:36 | ผมมีความคิดหนึ่ง |
44:42 | ไม่ใช่ความคิด... |
44:45 | คุณเคยพิจารณาไหม ว่าความงามคืออะไร |
44:56 | ความงามหมายถึงอะไร |
45:03 | มันเชื่อมโยงกับความอยากไหม |
45:07 | อย่าปฏิเสธมัน มองดูมัน ใส่ใจฟัง ค้นหาดู |
45:13 | ความงามเป็นส่วนหนึ่งของความอยากหรือ |
45:23 | ความงามเป็นส่วนหนึ่งของประสาทสัมผัสหรือ |
45:29 | คุณเห็นสิ่งก่อสร้างอันอัศจรรย์ |
45:31 | วิหารพาร์เธนอน สิ่งก่อสร้างของกรีก |
หรืออียิปต์โบราณ | |
45:35 | หรือโบสถ์ มหาวิหารอันวิจิตรพิสดาร |
45:43 | ประสาทสัมผัสของคุณถูกปลุก |
ให้ตื่นขึ้น ด้วยความงามนั้น | |
45:48 | ความงามเป็นส่วนหนึ่งของสิ่งนี้หรือ |
45:55 | ความงามอยู่ที่ใบหน้า สีผิว ทรวดทรงหรือ |
46:01 | อยู่ที่โครงสร้างของใบหน้า |
ประกายตาแจ่มชัดหรือ | |
46:04 | อยู่ที่ผิวขาวเนียนละออ อยู่ที่การแสดงออก |
ลักษณะท่าทางของชายหญิงหรือ | |
46:12 | คุณเข้าใจคำถามทั้งหมดนี้ไหม |
46:17 | หรือความงามมีคุณสมบัติอื่น |
ที่เหนือพ้นไปจากความงามทั้งหมดนี้ | |
46:32 | เมื่อความงามนั้นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต |
46:43 | แล้วรูปลักษณ์ หน้าตา ทุกสิ่งทุกอย่าง |
ก็จะมีที่ทางที่เหมาะสมของมัน | |
46:48 | แต่ถ้ายังจับความหมายไม่ได้ |
หรือยังไม่เข้าใจ สิ่งที่แสดงออกภายนอก | |
46:51 | |
46:55 | สิ่งภายนอกก็กลายเป็นสิ่งสำคัญไปทั้งหมด |
46:57 | เรากำลังค้นหา ว่าความงามคืออะไร |
47:08 | เมื่อเรามองเห็นบางสิ่งบางอย่าง |
47:11 | เห็นขุนเขามหัศจรรย์ |
ทาบกับท้องฟ้าสีครามน่าพิศวง | |
47:17 | หิมะขาวสว่างโพลน ใสสะอาด ไร้มลพิษ |
47:24 | ความตระหง่านน่าเกรงขามของมัน |
ขับไสความคิด | |
47:29 | ความห่วงใยและปัญหาทั้งหมดของคุณออกไป |
47:32 | คุณเคยสังเกตไหม |
เมื่อคุณพูดว่า “มันช่างสวยงาม” | |
47:36 | แล้วบางทีชั่วสองวินาที หรืออาจจะหนึ่งนาที |
47:39 | ที่คุณเงียบถึงที่สุด |
47:44 | คุณไม่เคยสังเกตหรือ ว่านั่นหมายถึงอะไร |
47:50 | ชั่ววินาทีที่ความยิ่งใหญ่ของมัน |
47:55 | ขับไสความใจแคบของเราออกไป |
48:00 | ความยิ่งใหญ่นั้นยึดครองเรา |
48:10 | คุณเข้าใจที่พูดนี้ไหม |
48:13 | เหมือนเด็กเล็ก |
ที่ได้ของเล่นที่ซับซ้อน เข้าใจยาก | |
48:19 | เขาจะหมกมุ่นอยู่กับมันเป็นชั่วโมง |
