Krishnamurti Subtitles

SA79T5 - ความอยากและกาลเวลาก่อให้เกิดความกลัวใช่ไหม

พูดกับสาธารณชนที่ซาแนน สวิสเซอร์แลนด์ ครั้งที่ 5
วันที่ 15 กรกฎาคม 1979



1:02  ก่อนที่เราจะพูดคุยกันต่อ
 
1:05  เกี่ยวกับเรื่องที่พูดกันไว้
เมื่อสี่ครั้งที่แล้ว...
  
1:14  ...เราสงสัย และคุณก็คงต้องเคย
ถามตัวคุณเองด้วย...
  
1:16   
 
1:20  ...ว่าทำไมพวกเราที่มาชุมนุมกันที่นี่
และเคยฟังมาแล้วหลายปีดีดัก...
  
1:29   
 
1:32  ...ทำไมเราจึงไม่เปลี่ยนแปลง...
 
1:39  ...อะไรคือสาเหตุรากเหง้า
ที่ทำให้เราไม่เปลี่ยนแปลง
  
1:45  มันมีเพียงสาเหตุเดียว
หรือว่ามีหลายสาเหตุ
  
1:56  เรารู้ว่าโลกภายนอกนั้น
แบ่งแยกออกเป็นส่วนๆ มากขึ้น...
  
2:01   
 
2:04  ...รุนแรงมากขึ้น บ้าคลั่งมากขึ้น...
 
2:13  ...คนกลุ่มหนึ่ง
ต่อสู้กับอีกกลุ่มหนึ่ง...
  
2:17  ...พลังงานทั้งมวลที่โลกมี...
 
2:20  ...ไม่อาจเอามาแบ่งปัน
ให้แก่คนทั้งโลกใช้ร่วมกันได้...
  
2:25  ...คุณก็รู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น
 
2:28  แล้วความสัมพันธ์ของเรา
ต่อเรื่องนั้น...
  
2:34  ...หรือต่อโลกหรือต่อตัวเราเอง
เป็นอย่างไร
  
2:39  เราแตกต่างจากทั้งหมดนั้นหรือเปล่า
หากเป็นเช่นนั้น ผมขอถามว่า...
  
2:45   
 
2:53  ...หากเราแตกต่าง เรานั้นแตกต่าง
อย่างสิ้นเชิงจากโลกรอบๆ ตัวเราไหม
  
3:02  บรรดาคุรุที่ชิงดีชิงเด่นกัน
ศาสนาที่แข่งขันกัน...
  
3:09  ...แนวความคิดที่ไม่ลงรอย
ขัดแย้งกันและอื่นๆ...
  
3:17  ...เราจะต้องทำอะไรร่วมกัน
เพื่อเปลี่ยนแปลงตัวเราเอง
  
3:30  ผมขอถามด้วยความจริงจังที่สุด...
 
3:39   
 
3:45  ...ว่าทำไมเราจึงดำรงชีวิต
เช่นที่เป็นอยู่...
  
3:51  ...มีชีวิตอยู่ในบรรดาอุดมคติ
ในความหยิ่งผยองอันคับแคบไร้สาระ...
  
3:52   
 
3:58  ...รวมทั้งเรื่องโง่เขลาทั้งหลาย
ที่เราสั่งสมไว้...
  
4:03  ...ทำไมเราถึงยังเป็นอยู่อย่างนี้
 
4:09  เรากลัวการเปลี่ยนแปลงใช่ไหม...
 
4:21   
 
4:28  ...เราไม่ปรารถนาหรือไม่ได้ตั้งใจ
ค้นหาวิถีชีวิตซึ่งแตกต่างออกไปใช่ไหม
  
4:36  กรุณาถามคำถามเหล่านี้
กับตัวคุณเอง
  
4:41  ผมถามคำถามเหล่านี้เพื่อคุณ
ไม่ใช่เพื่อตัวผม
  
4:47  เพราะเหตุใดกันแน่
 
4:50  อะไรคือสาเหตุหลัก
ของความเสื่อมถอยในจิตใจมนุษย์...
  
5:00  ...ซึ่งทำให้เกิดการกระทำ
ที่แตกแยกและเสื่อมถอย
  
5:08  คุณเข้าใจไหม
 
5:11  ทำไมจิตใจมนุษย์
จึงกลายเป็นจิตใจที่คับแคบ ไม่เปิดกว้าง...
  
5:20  ...ไม่ได้นำทุกสิ่งทุกอย่างมารวมกัน
และปฏิบัติการจากความเป็นทั้งหมด...
  
5:26  ...แต่กลับดำรงอยู่ใน
อาณาบริเวณเล็กๆ แคบๆ ของตัวเอง
  
5:36  อะไรคือรากเหง้า
ของจิตที่แบ่งแยกจนคับแคบนี้
  
5:45  คิดดูดีๆ ต่อไปอีกครับ
ขอให้เราพูดคุยเรื่องนี้กันอีกหน่อย
  
5:54  เมื่อวันก่อนคุณถามว่า
"ทั้งๆ ที่ฟังคุณพูดมาสี่สิบห้าสิบปีแล้ว...
  
5:59   
 
6:06  ...ทำไมฉันจึงไม่เปลี่ยนแปลงเลย
 
6:09  มีการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงบ้าง
ก็เพียงเล็กๆ น้อยๆ...
  
6:13  ...เช่น ฉันอาจจะไม่เป็น
พวกชาตินิยมแล้ว...
  
6:17   
 
6:21  ...ไม่สังกัดองค์กรศาสนาใดๆ
อีกต่อไป...
  
6:26  ...ไม่สังกัดนิกาย
หรือขึ้นกับคุรุใดๆ อย่างฉาบฉวย...
  
6:32  ...หรือเข้าร่วมกิจกรรมประหลาดๆ
ที่ทำๆ กันอยู่
  
6:37  แต่ลึกๆ แล้วเรายังคงเหมือนเดิม
ไม่มากก็น้อย
  
6:48  บางทีอาจจะละเอียดอ่อนขึ้น
การเอาตัวเองเป็นใหญ่ลดลงเล็กน้อย...
  
6:53   
 
6:59  ...อาจจะก้าวร้าวน้อยลง
ได้รับการขัดเกลามากขึ้น รู้จักยอมมากขึ้น...
  
7:03   
 
7:09  ...คำนึงถึงคนอื่นมากขึ้นอีกนิดหน่อย
แต่รากเหง้ายังคงอยู่
  
7:12   
 
7:19  คุณเคยสังเกตสภาพนี้บ้างไหม
เพราะเหตุใดหรือ
  
7:24  เรากำลังพูดถึงการถอนรากเหง้านั้น
ทิ้งไปให้สิ้นซาก...
  
7:30  ...ไม่ได้พูดเรื่องการจัดการ
กับส่วนย่อยๆ และกิ่งก้านสาขา
  
7:42  แต่เรากำลังพูดถึง...
 
7:49  ...การขุดรากเหง้าแท้ๆ
ของการเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางสำคัญ...
  
8:05  ...ทั้งในระดับที่สำนึกรู้
และไม่สำนึกรู้
  
8:08  นั่นเป็นเพราะเราต้องอาศัย
กาลเวลาใช่ไหม กรุณาสืบค้น
  
8:10  กาลเวลา เช่น "ให้เวลาฉันหน่อย"
 
8:19  แต่ทว่ามนุษย์มีอยู่
มาเป็นเวลาหลายล้านปีแล้ว...
  
8:24  ...รากเหง้านั้นก็ยังไม่ถูกขุด
รื้อถอนทิ้งไป
  
8:32  กาลเวลาไม่ได้ช่วยแก้ปัญหานี้เลย
 
8:36  ถูกต้องไหม
 
8:37  กรุณาให้ใจของคุณกับเรื่องนี้
 
8:43  วิวัฒนาการอันเป็นกระแสแห่งกาลเวลา
ก็แก้ปัญหานี้ไม่ได้
  
8:50  แม้ว่าเราจะมีการคมนาคมที่ดีกว่าเดิม
มีห้องน้ำที่ดีกว่าเดิมและอื่นๆ...
  
8:54  ...แต่โดยแก่นแท้แล้ว...
 
9:01  ...มนุษย์ก็ยังเป็น
เหมือนอย่างที่เคยเป็นเมื่อล้านปีก่อน
  
9:07  ถ้าเราตระหนักในเรื่องนี้
จะเห็นว่าน่าเศร้าทีเดียว
  
9:14  และถ้าเราจริงจัง
ไม่ใช่จริงจังเฉพาะที่นี่ ในเต็นท์นี้เท่านั้น...
  
9:18  ...แต่จริงจังในชีวิตแต่ละวัน
ไปตลอดชีวิต
  
9:26  คุณไม่เคยถามเลยหรือว่า...
 
9:34  ...การกระทำที่เห็นแก่ตัว
รวมทั้งปัญหาทั้งหมดของมันจะยุติลงได้ไหม
  
9:39   
 
9:47   
 
9:54  ถ้าคุณตั้งใจถามจริงๆ และถ้า
เราตระหนักถึงเรื่องกาลเวลาและความคิด...
  
9:59  ...ซึ่งเราได้สืบค้นไป
เมื่อวันก่อนว่า...
  
10:10  ...กาลเวลาและความคิดนั้นเหมือนกัน...
 
10:13   
 
10:16  ...มันเป็นกระบวนการเดียวกัน...
 
10:20  ...ทั้งความคิดและเวลา
ไม่เคยแก้ปัญหานี้ได้
  
10:25  แต่นั่นเป็นเครื่องมือ
เพียงอย่างเดียวที่เรามี
  
10:31  และดูเหมือนเราก็ไม่เคยตระหนักว่า...
 
10:35  ...เครื่องมืออันนั้น
ซึ่งเป็นกระบวนการของความคิด...
  
10:40  ...ไม่ว่าจะอย่างไรก็จำกัด...
 
10:43  ...กระบวนการคิด
ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เลย
  
10:51  แต่เราก็ยังคงติดตรึง
อยู่กับการใช้เครื่องมืออันนั้น
  
10:53  เรายังยึดเครื่องมืออันเก่าอยู่
 
10:58  ถูกต้องไหม
 
11:02  ความคิดได้สร้าง
ปัญหาต่างๆ เหล่านี้ขึ้นมาใช่ไหม
  
11:09  ซึ่งเห็นได้อย่างชัดเจน
 
11:12  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของชนชาติ
ปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากสงคราม...
  
11:15   
 
11:19   
 
11:22  ...ปัญหาศาสนา ทั้งหมดนั้น
เป็นกระบวนการของความคิดซึ่งจำกัด
  
11:29  และความคิดนั่นเอง
ที่สร้างศูนย์กลางนี้ขึ้นมา
  
11:35  ถูกต้องไหม ชัดเจนนะ
 
11:38  และดูเหมือนว่าเรายังไม่สามารถ
หาเครื่องมือใหม่มาใช้ได้
  
11:50  ถูกต้องไหม
 
11:52  เรายังค้นไม่พบเครื่องมือใหม่
 
11:56  เนื่องจากเรายังไม่กล้าทิ้ง
เครื่องมือเก่าไป...
  
12:08  ...และยังใช้มันอยู่
แล้วเราก็หวังจะค้นพบเครื่องมือใหม่ๆ
  
12:09   
 
12:12  คุณตามทันไหม
 
12:17  คุณจะต้องปลดปล่อยบางสิ่งออกไป
เพื่อที่จะค้นพบสิ่งใหม่
  
12:21  ถูกต้องไหม
 
12:24  ถ้าคุณเห็นหนทางทอดยาวไปสู่ยอดเขา...
 
12:30  ...แต่มันก็ไม่ได้นำคุณ
ขึ้นไปสู่ที่นั่น คุณย่อมจะต้องสืบสวนดูใหม่
  
12:32   
 
12:35  คุณจะไม่ยึดติดกับหนทางนั้น
 
12:41  ดังนั้นเราจึงถามว่า...
 
12:43  ...มันเป็นอะไรไปหรือ
ทำไมมนุษย์ถึงได้โง่เง่าเสียเหลือเกิน
  
12:48   
 
12:58  พวกเขาทำสงครามกัน
แบ่งแยกชนชาติกัน แบ่งแยกศาสนาและอื่นๆ...
  
12:59   
 
13:04  ...และพวกเขาก็ยังดำรงชีวิต
อยู่ในความโศกเศร้า...
  
13:05  ...ความขัดแย้ง การชิงดีชิงเด่น
การทะเลาะวิวาท...
  
13:08  ...เป็นทุกข์กันอยู่
คุณตามทันไหม
  
13:17  แล้วอะไรเล่า
จะทำให้มนุษย์ทิ้งเครื่องมือไป...
  
13:27  ...และมองหาเครื่องมือใหม่มาแทน
 
13:33  คุณเข้าใจไหม
มองหาเครื่องมืออันใหม่
  
13:39  เป็นเพราะเราขี้เกียจใช่ไหม
หรือว่าเราขลาดกลัว
  
13:46  หรือถ้าฉันทิ้งเครื่องมืออันเก่าแล้ว
 
13:50  คุณจะรับประกันได้ไหม
ว่าฉันจะได้อันใหม่
  
14:00  คุณเข้าใจไหม
 
14:03  ซึ่งนั่นหมายความว่า
เราดำรงชีวิตด้วยความคิดอันจำกัดนี้...
  
14:06   
 
14:12  ...และเราก็คิดว่า
เราได้ค้นพบความมั่นคงในนั้น...
  
14:19  ...จึงกลัวที่จะปล่อยมันไป...
 
14:24  ...แต่คุณจะค้นพบ
เครื่องมืออันใหม่ได้...
  
14:29  ...ก็ต่อเมื่อมีการทิ้งของเก่า
ไปแล้วเท่านั้น
  
14:32  ชัดเจนนะ
 
14:34  ดังนั้นเราจึงถามว่า
นั่นเป็นเพราะความกลัวใช่ไหม
  
14:45  เพราะคุณจะสังเกตเห็นว่า
มีคุรุจำนวนมากมายทั่วโลก...
  
14:48   
 
14:52   
 
14:56  ...ต่างก็รับประกันในความมั่นคงว่า
"จงทำสิ่งนี้ หรือ ทำตามนี้...
  
15:03  ...หรือฝึกฝนอย่างนี้ แล้วในที่สุด
เธอจะได้รับอะไรบางอย่าง"
  
15:05  นั่นคือรางวัล คือสิ่งตอบแทน
 
15:11  คำมั่นสัญญาว่าจะได้รับรางวัล
มีแรงดึงดูดใจบางอย่าง...
  
15:17  ...รวมทั้งความหวังที่คุณจะได้พบ
ในความมั่นคงปลอดภัยนั้น
  
15:24  แต่เมื่อคุณตรวจสอบมัน
ละเอียดขึ้นอีกหน่อย โดยไม่เชื่ออะไรง่ายๆ...
  
15:28   
 
15:31  ...ไม่รับเอาสิ่งที่คนอื่น
พูดมาทั้งดุ้น...
  
15:35  ...แล้วคุณก็จะเห็น
อย่างแจ่มแจ้งว่า...
  