48:23 | เขาไม่พูดไม่จา ไม่ส่งเสียงเลย |
48:26 | เขาจดจ่อจมอยู่ในนั้น |
48:30 | ซึ่งหมายถึง ของเล่นดึงดูดเขาไว้ |
48:36 | คุณตามทันไหม ผมเริ่มเหนื่อยแล้ว |
48:40 | เข้าใจไหม |
48:45 | ก็เหมือนกับที่ภูเขาดึงดูดคุณ |
48:51 | ฉะนั้น ชั่ววินาทีหรือนาทีนั้น |
คุณเงียบอย่างถึงที่สุด | |
48:59 | ซึ่งหมายถึงไม่มีตัวตน |
49:07 | แล้วโดยไม่ถูกดึงดูดด้วยสิ่งใด |
49:13 | ไม่ว่าจะของเล่น ขุนเขา หรือใบหน้า |
49:16 | หรือแนวคิด หรือนั่นนี่ |
49:22 | แต่อยู่ในตัวเราเองโดยสมบูรณ์ |
โดยปราศจาก “ความเป็นฉัน” | |
49:29 | นั่นเป็นแก่นแท้ของความงาม |
คุณเข้าใจทั้งหมดนี้หรือเปล่า | |
49:38 | เรากำลังจะค้นหากัน ว่าความรักคืออะไร |
49:44 | เพราะถ้าหากเราค้นพบ |
ชีวิตเราอาจจะแตกต่างไปโดยสิ้นเชิง | |
49:52 | เราจะมีชีวิตอยู่โดยไม่มีความขัดแย้ง |
ไม่มีการควบคุม | |
49:59 | ไม่มีความพยายามรูปแบบใดๆ |
50:07 | เรากำลังจะค้นหา |
50:15 | ก่อนอื่น ดังที่พูดกันเมื่อวันก่อน |
50:19 | ว่ามีการกระทำเชิงบวก |
ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่กระทำ | |
50:28 | ผมได้ถามค้นเรื่องนั้นแล้ว ผมต้องทำอีกไหม |
50:39 | ในการกระทำเชิงบวก |
มีการทำบางอย่างเกี่ยวกับมัน | |
50:48 | มีการควบคุม กดข่ม |
พยายาม ครอบงำ หลีกเลี่ยง | |
50:56 | อธิบาย หาเหตุผล |
50:59 | ในกระบวนการวิเคราะห์ การหาเหตุผล |
51:05 | มีการกระทำ ที่ถือว่าเป็นเชิงบวก |
51:11 | มีการทำบางอย่างเกี่ยวกับมัน |
51:18 | และเราพูดว่า มีการกระทำ...ที่ไม่มีการกระทำ |
51:25 | ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำเชิงบวก |
ไม่ใช่ขั้วตรงข้ามของมัน | |
51:28 | |
51:31 | คือการสังเกต โดยปราศจากการกระทำ |
51:38 | แล้วในการสังเกตนั้นเอง |
ดังที่เราชี้ให้เห็นว่า | |
51:41 | นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง |
อย่างถอนรากถอนโคน ในสิ่งที่ถูกสังเกต | |
51:47 | ซึ่งเป็นการไม่กระทำ คุณเข้าใจใช่ไหม |
51:53 | เข้าใจสักเล็กน้อยไหม |
ไม่เป็นไร มันเป็นชีวิตคุณ | |
51:58 | เราเคยชินกับการทำในเชิงบวก จริงไหม |
52:01 | “ฉันต้องทำ” “ฉันต้องไม่ทำ” |
“นี่คือสิ่งที่ถูก” | |
52:04 | “นี่คือสิ่งผิด” |
“นี่ถูกต้อง” “ควรเป็นอย่างนี้” | |
52:06 | “ต้องไม่เป็นอย่างนี้” |
“ฉันจะกดข่ม” “ฉันจะควบคุม” | |
52:11 | ทั้งหมดนี้เสริมสร้าง “ความเป็นฉัน” |
ให้มีพลังมากขึ้น | |
52:16 | ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของความไร้ระเบียบ |
และความขัดแย้ง | |
52:24 | ถ้าคุณเห็นเช่นนั้น ไม่ใช่เห็นทางถ้อยคำ |
ทางปัญญานึกคิด หรือเห็นด้วยตา | |
52:32 | แต่เห็นความจริงในเรื่องนี้จริงๆ |
52:35 | จึงไม่มีการกระทำ |
ในสภาวะนั้นไม่มีความพยายาม | |
52:42 | ตัวการสังเกตนั่นเอง |
ที่เปลี่ยนแปลงสิ่งที่ถูกสังเกต | |
52:49 | กี่โมงแล้ว |
52:57 | 11 โมง 25 นาที |
53:10 | เรากำลังถามว่า ความรักคืออะไร |
53:15 | และเราก็พูดว่า เรามีความคิดเห็น |
หลากหลายเกี่ยวกับความรัก | |
53:22 | ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ |
ของคุรุ ของนักบวช | |
53:33 | ภรรยาของคุณหรือแฟนสาวของคุณ |
พูดว่า “นี่คือความรัก” | |
53:38 | หรือคุณก็พูดว่า “นี่คือความรัก” |
53:42 | หรือคุณบอกว่า มันเกี่ยวข้อง |
กับกามารมณ์ เป็นเช่นนั้นไหม | |
53:50 | ความรักเกี่ยวข้องกับประสาทสัมผัสหรือ |
53:57 | และจากประสาทสัมผัส |
ความอยากก็เกิดขึ้น คุณตามทันไหม | |
54:07 | ความอยากเป็นกระบวนการ |
กระบวนการที่มุ่งไปอย่างจดจ่อ | |
54:18 | กระบวนการของประสาทสัมผัสคือ ความอยาก |
54:23 | มันเห็นได้ชัด อย่าทำหน้างงอย่างนั้น |
54:28 | ผมเห็นสิ่งสวยงาม |
ซึ่งคือ | |
54:30 | การที่ประสาทสัมผัสถูกปลุกให้ตื่นขึ้น |
และผมก็ต้องการมัน | |
54:39 | ขอให้เคลื่อนไปด้วยกัน |
54:43 | มองดูมันด้วยตัวคุณเอง |
54:50 | เราพูดว่า |
54:54 | เมื่อมีการเคลื่อนไหวของประสาทสัมผัสทั้งหมด |
55:01 | ประสาทสัมผัสทุกส่วน |
ไม่ใช่ส่วนใดส่วนหนึ่ง | |
55:03 | เมื่อนั้นไม่มีความอยาก |
55:09 | คุณลองพินิจพิเคราะห์ดู |
55:14 | ความรักเป็นกระบวนการของประสาทสัมผัส |
พร้อมทั้งความอยากของมันหรือ | |
55:27 | ใช่ไหม |
55:29 | ถ้าพูดต่างออกไป |
ความรักคือความอยากหรือ | |
55:42 | ในกามารมณ์ มีการทำงานของประสาทสัมผัส |
55:46 | มีความทรงจำ มีภาพ มีมโนภาพ |
55:49 | มีความรู้สึกทางประสาทสัมผัสตลอดเวลา |
55:56 | และการเคลื่อนไหวนั้น ทั้งหมดนั้น |
เราคิดว่าเป็นความรัก | |
56:08 | เท่าที่เราสังเกต |
ความรักเป็นส่วนหนึ่งของความอยาก | |