15:41  ...รางวัลก็คือปฏิกิริยาตอบสนอง
ต่อการลงโทษ คุณเข้าใจไหม
  
15:53  เพราะว่าเราถูกฝึกถูกหัดมาด้วย
แนวความคิดเรื่องการให้รางวัล...
  
15:57  ...และการลงโทษ การได้และการเสีย
 
16:02  ถูกต้องไหม
เรื่องนี้เห็นได้ชัดเจน
  
16:06  ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกลงโทษ...
 
16:09  ...ซึ่งหมายถึง ความเจ็บปวด
ความเศร้าโศกและอะไรทำนองนั้น...
  
16:12  ...เราจึงแสวงหารางวัลและหวังว่า
จะค้นพบอะไรบางอย่างที่มีความมั่นคง...
  
16:15   
 
16:21  ...มีสันติสุข หรือ ความสุขในนั้น
 
16:31  แต่เมื่อคุณสืบค้นเข้าไปแล้ว
คุณกลับไม่พบมัน
  
16:37  บรรดาคุรุหรือพระ
อาจจะให้คำมั่นสัญญาไว้
  
16:41  แต่มันก็เป็นเพียงแค่คำพูด
 
16:48  ใช่ไหม
 
16:54  ดังนั้นในฐานะที่เราเป็นมนุษย์
เราจะสืบค้นปัญหานี้ร่วมกันได้อย่างไร...
  
17:00  ...ว่าเป็นไปได้หรือไม่
ที่จะขจัดความเห็นแก่ตัว...
  
17:05  ...การถือเอาตนเป็นสำคัญ...
 
17:11  ...ซึ่งเต็มไปด้วยพิษร้ายนี้
ทิ้งไปให้สิ้นซาก
  
17:15  ถูกต้องไหม
 
17:17  ผมไม่ทราบว่าแม้แต่คำถามนั้น
คุณเคยถามบ้างไหม
  
17:24  เมื่อใดที่คุณถามคำถามนั้น...
 
17:26  ...แสดงว่าคุณเริ่มฉลาด
ขึ้นบ้างแล้วเล็กน้อย
  
17:31  โดยธรรมชาติ
 
17:36  ดังนั้นในเช้าวันนี้
เราจะพิจารณาปัญหานี้ร่วมกัน
  
17:46   
 
17:52  เป็นการคิดใคร่ครวญร่วมกัน
 
17:55  ไม่ใช่ผมบอกคุณ
และคุณก็ยอมรับหรือปฏิเสธ...
  
18:00  ...แต่ร่วมกันค้นหาว่า
กระบวนการของอัตตา...
  
18:05  ...ตัวตนนี้สามารถยุติลงได้ไหม
 
18:15  คุณสนใจไหมที่จะค้นหาร่วมกัน
 
18:17   
 
18:20  ไม่ครับ อย่าพูดว่าสนใจ…
หรือพยักหน้า
  
18:25  เพราะปัญหานี้สำคัญมากจริงๆ
 
18:31  ขณะที่อยู่ในเต็นท์นี้
คุณอาจจะถูกผู้พูดกระตุ้นหรือปลุกเร้า...
  
18:38   
 
18:40  ...แต่ผมหวังว่าคงไม่เป็นเช่นนั้น
 
18:44  แต่คุณอาจจะถูกปลุกเร้า
ก็เลยค่อนข้างตื่นเต้น แล้วพูดว่า...
  
18:48  ..."ใช่ ฉันเห็นด้วยกับคุณ
เราต้องทำสิ่งนี้"
  
18:51  แต่เมื่อคุณออกจากปรัมนี้ไป...
 
18:55  ...คุณก็ลืมเรื่องนี้หมด
แล้วดำเนินชีวิตแบบเดิมๆ
  
19:01  ดังนั้นขอให้แต่ละคน
ต่างปล่อยวางอคติส่วนตัวของคุณ...
  
19:11  ...วางบรรดาคุรุ
และข้อสรุปต่างๆ ของคุณ...
  
19:18  ...แล้วเรามาตรวจสอบปัญหานี้ด้วยกัน
 
19:27  ในการตรวจสอบคุณจะต้องเป็นอิสระ
 
19:31  ถูกต้องไหม ชัดเจนใช่ไหม
 
19:34   
 
19:37  คุณจะต้องเป็นอิสระที่จะตรวจสอบ...
 
19:43  ...คุณจะต้องเป็นอิสระจากอุปสรรคต่างๆ
ที่มาขวางกั้นการตรวจสอบของคุณ
  
19:56  สิ่งที่ขวางกั้นก็คืออคติของคุณ
ประสบการณ์ของคุณ ความรู้ของคุณ...
  
20:01   
 
20:04  ...หรือความรู้ของคนอื่น
สิ่งเหล่านั้นเป็นอุปสรรคขัดขวาง...
  
20:10  ...คุณจึงไม่สามารถตรวจสอบ
หรือคิดร่วมกันได้
  
20:17   
 
20:20  ถูกต้องไหม
 
20:22  อย่างน้อยที่สุดก็ให้เข้าใจเรื่องนี้
ในระดับที่ไตร่ตรองเอาด้วยเหตุผล
  
20:29  ผู้พูดไม่มีปัญหาเหล่านี้
สักปัญหาเดียว
  
20:33  ...เพราะเขาไม่มีอคติ
หรือความเชื่อใดๆ อยู่เลย
  
20:36  จึงจบ หมดปัญหา
 
20:38  ต่อเมื่อคุณ
ก็อยู่ในสถานะเดียวกันกับผู้พูด
  
20:41  เราจึงจะเข้าใจกัน บรรจบกันได้
 
20:50  ดังนั้นขอให้เรามาตรวจสอบ
พิจารณาและคิดพินิจร่วมกัน
  
20:59  มาคิดพินิจด้วยกัน
เกี่ยวกับปัญหาที่ว่า...
  
21:05   
 
21:10  ...ทำไมมนุษย์ทั่วทั้งโลก
จึงยังคงเห็นแก่ตัวอยู่...
  
21:14  ..ทั้งๆ ที่รู้ถึงปัญหาต่างๆ ที่ตามมา
รู้ถึงความสับสน ความทุกข์ยาก...
  
21:18  ...และความเศร้าโศกที่เกิดจากมัน
แต่พวกเขาก็ยังยึดถือมันอยู่เช่นนั้น
  
21:24  ถูกต้องไหม
 
21:31  ทีนี้เรามาถามว่า
มันเป็นเพราะความอยากใช่ไหม
  
21:46  คุณรู้นะว่าความอยากคืออะไร
 
21:52  เราถามว่าความอยากคือรากเหง้า
ของความเห็นแก่ตัวนี้ใช่ไหม
  
21:55   
 
22:09  ความอยากคืออะไร
 
22:13  เราทุกคนอยากได้อะไรต่างๆ มากมาย...
 
22:18   
 
22:25  ...เช่น อยากพ้นทุกข์
อยากได้ความสุข อยากให้ดูดี...
  
22:28   
 
22:32   
 
22:36  ...อยากให้โลกมีสันติสุข
อยากเติมเต็มให้ตัวเอง...
  
22:39  ...และหลีกเลี่ยงจากความคับข้องใจ...
 
22:46  คุณเข้าใจไหม
 
22:49  มนุษย์ทั้งมวล
ต่างถูกความอยากผลักดันอยู่
  
22:55  คุณตามทันไหม
 
23:00  เรากำลังถามว่านั่นคือสาเหตุ
รากเหง้าอันหนึ่งของชีวิตที่เห็นแก่ตัว...
  
23:05  ...ที่มาพร้อมกับความสับสน
และความทุกข์ยากของมันใช่ไหม
  
23:10  และบรรดาศาสนาทั่วทั้งโลก
พากันบอกว่า...
  