56:20 | สอบสวนไปช้าๆ เราไม่ได้แผ่ขยายมัน |
56:23 | อย่างง หรือพูดว่า “ไม่จริง เป็นไปไม่ได้” |
56:27 | เรากำลังสอบสวน |
56:32 | ความรักเป็นความผูกพันหรือ |
56:42 | คุณเข้าใจไหม |
56:44 | ผมผูกพันกับลูกชายหญิงของผม |
56:49 | ผมครอบครอง |
56:54 | ความผูกพันเป็นความรักหรือ |
57:02 | ทั้งชีวิตเรา อยู่บนพื้นฐานความผูกพัน |
57:10 | ผูกพันกับทรัพย์สมบัติ ผูกพันกับบุคคล |
57:14 | ผูกพันกับความเชื่อ กับศาสนา |
ที่ไร้ข้อพิสูจน์ พระเยซูหรือพระพุทธเจ้า | |
57:20 | ไม่ว่าผูกพันกับอะไร |
57:25 | นั่นคือความรักหรือ |
57:28 | เมื่อคุณผูกพัน |
ในความผูกพันนั้นมีความเจ็บปวด | |
57:35 | มีความกลัว ความอิจฉาริษยา |
ความวิตกกังวล – คุณอาจจะสูญเสีย | |
57:46 | เราจึงถามว่า |
57:49 | ที่ใดมีความผูกพัน ที่นั่นมีความรักหรือ |
58:00 | เมื่อคุณสังเกตดูมัน และคุณสนใจลึกมาก |
58:07 | สนใจอย่างลึกซึ้งที่สุด |
ที่จะค้นหาว่าความรักคืออะไร | |
58:11 | แล้วความผูกพัน |
ก็กลายเป็นเรื่องไม่สำคัญ ไม่มีค่า | |
58:19 | เพราะนั่นไม่ใช่ความรัก |
58:27 | ความรักไม่ใช่ความอยาก |
58:35 | ไม่ใช่ความทรงจำ |
58:40 | ไม่ใช่ความผูกพัน |
58:47 | ไม่ใช่ว่าผมบอกคุณ แล้วคุณยอมรับ |
–มันเป็นอย่างนั้นจริง | |
58:52 | ความรักเป็นความสุขเพลิดเพลินหรือ |
58:59 | อย่าดูเศร้าหดหู่อย่างนั้น |
59:11 | ผมขอโทษ |
59:18 | ไม่ใช่คุณจะจูงมือกันไม่ได้ |
59:27 | แต่เราจะค้นหา ว่าคุณเข้าใจเรื่องนี้ไหม |
59:34 | เราพูดว่า ความอยากเป็นผลของ |
ความรู้สึกทางประสาทสัมผัส | |
59:42 | ความรู้สึกทางประสาทสัมผัส |
ผูกติดอยู่กับความคิด | |
59:48 | ความคิดก็ผูกติดอยู่กับ |
ความรู้สึกทางประสาทสัมผัส | |
59:51 | และจากความรู้สึกทางประสาทสัมผัสนั้น |
ความอยากก็เกิดขึ้น | |
59:55 | แล้วความอยากนั้นต้องการที่จะเติมเต็ม |
เราเรียกความต้องการนั้นว่า “ความรัก” | |
1:00:04 | แล้วนั่นเป็นความรักไหม |
ความผูกพันเป็นความรักหรือ | |
1:00:14 | ในความผูกพันมีความขัดแย้ง ความไม่แน่นอน |
1:00:19 | ฉะนั้น ยิ่งมีความไม่แน่นอนมากขึ้น |
1:00:22 | ความกลัวที่จะโดดเดี่ยวยิ่งมากขึ้นด้วย |
คุณก็ยิ่งผูกพันมั่นหมาย | |
1:00:28 | ยิ่งครอบครอง ครอบงำ |
ยืนยันถือสิทธิ์ เรียกร้องต้องการ | |