23:19  ...คุณต้องกดข่มความอยากเอาไว้
 
23:25  ถูกต้องไหม
 
23:28  คุณต้องบวชเป็นพระ
รับใช้พระเจ้า...
  
23:34  ...และเพื่อที่จะบรรลุถึงสิ่งสูงสุด
คุณจะต้องไม่มีความอยากอยู่เลย
  
23:44  คุณเข้าใจไหม
 
23:45  นี่เป็นคำสั่งสอนซ้ำๆ ซากๆ มาตลอด...
 
23:52  ...ของบรรดาผู้ที่ในโลกนี้
เรียกกันว่าศาสนิก
  
24:13  และเมื่อปราศจากความเข้าใจ...
 
24:14  ...ว่าโครงสร้างและธรรมชาติ
ของความอยากคืออะไร...
  
24:21  พวกเขาจึงตั้งอุดมคติว่า
การจะรับใช้หลักการสูงสุด...
  
24:26   
 
24:33  ...หรือพระพรหมในอินเดีย หรือพระเจ้า
หรือพระคริสต์ในโลกของคริสเตียน...
  
24:37  ...หรือนิกายรูปแบบต่างๆ
ที่ไร้สาระที่แตกแยกกันออกมา...
  
24:43  ...ก็คือต้องกดข่ม ควบคุม
และต้องอยู่เหนือความอยาก
  
24:47  ถูกต้องไหม
 
24:53  ทีนี้เราจะมาร่วมกันสืบค้นว่า
ความอยากคืออะไร
  
25:07  เมื่อคุณตรวจสอบว่า
ความอยากคืออะไร...
  
25:11   
 
25:14  ...กรุณาตั้งใจฟัง เมื่อคุณตรวจสอบ
หรือวิเคราะห์ว่า ความอยากคืออะไร...
  
25:18  ...คุณกำลังใช้ความคิด
เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์
  
25:27  ซึ่งนั่นเป็นการกลับเข้าไปสู่ห้วงอดีต
คุณตามทันไหม
  
25:33  ดังนั้นคุณกำลังใช้
เครื่องมืออันเก่า...
  
25:42  ...ซึ่งคือความคิดที่จำกัด
และมองเข้าไปในอดีตทีละก้าวขั้น...
  
25:45   
 
25:50  ...ซึ่งเป็นกระบวนการวิเคราะห์ทางจิต
 
25:56  ทั้งหมดนี้คุณตามทันไหม
 
26:07  แต่การตรวจสอบความอยากนั้น...
 
26:10  ...คุณจะต้องเห็นมันจริงๆ ในขณะนั้น
ไม่ใช่ย้อนกลับไปหาอดีต
  
26:17  คุณเข้าใจที่ผมพูดไหม
 
26:20  กรุณาสืบค้นไปด้วยกันกับผมอีกหน่อย
 
26:25  คุณจะต้องเข้าใจจุดนี้อย่างแจ่มแจ้ง
 
26:29  กระบวนการวิเคราะห์ทางจิต
โดยการทบทวนตรวจสอบตัวเอง...
  
26:35   
 
26:43  ...เป็นการย้อนถอยหลังกลับไปอดีต
โดยหวังว่าจะค้นพบสาเหตุได้
  
26:48  ถูกต้องไหม
 
26:51  ซึ่งการทำเช่นนั้น
คุณต้องใช้ความคิดเป็นเครื่องมือ
  
26:57  ถูกต้องไหม
 
26:59  แต่ความคิด
เป็นเครื่องมือเก่าอันจำกัด...
  
27:06  ...และคุณกำลังใช้เครื่องมือเดิมๆ
มาค้นหารากเหง้าของความอยาก
  
27:17  แต่เรากำลังพูดถึงอะไรบางอย่าง
ที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง
  
27:22  กรุณาใส่ใจกับเรื่องนี้สักนิด
 
27:28  เรากำลังบอกว่า
การวิเคราะห์ไม่ว่าจะโดยตัวเราเอง...
  
27:30  ...หรือวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญ
ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย...
  
27:38  ...นอกจากคุณจะเป็นโรคประสาทอ่อนๆ
หรืออะไรทำนองนั้น...
  
27:41   
 
27:44  ...ซึ่งการวิเคราะห์อาจจะช่วยได้บ้าง
 
27:45  บางทีพวกเราทั้งหมด
อาจจะเป็นโรคประสาทอ่อนๆ กันบ้าง
  
27:53  ทีนี้เราพูดว่า ให้เฝ้าสังเกต
ดูธรรมชาติของความอยาก
  
28:04  อย่าไปวิเคราะห์มัน
แค่เฝ้าสังเกตดูเฉยๆ
  
28:08  คุณเข้าใจความแตกต่างไหม
 
28:19  ที่พูดนี้ชัดเจนไหม
 
28:22  ผมจะอธิบายให้คุณฟัง
 
28:27  คุณเห็นไหมว่าจะต้องอธิบาย
กันทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งไม่ดีเลย
  
28:33   
 
28:37  คุณไม่กระโดดเข้าไปหามัน
แล้วบอกว่า "ฉันเข้าใจแล้ว"
  
28:42  แต่เท่าที่คุณพูดก็คือ
"อธิบายให้ฟังหน่อย แล้วฉันจึงจะเข้าใจ
  
29:02  จงอธิบายกระบวนการทั้งหมด
ของความอยาก...
  
29:16  ...เลือกใช้คำพูดที่ถูกต้อง
อธิบายให้ตรงที่สุด แล้วฉันจึงจะเข้าใจ"
  
29:22  สิ่งที่คุณเข้าใจก็คือ
ความแจ่มแจ้งของคำอธิบาย...
  
29:30  ...หรือความชัดเจนในระดับคำพูด...
 
29:38  ...แต่นั่นไม่ได้ทำให้คุณสังเกต
กระบวนการของความอยากได้อย่างสมบูรณ์
  
29:41   
 
29:46  คุณเข้าใจที่พูดนี่ไหม
 
29:50  ฉะนั้นคุณจะหยุดการวิเคราะห์
แต่มาเฝ้าสังเกตดูเฉยๆ ได้ไหม
  
29:59  คุณเข้าใจไหม
จับสาระสำคัญได้แล้วใช่ไหม
  
30:01  เราสื่อสารเข้าใจกันไหมนี่
 
30:10  เราสามารถบรรยายถึงความงดงาม
ของภูเขา หิมะสีขาว ท้องฟ้าสีคราม...
  
30:16   
 
30:23  ...ความสง่างาม น่าเกรงขาม
และความบรรเจิดของมัน...
  
30:29  ...อีกทั้งหุบเขา แม่น้ำ
ลำธารและดอกไม้...
  
30:34  ...และพวกเราส่วนมากก็พอใจกับคำบรรยาย
 
30:40  เราไม่พูดว่า "ลุกขึ้น
ฉันจะปีนไต่ขึ้นไปและค้นหาให้พบ"
  
30:53  เรากำลังสืบค้นเรื่องของความอยาก
อย่างระมัดระวัง...
  
31:00  ...ไม่ใช่การสอบสวนย้อนหลังกลับไป...
 
31:07  ...โดยหวังว่าจะค้นพบ
ธรรมชาติของความอยาก
  
31:12  คุณเข้าใจไหม
 
31:13  แต่โดยการตื่นตัว
มองดูมันร่วมกันจริงๆ
  
31:27  ว่าความอยากคืออะไร
มองดูมันด้วยตัวคุณเอง
  
31:37   
 
31:41  เรากำลังมองดูร่วมกันว่า
ความอยากคืออะไร
  
31:50  คุณอยากได้เสื้อผ้า
ชุดที่คุณเห็นในตู้โชว์
  
32:00  มีการตอบสนองเกิดขึ้น
 
32:07  คุณชอบสีสัน ชอบรูปทรง...
 
32:12  ...หรือความทันสมัยของมัน
ความอยากจึงพูดว่า "ไปเลย ไปซื้อ"
  
32:17  ดังนั้นในขณะนั้น
เกิดอะไรขึ้นจริงๆ หรือ
  
32:23  ซึ่งไม่ใช่การวิเคราะห์
แต่เป็นการเฝ้าสังเกตดูจริงๆ...
  
32:27   
 
32:31  ...ดูปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น
เมื่อเห็นเสื้อผ้าชุดนั้นในตู้โชว์...
  
32:36  ...และการตอบสนองต่อปฏิกิริยานั้น
 
32:37  คุณตามทันไหม
 
32:42  คุณติดตามอยู่ใช่ไหม
 
32:45  กรุณาอย่าเพิ่งหลับนะ!
 
32:54  คุณเห็นเสื้อผ้าชุดนั้น
คุณชอบสี...
  
32:58  ...ชอบสไตล์ที่ทันสมัย
เกิดอะไรขึ้นตรงนั้นหรือ
  
33:01   
 
33:07  คุณเฝ้าดูอยู่ เกิดความรู้สึกขึ้น
 
33:12  ใช่ไหม
 
33:16  เมื่อเกิดผัสสะ คุณสัมผัสมัน
จากนั้นความอยากก็เกิดขึ้น...
  
33:21   
 
33:26  ...เมื่อความคิดสร้างมโนภาพของคุณ
ในเสื้อผ้าชุดนั้น
  
33:31   
 
33:34  ถูกต้องไหม
คุณเข้าใจที่พูดนี้ไหม
  
33:38  มีการเห็น เกิดความรู้สึก
ทางประสาทสัมผัส มีการสัมผัส...
  
33:44  ...จากนั้นความคิดก็จินตนาการว่า
คุณสวมเสื้อผ้าชุดนั้น...
  
33:52  ...แล้วความอยากก็เกิดขึ้น
 
33:55  ที่พูดนี้คุณตามทันไหม
 
33:57  ไม่ ไม่ใช่ติดตามผม
แต่ติดตามความเป็นจริงของกระบวนการนี้
  
34:04  ผมเพียงแต่ให้คำอธิบายหรือคำพูด...
 
34:09  ...แต่เรากำลังพูดถึง
ปฏิกิริยาตอบสนองที่เกิดขึ้นจริงๆ...
  
34:16  ...คือเมื่อเห็น เมื่อสัมผัส
เมื่อเกิดความรู้สึกทางประสาทสัมผัส...
  
34:20   
 
34:23  ...ความคิดสร้างภาพ
ว่าคุณสวมชุดนั้นขึ้นมา...
  
34:27  ...แล้วความอยากจึงเกิดขึ้น
 
34:31  คุณเข้าใจไหม
คุณเข้าใจที่พูดนี้หรือยัง
  
34:34  เป็นความเข้าใจของคุณ
ไม่ใช่ของผม
  
34:39  ผมยังไม่เข้าใจ
 
34:42  เอาล่ะ ค่อยๆ ติดตาม
ตั้งใจฟังนะครับ
  
34:46  ในขณะที่ความคิดสร้างมโนภาพขึ้น
จากมโนภาพนั้น ความอยากจึงเกิดขึ้น
  
34:53   
 
34:57  ถูกต้องไหม
คุณเข้าใจกระบวนการนี้ไหม
  
35:01  กรุณาทำความเข้าใจเรื่องนี้
โอ! ผมเหนื่อยจัง
  
35:04   
 
35:10  ผมเบื่อการอธิบาย!
 
35:23  ผมจะยังยกตัวอย่างเสื้อผ้าชุดนั้น
หรือเสื้อเชิ้ต
  
35:28  คุณเห็นว่าเกิดการรับรู้
สิ่งที่อยู่ในตู้โชว์ ก็คือการเห็น...
  
35:34  ...เป็นการตอบสนองทางจักษุประสาท...
 
35:43  ...จากนั้นก็เดินเข้าไปในร้าน
จับดูเนื้อผ้า...
  
35:50  ...จากนั้นความคิดก็พูดว่า
"ถ้าฉันได้เป็นเจ้าของ มันก็ยอดไปเลย"
  
35:54  และจินตนาการว่าคุณสวมใส่ชุดนั้นอยู่
 
35:59  นั่นเป็นช่วงขณะที่ความอยากเกิดขึ้น
 
36:04  ถูกต้องไหม
 
36:07  คุณเห็นกระบวนการนี้
เกิดขึ้นจริงๆ ไหม...
  
36:11  ...ไม่ใช่เห็นจากการอธิบายของผม
 
36:15  ชัดเจนไหม ที่ว่าตัวคุณเอง
เฝ้าดูสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
  
36:29  ทีนี้คำถามก็คือ
(กรุณาสืบค้นเข้าไปอย่างถี่ถ้วน)...
  
36:34  ...ทำไมความคิดจึงสร้างมโนภาพ...
 
36:39  ...ว่าคุณเป็นเจ้าของเสื้อเชิ้ต
หรือเสื้อผ้าชุดนั้น...
  
36:42  ...แล้วจากนั้นก็ไขว่คว้ามัน
 
36:45  ขอให้เฝ้าดู
 
36:47  พินิจพิจารณาดู สืบค้น
ใช้สมองของคุณค้นหาดู
  
36:58  เมื่อคุณเห็นเสื้อเชิ้ต
สีน้ำเงินตัวหนึ่ง
  
37:05  จากนั้นคุณก็เดินเข้าไปดูใกล้ๆ
และจับต้องมัน สัมผัสดูเนื้อผ้า...
  
37:10  ...แล้วความคิดก็เข้ามา
และพูดว่า "ดูดีจัง"
  
37:16   
 
37:21  ตอนนี้คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ
 
37:25  ความคิดสามารถหยุดตัวมันเอง
ไม่สร้างมโนภาพขึ้นมาได้ไหม
  
37:33  คุณเข้าใจคำถามของผมไหม
 
37:38  ผมจะค่อยๆ อธิบาย
ค่อยๆ สืบค้นลงไป
  
37:46  เรากำลังตรวจสอบ
กระบวนการทั้งหมดของความอยาก...
  
37:55  ...เพราะเราถามว่า
ความอยากคือรากเหง้าแท้ๆ...
  
37:58  ...ของการดำเนินชีวิต
ด้วยความเห็นแก่ตัว...
  
38:04  ...ของการยึดเอาตนเองเป็นศูนย์กลาง
ความสำคัญใช่ไหม
  
38:09  และจากนั้นเราถามว่า
มันใช่ความอยากไหม
  
38:15  แล้วเราก็ถามว่า
ความอยากคืออะไร
  
38:20  และผู้พูดคัดค้านเต็มที่
ต่อการกดข่มความอยากเอาไว้...
  
38:28  ...เพราะเหตุว่าการกดข่ม
แก้ปัญหาไม่ได้
  
38:32  เขายังบอกอีกว่า
อย่าวิ่งหนีความอยากโดยเข้าไปอยู่วัด...
  
38:36  ...อย่าไปตั้งสัจจะอธิษฐาน
และทำอะไรต่อมิอะไร...
  
38:40  ...เพราะนั่นเป็นเพียงการหลีกหนี
 
38:43  แต่สิ่งที่เราบอกก็คือ
ขอให้ตรวจสอบความอยากมองดูมัน...
  
38:49  ...ไม่ใช่โดยการวิเคราะห์
แต่เฝ้าสังเกตดูมันเฉยๆ ในขณะที่มันเกิดขึ้น
  
38:52   
 
38:57   
 
39:00  การเฝ้าดูทำให้เห็นการตอบสนองทางตา
ต่อชุดหรือเสื้อเชิ้ตสีน้ำเงิน...
  