1:00:34 | จึงเกิดความขัดแย้งในความสัมพันธ์ |
1:00:37 | แล้วคุณก็คิดว่า ความขัดแย้งนี้ |
เป็นส่วนหนึ่งของความรัก | |
1:00:46 | เราถามว่า นั่นคือความรักหรือ |
1:00:49 | ความสุขเพลิดเพลินเป็นความรักหรือ |
1:00:57 | ความสุขเพลิดเพลิน |
เป็นกระบวนการของความทรงจำ | |
1:01:05 | ใช่ไหม |
1:01:09 | อย่าจดจำคำกล่าวนี้ |
1:01:14 | แค่ฟังเท่านั้น |
1:01:20 | ผมจำได้ว่า คุณดีอย่างไร |
1:01:27 | ให้ความพึงพอใจ ความอ่อนโยน |
ความสุขสบาย ความสัมพันธ์ทางเพศ | |
1:01:31 | ให้นี่ ให้นั่น และอื่นๆ เพียงใด |
ผมจำสิ่งเหล่านั้นได้ | |
1:01:35 | ผมจึงพูดว่า “โอ้! ยอดรัก ผมรักคุณ” |
1:01:40 | นี่หรือคือความรัก |
1:01:45 | แล้วความสุขเพลิดเพลินเป็นสิ่งต้องห้ามหรือ |
1:01:55 | คุณต้องถามคำถามเหล่านี้ ผมกำลังถาม |
คุณก็ต้องถามและค้นให้พบ | |
1:02:04 | เมื่อคุณมองดูน้ำในลำธาร |
มันให้ความสุขเพลิดเพลินแก่คุณ ไม่ใช่หรือ | |
1:02:12 | ความสุขเพลิดเพลินนั้นผิดอะไร |
1:02:16 | คุณมองดูต้นไม้ตระหง่านโดดเดี่ยวในท้องทุ่ง |
นั่นไม่ให้ความสุขเพลิดเพลินแก่คุณหรือ | |
1:02:24 | เมื่อคุณดูดวงจันทร์เหนือขุนเขา |
มันให้ความสุขเพลิดเพลินไม่ใช่หรือ | |
1:02:29 | เหมือนเมื่อคืน บางคนอาจได้เห็น |
1:02:32 | เป็นความอภิรมย์อย่างยิ่งไม่ใช่หรือ |
แล้วมันผิดอะไร | |
1:02:37 | แต่ปัญหาเริ่มขึ้นเมื่อความคิดพูดว่า |
“มันช่างสวยงามเสียจริง” | |
1:02:44 | ฉันต้องเก็บมันไว้ จดจำมัน บูชามัน |
1:02:48 | ฉันหวังที่จะได้มันมากขึ้น |
1:02:52 | จากนั้นกระบวนการของความสุขเพลิดเพลิน |
ก็เข้ามาปฏิบัติการ | |
1:03:00 | ความสุขเพลิดเพลินนั้น |
เราเรียกว่า “ความรัก” | |
1:03:09 | เมื่อเด็กทารกอยู่กับแม่ |
1:03:16 | แม่เต็มไปด้วยความรักความอาทร |
ที่แสนอ่อนโยน | |
1:03:21 | รู้สึกได้ถึงการโอบอุ้ม นั่นเป็นความรักไหม |
1:03:25 | อย่าเพิ่งตำหนิผมนะ ผมเพียงแต่ถามคำถาม |
1:03:30 | หรือว่าความรักนี้ เป็นส่วนหนึ่ง |
ของสิ่งสืบทอดทางพันธุกรรม | |
1:03:44 | คุณเคยเห็นแม่ลิงอุ้มกอดลูกๆ ของมันไหม |
1:03:52 | แม่ช้างที่ระวังดูแลลูกเล็กๆ ของมัน |
1:04:01 | อาจจะเป็นเพราะ เราสืบทอด |
สัญชาตญาณการตอบสนองต่อทารก | |
1:04:13 | แล้ว “เขาเป็นลูกน้อยของฉัน” ก็เกิดขึ้น |