39:04  ...เกิดการสัมผัสเชื่อมโยง
ภายในจิตใจ...
  
39:13  ...การเข้าไปในร้าน
การจับต้องเนื้อผ้า...
  
39:22  ...จากนั้นความคิดก็สร้างมโนภาพ
และความอยากก็เกิดขึ้น
  
39:30  ต่อเมื่อความคิดสร้างมโนภาพ
ขึ้นมาเท่านั้น ความอยากจึงเกิดขึ้น
  
39:35   
 
39:38  มิเช่นนั้นแล้วมันก็ไม่เกิดขึ้น
ตอนนี้พวกคุณเข้าใจตรงนี้หรือยัง
  
39:50   
 
39:54  ถูกต้องไหม
 
39:56  ดังนั้นความอยากจึงเกิดขึ้นและเบ่งบาน
ณ ขณะที่คุณสร้างมโนภาพขึ้น...
  
40:02   
 
40:05  ...หรือความคิดสร้างมโนภาพขึ้นมา
 
40:12  เช่น คุณเคยมีประสบการณ์ที่มีความสุข
ไม่ว่าจะเป็นกามารมณ์หรืออะไรก็ตาม
  
40:18  และความคิดก็สร้างมโนภาพขึ้นมา
และคุณก็ไขว่คว้าหาประสบการณ์นั้น
  
40:31  อย่างหนึ่งอยู่ในรูปแบบ
ของความพึงพอใจ...
  
40:37  ...อีกอย่างก็คือการเคลื่อนไหว
ของความอยากที่ขัดแย้งกันเอง
  
40:44  ถูกต้องไหม
 
40:46  เช่นคุณอยากได้เสื้อผ้าชุดนั้น...
 
40:49  ...หรืออยากประสบความสำเร็จ
อย่างยิ่งใหญ่และอื่นๆ
  
40:55  คุณสามารถเฝ้าดูความเป็นจริงนี้...
 
41:00  ...ที่ในขณะซึ่งความคิดสร้างมโนภาพ
ความอยากก็เกิดขึ้นมาได้ไหม
  
41:05   
 
41:16  คุณตื่นรู้ต่อภาวะนี้ไหม
 
41:20  คุณเห็นขณะที่มันเกิดขึ้นจริงๆ ไหม...
 
41:26  ...ว่าความคิดสร้างความอยาก
ที่ไขว่คว้าจะไปให้ถึงเป้าหมาย...
  
41:36  ...โดยผ่านการคิด
จินตนาการขึ้นมาอย่างไร
  
41:41  ถูกต้องไหม
 
41:42  คุณกำลังนั่งอยู่ตรงนั้น
 
41:48  และเฝ้าดูความเป็นจริงนี้เกิดขึ้น
ด้วยตัวคุณเองจริงๆ หรือไม่
  
41:53  เห็นได้ชัดเจนว่ามันง่ายมาก
 
41:55  ใช่ไหม
 
41:57  จากนั้นก็เกิดคำถามว่า
เป็นไปได้ไหมที่ความคิดจะไม่สร้างมโนภาพ
  
42:04  นั่นคือประเด็นสำคัญ
คุณเข้าใจไหม
  
42:10  ผมกำลังทำให้เรื่องนี้
ยุ่งยากอย่างยิ่งหรือไม่
  
42:14  ผมขออนุญาตเสนอแนะว่า...
 
42:19  ...ให้เครื่องมืออันใหม่
เป็นสิ่งที่จับต้องได้ดีไหม
  
42:24  เดี๋ยวก่อนครับ ขอให้ผม
พูดจบก่อนแล้วเราค่อยถาม
  
42:32  ผมขออนุญาตพูดให้จบก่อนได้ไหม
 
42:35  แล้วหลังจากนั้น คุณจึงถามคำถาม
ถ้ายังมีเวลาพอ...
  
42:38  ...เราจะมีการสนทนากันอีกห้าครั้ง
หลังจากจบการบรรยายทั้งหมด
  
42:42  จากนั้นคุณจึงค่อยโจมตีผมด้วยคำถาม
(หัวเราะ)
  
42:45  ดังนั้นขอให้อดทนจนกว่าจะถึงตอนนั้น
 
43:00  เรามาถึงจุดที่ว่า ตัวคุณเอง
เฝ้าดูการผุดโผล่ขึ้นมาของความอยาก
  
43:05   
 
43:15  ใช่ไหม
 
43:18  มีการรับรู้ การเห็น การสัมผัส
และเกิดความรู้สึกทางประสาทสัมผัส
  
43:26  เมื่อถึงตรงนั้น
ความอยากยังไม่เกิดขึ้น
  
43:30  มันเป็นเพียงแค่ปฏิกิริยา
 
43:34  คุณตามทันไหม
 
43:36  แต่ ณ ขณะที่ความคิดสร้างมโนภาพขึ้นมา
วัฏจักรทั้งหมดก็เริ่มต้น
  
43:41  คุณเห็นกระบวนการทั้งหมดนี้ไหม
 
43:45  ถ้าคุณเห็นมันอย่างแจ่มชัดแล้ว
ก็จะเกิดคำถามขึ้นมาว่า...
  
43:50  ...เพราะเหตุใดความคิด
จึงสร้างมโนภาพขึ้นมาเสมอๆ
  
43:57  คุณเข้าใจคำถามของผมไหม
ทำไม
  
44:06  เมื่อคุณเห็นเสื้อเชิ้ตสีแดง
สีน้ำเงิน สีขาว หรือสีอะไรก็ตาม...
  
44:10  ...ก็เกิดความชอบ
หรือไม่ชอบขึ้นมาในทันทีทันใด
  
44:14  แสดงว่าความคิดเคยมีประสบการณ์มาก่อน
เช่น ความชอบหรืออื่นๆ
  
44:20  ดังนั้นคุณจะสังเกตดูเสื้อเชิ้ต
หรือชุดสีน้ำเงินในตู้โชว์...
  
44:29  ...และตระหนักได้
ถึงธรรมชาติของความคิด...
  
44:33   
 
44:39  ...และเห็นอีกด้วยว่า ณ ขณะที่ความคิด
โผล่เข้ามา ปัญหาจึงเริ่มต้นขึ้น
  
44:46  ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องชุด
หรือเสื้อเชิ้ตสีน้ำเงิน เรื่องเพศรสของคุณ...
  
44:50   
 
44:56  ...ประสบการณ์ทางเพศของคุณ
มโนภาพ รูปภาพ ความคิดทำทั้งหมดนั้น
  
45:02  หรือมโนภาพที่ว่าคุณมีตำแหน่ง...
 
45:08  ...มีสถานะภาพ หรือ หน้าที่การงาน
 
45:12  คุณตามทันไหม
ดังนั้นนั่นแหละคือความอยาก
  
45:16   
 
45:20  ดังนั้นคุณจะสามารถเฝ้าดู
โดยไม่เกิดความอยากอันเร่งเร้าขึ้นได้ไหม
  
45:29  คุณเข้าใจคำถามของผมไหม
สืบค้นเข้าไปแล้วคุณจะเห็น
  
45:31  คุณทำได้
 
45:38  นั่นคือเครื่องมืออันใหม่
ซึ่งก็คือการเฝ้าสังเกตดู
  
45:53  จากนั้นความอยากมีความมั่นคงปลอดภัย
ก็เหมือนกัน
  
46:00  เข้าใจไหม
 
46:08  ...ความมั่นคงในรูปของบ้านหลังใหญ่ๆ
บ้านหลังเล็กๆ...
  
46:12  ...บัญชีในธนาคารซึ่งอาจจะจำเป็น...
 
46:13   
 
46:18  ...รวมทั้งความมั่นคงที่ความอยาก
ได้สร้างขึ้นมาเกี่ยวกับตัวเอง...
  
46:25  ...มโนภาพเกี่ยวกับตัวคุณเอง
และปฏิบัติการเติมเต็มให้กับมโนภาพนั้น...
  
46:30  ...ซึ่งเกี่ยวโยงกับความคับข้องใจ
มากมายหลายชนิด...
  
46:36  ...และถึงแม้ว่าจะมีความคับข้องใจ
หรือความขัดแย้ง...
  
46:42   
 
46:48  ...หรือความทุกข์ยากเพียงไรก็ตาม
ความอยากก็ยังคงไล่ไขว่คว้าอยู่ดี...
  
46:53  ...เพราะเหตุว่าความคิด
จะสร้างมโนภาพ...
  
46:58  ...ที่เกี่ยวโยงกับความรู้สึกตื่นเต้น
ทางประสาทสัมผัสอยู่เสมอ
  
47:02  ถูกต้องไหม
ผมไม่รู้ว่าคุณเห็นอย่างนี้ไหม
  
47:11  จากนั้นเราจึงขอถามคำถามต่อไปว่า...
 
47:19  ...ความอยากเป็นสาเหตุ
ของความกลัวหรือไม่
  
47:31  เราแสวงหาความมั่นคง
โดยผ่านความอยาก...
  
47:36  ...และการเติมเต็ม
ให้แก่ความอยากนั้น...
  
47:38  ...เช่นในเรื่องพระเจ้า
ซึ่งเกี่ยวข้องกับจิตใจ
  
47:45  (ผมไม่อยากจะพูดถึง
เรื่องที่ไม่น่ารื่นรมย์นี้ต่อไป)...
  
47:50  ...และโดยที่เราไม่รู้ตัว
เราอาจจะตระหนักอยู่ในใจลึกๆ ว่า...
  
47:57   
 
48:01  ...สิ่งต่างๆ ที่เราได้ลงทุนไปนั้น...
 
48:05  ...หรือที่ความอยากได้ลงทุนไปนั้น
ไม่มีคุณค่าใดๆ เลย
  
48:08  และการที่มันไม่มีคุณค่าใดๆ เลย
คุณจึงกลัว
  
48:11   
 
48:15  คุณเข้าใจไหม คุณตามทันไหม
 
48:17  อีกอย่างเพราะว่า
เราไม่ได้กำลังวิเคราะห์ความกลัวอยู่
  
48:28  การวิเคราะห์เป็นเกมเก่าๆ ที่โง่เขลา
 
48:34  เรากำลังเฝ้าดู
ความเป็นจริงของความกลัว
  
48:41  และเมื่อมันเกิดขึ้นมา ก็เฝ้าดู
และถามว่า รากเหง้าของมันคืออะไร
  
48:50  ซึ่งไม่ใช่การค้นพบรากเหง้าของมัน
โดยการวิเคราะห์...
  
48:56  ...แต่โดยการเฝ้าดูเท่านั้น
คุณจึงค้นพบรากเหง้า
  
49:02  คุณเข้าใจไหม
 
49:08  คุณตามทั้งหมดนี้ทันไหม
 
49:14  ดูเหมือนว่าคุณจะสงสัยอยู่นะ
 
49:17  ผมกำลังจะสืบค้นเข้าไปในเรื่องนี้
 
49:23  มนุษย์ยอมรับ
และมีชีวิตอยู่ด้วยความกลัว
  
49:28  ทั้งภายนอกและภายในจิตใจ
 
49:33  ...ทางภายนอกก็เช่น กลัวความรุนแรง
กลัวจะได้รับบาดเจ็บ และอื่นๆ
  
49:41   
 
49:43  ทางภายในก็เช่น กลัวว่าจะทำตัว
ไม่สอดคล้องเข้ากับแบบแผน...
  
49:50  ...กลัวความคิดเห็นของผู้คน
กลัวว่าจะไม่ประสบผลสำเร็จ...
  
49:53  ...กลัวว่าจะไม่ได้อย่างที่ต้องการ
และอื่นๆ...
  
49:59  ...ซึ่งคุณรู้ดี เป็นเรื่องทางจิตใจ
 
50:02  เราจึงขอถามตามความเป็นจริงว่า...
 
50:07  ...คุณสามารถเฝ้าดู
ความเป็นจริงนั้น...
  
50:15  ...โดยที่จิตไม่เข้าไป
คิดวิเคราะห์มัน...
  
50:20  ...แต่เฝ้าดูการเคลื่อนไหวทั้งหมด
ของความกลัวอย่างที่มันเป็นอยู่ได้ไหม
  
50:26  คุณเข้าใจไหม
 
50:33  คุณเหนื่อยหรือยัง
 
50:35  เหลืออีกสิบนาที!
อดทนหน่อยนะ
  
50:47  เพราะคุณเห็น มันจึงเป็นไปได้...
 
50:51  ...ที่จะเป็นอิสระอย่างสิ้นเชิง
จากความกลัว
  
51:00  อย่ายอมรับคำพูดของผม
เพราะมันเป็นชีวิตของคุณ...
  
51:03   
 
51:05  ...ไม่ใช่ชีวิตของผม
คุณต้องค้นหาคำตอบเอง
  
51:13  ดังนั้นคุณต้องถามว่าความกลัวคืออะไร
 
51:20  รากเหง้าของความกลัว
อยู่ในความอยากใช่หรือไม่
  
51:24  ขอให้สืบค้นเข้าไปช้าๆ
อย่าเพิ่งปฏิเสธว่าไม่ใช่ ขอให้สืบค้นเข้าไป
  
51:30  เราเคยพูดไปแล้วว่า...
 
51:34  ...ความอยากก็คือการที่ความคิด
สร้างมโนภาพขึ้นมา...
  
51:37  ...และไขว่คว้าไปตามมโนภาพนั้น...
 
51:41  ...ซึ่งอาจจะได้หรือไม่ได้ดั่งใจ
ตามมโนภาพนั้น
  
51:47  คุณตามทันไหม
 
51:49  ถ้าหากได้ดั่งใจ ก็ไม่มีความกลัว...
 
51:52  ...หรืออย่างน้อยที่สุด
ก็อาจจะมีเคราะห์ร้ายอย่างอื่นเกิดขึ้น
  
51:59  แต่ถ้าไม่ได้สมดังใจอยาก...
 
52:03  ...ก็จะเกิดความคับข้องใจและความกลัว
ว่าไม่สามารถได้ตามอยากนั้น
  
52:10  คุณเข้าใจไหม
 
52:13  ผมหมายถึงการเติมเต็ม
ให้ได้ตามความอยากในเรื่องทางเพศที่ซับซ้อน...
  
52:20  ...และดูเหมือนว่า
ตอนนี้โลกเพิ่งจะค้นพบ...
  
52:27  ...และพูดถึงมันกันมาก
เรื่องความสำส่อนและทำนองนั้น
  
52:32   
 
52:37  ดังนั้นเราจึงถามว่า
ความกลัวคือผลิตผลของความอยากหรือไม่
  
52:50  ความอยากก็คือการสร้างมโนภาพขึ้นมา
และการเติมเต็มให้แก่มโนภาพนั้น
  
52:54  ถูกต้องไหม
 
53:03  กรุณาตั้งใจฟัง
 
53:05  หรือว่าความกลัวเป็นส่วนหนึ่ง
ของกาลเวลาใช่ไหม
  
53:14  คุณเข้าใจไหม ความกลัวคือ
การเคลื่อนไหวของกาลเวลาใช่ไหม
  
53:23  ถ้าเช่นนั้น ความอยากและกาลเวลา
คือสาเหตุของความกลัวใช่หรือไม่
  
53:34  คุณเข้าใจไหม โอ!พระเจ้า
 
53:43  ผมจะอธิบายช้าๆ
ค่อยๆ เคลื่อนไปช้าๆ นะ
  
53:52  ความอยากคือการเคลื่อนไหวของความคิด
พร้อมกับมโนภาพของมัน
  
54:04  นั่นคือการเคลื่อนไหวของความคิด
สร้างมโนภาพขึ้นมา...
  