1:04:17 | คุณอย่าเพิ่งส่ายหัว |
1:04:19 | “เขาเป็นลูกฉัน |
เลือดเนื้อเชื้อไขของฉัน ฉันรักเขา” | |
1:04:32 | ถ้าคุณรักลูกของคุณอย่างยิ่ง |
1:04:37 | คุณจะดูแลให้เขาได้รับการศึกษาที่ถูกต้อง |
1:04:42 | คุณจะดูแลไม่ให้เขาเป็นคนรุนแรง |
เขาจะไม่ถูกฆ่าหรือฆ่าใคร | |
1:04:49 | แต่คุณไม่สนใจใยดีหรอก |
1:04:52 | คุณสนใจดูแลทารกน้อยนั้น |
จนเขาอายุสี่ ห้า หก ขวบ | |
1:04:57 | แล้วคุณก็โยนเขาให้หมาป่า |
1:05:02 | จริงไหม |
1:05:05 | นี่เป็นความรักหรือ |
1:05:12 | แล้วการกระทำเชิงบวก คือบอกว่า “ไม่... |
1:05:17 | ฉันจะไม่มีเพศสัมพันธ์อีกต่อไป |
ฉันจะไม่....อีกต่อไป” | |
1:05:22 | ฉันจะทำสิ่งนี้ |
ฉันจะกำจัดความยึดติดผูกพัน | |
1:05:25 | ฉันจะเป็นอิสระจากความผูกพัน |
ฉันจะพยายามจัดการกับความผูกพัน | |
1:05:30 | จะทำงานกับมัน จะทำบางสิ่ง |
บางอย่างเกี่ยวกับมันตลอดเวลา | |
1:05:33 | ทว่า การกระทำเชิงลบ |
คือการดู ดูทั้งหมดของมัน | |
1:05:44 | ฉะนั้นจะมีการหยั่งเห็น |
1:05:51 | แล้วคุณจะเห็นว่าความรัก |
ไม่ใช่สิ่งเหล่านี้เลย | |
1:05:59 | แต่เพราะมีความรัก |
1:06:06 | จากความรักนั้น |
ความสัมพันธ์ทั้งหมดเปลี่ยนไป | |
1:06:14 | พวกผู้ถือสันโดษ พระ |
1:06:22 | สันยาสี ในอินเดีย ในยุโรป |
และนักบวชทั่วโลก | |
1:06:25 | ต่างพูดว่า “ต้องไม่มีความอยาก |
ไม่มีกามารมณ์ อย่ามองผู้หญิงสวย | |
1:06:35 | ถ้าคุณจะทำ ก็ให้คิดถึงเธอ |
ในฐานะพี่น้องหรือแม่ | |
1:06:42 | หรือถ้าคุณมองดูพวกเธอ |
ก็ให้เพ่งจิตไปที่พระเจ้า” | |
1:06:49 | คุณตามเรื่องเหล่านั้นทันไหม |
1:06:53 | แต่พวกผู้ถือสันโดษ ก็แผดเผาอยู่ข้างใน |
1:07:00 | ภายนอกปฏิเสธ แต่ภายในลุกเป็นไฟ |
1:07:05 | และสภาพนั้น เขาพากันเรียกว่า |
“ชีวิตที่เคร่งศาสนา” | |
1:07:14 | ซึ่งหมายถึง เขาไม่มีความรัก |
1:07:18 | เขามีแต่แนวคิด ว่าความรักคืออะไร |
1:07:22 | แนวคิดไม่ใช่ความรัก |
แนวคิด ถ้อยคำ ไม่ใช่ความรัก | |
1:07:30 | แต่เมื่อคุณเห็น กระบวนการทั้งหมด |
1:07:35 | ของความอยาก ความผูกพันมั่นหมาย |
ความสุขเพลิดเพลิน | |
1:07:38 | จากการหยั่งเห็นอันลึกซึ้งยิ่ง |
1:07:42 | ดอกไม้แปลกประหลาดคาดไม่ถึงจะผลิบาน |
ด้วยกลิ่นหอมอบอวลพิเศษสุด | |
1:07:50 | นั่นคือความรัก |