54:09  ...และการเคลื่อนไหวของมโนภาพนั้น
ก็คือกาลเวลา ถูกต้องไหม
  
54:16   
 
54:18  ไม่ถูกหรือ
 
54:21  ไม่ใช่เวลาตามนาฬิกาที่เป็นไปตามลำดับ
แต่เป็นกาลเวลาของจิตใจ
  
54:25  เราจึงถามว่ากาลเวลา
คือสาเหตุของความกลัวเช่นเดียวกันใช่ไหม
  
54:34  กาลเวลาของความอยาก
อา...ผมเข้าใจแล้ว
  
54:38  คุณเข้าใจไหม
 
54:39   
 
54:44  กาลเวลาที่ความอยากสร้างขึ้น
และความคิดสร้างความอยากขึ้นมา...
  
54:49  ...ความคิดก็คือกาลเวลาเช่นเดียวกัน
 
54:54  ดังนั้นความคิดและความอยาก
จึงเป็นสาเหตุของความกลัว
  
55:05  คุณเห็นอย่างนั้นไหม
 
55:08  เช่นผมกลัวว่าคุณอาจจะทำอะไรผม
 
55:13  ผมกลัวว่าคุณอาจจะทำร้ายจิตใจผม
 
55:20  ผมกลัวว่าสุนัขตัวนั้นจะกัดผม
 
55:26  แต่ในขณะที่สุนัขกำลังกัดนั้น
กาลเวลายุติลง
  
55:35  คุณเข้าใจไหม
มันแค่ว่าสุนัขอาจจะกัดผม
  
55:42  ผมได้สร้างมโนภาพขึ้นมา
หรือความคิดสร้างมโนภาพขึ้นมา...
  
55:46  ...ว่าสุนัขกัด
ซึ่งเป็นกาลเวลาในอนาคต
  
55:49   
 
55:54  ทั้งหมดนี้คุณตามทันไหม
 
55:58  ดังนั้นความอยากจึงมีอนาคตของมัน
และเวลาก็คืออนาคต...
  
56:04  ...เป็นเรื่องอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
 
56:13  ดังนั้นคำถามก็คือ
ความคิดสามารถตระหนักรู้ได้ไหม...
  
56:21  ...ว่าการเคลื่อนไหวของมันเอง
สร้างความกลัวขึ้นมา
  
56:30  คุณเข้าใจไหม ความคิดตระหนักรู้
ถึงธรรมชาติของมันเอง
  
56:35   
 
56:45  เมื่อมันตระหนักรู้ว่า...
 
56:50  ...ธรรมชาติของมัน
เป็นตัวปฏิบัติการสำคัญของความกลัว...
  
56:54  ...แล้วจะเกิดอะไรขึ้น
 
56:58  จากนั้นก็มีแต่สิ่งที่กำลังเกิดขึ้น
อยู่จริงๆ เท่านั้น
  
57:04  ผมสงสัยว่าคุณจะเห็นอย่างนั้นไหม
กรุณาตามมาครับ!
  
57:11  เพราะมันคงจะควรค่า
ถ้าเราสามารถคิดในเรื่องนี้ร่วมกัน
  
57:15   
 
57:21  จากนั้นคุณจะออกจากเต็นท์นี้ไป...
 
57:24  ...โดยเข้าใจถึงการเคลื่อนไหว
ของความกลัว...
  
57:25  ...และตระหนักรู้
ถึงธรรมชาติของความอยาก...
  
57:31  ...และธรรมชาติของความคิดอันจำกัด...
 
57:36  ...ที่สร้างกาลเวลาขึ้นมา
ซึ่งก็คือความกลัว
  
57:43  คุณเข้าใจไหม
คุณตระหนักรู้หรือยัง
  
57:47  หรือว่าคุณเพียงแต่ยอมรับ
คำพูดเท่านั้นใช่ไหม
  
57:54  คุณเข้าใจไหม
 
57:56  ถ้าคุณตระหนักรู้ในเรื่องนี้
ปัญหาก็จบ
  
58:00  ไม่มีคุรุ ไม่มีพระเจ้า
หรือสิ่งไร้สาระทั้งหมดนั้นอีกต่อไป
  
58:11  ผมฟังมาเรื่อยๆ
แต่ความคิดของผมไม่ยอมหยุด...
  
58:17  ไม่ใช่ มันไม่ใช่ประเด็นปัญหาว่า
ความคิดหยุดลง
  
58:24  ไม่ใช่ อย่าเพิ่งพูดถึงความคิดหยุด
อีกซักครู่เราจะถกเรื่องนั้นกัน...
  
58:28  ...เมื่อเราพูดถึงสมาธิ
ถ้าคุณสนใจ
  
58:31  การหยุดความคิดไม่ใช่ประเด็น
 
58:33  ผมกำลังถามว่า ตัวความคิดเอง
ตระหนักรู้ถึงสิ่งที่มันกำลังทำอยู่หรือไม่
  
58:42  รู้ว่ามันได้สร้างความอยากขึ้นมา
 
58:48  และการเติมเต็มให้แก่
ความอยากนั้นคือกาลเวลา
  
58:54  และกระบวนการนั้นพัวพันกับความกลัว
 
58:58  และความคิดก็ยังได้สร้าง
สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นอีกด้วย
  
59:06  เช่น ผมเคยเจ็บปวด...
 
59:08  ...ผมหวังว่าจะไม่ต้องเจ็บปวดอีก
ซึ่งเป็นเรื่องในอนาคต
  
59:14  ดังนั้นความคิดจึงสร้างอนาคตขึ้นมา
 
59:20  ถูกต้องไหม
 
59:21  และอนาคตกาลก็คือธรรมชาติแท้ๆ
ของความกลัว
  
59:25  ผมไม่แน่ใจว่าคุณเข้าใจหรือเปล่า!
 
59:31  ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าหากผมตายในทันทีทันใด...
  
59:36  ...ย่อมไม่มีความกลัวเกิดขึ้น
 
59:42  ถ้าหากผมหัวใจวายอย่างฉับพลัน...
 
59:46  ...ตายไป
ย่อมไม่มีความกลัวเกิดขึ้น
  
59:52  แต่ถ้าหัวใจของผมอ่อนแอ
ผมคิดว่าอาจจะตาย ซึ่งเป็นเรื่องในอนาคต
  
59:58  อนาคตกาลคือการเคลื่อนไหว
ของความกลัว เข้าใจไหม
  
1:00:02  ขอให้เห็นความจริงของมัน
ไม่ใช่ข้อสรุปของคุณ...
  
1:00:09  ...ไม่ใช่พูดว่า "ใช่ ฉันเห็นมัน"
แต่เห็นสัจธรรมของมัน
  
1:00:16  จากนั้นสัจธรรมก็จะทำงานเอง
โดยที่คุณไม่ต้องทำอะไรเลย
  
1:00:28  ถ้าคุณเห็นสัจธรรมนั้น
และสัจธรรมนั้นก็คือความเป็นจริง...
  
1:00:34   
 
1:00:39  ...จากนั้น ความคิดก็พูดว่า
"เข้าใจแล้ว ฉันจบแล้ว"
  
1:00:44  เพราะความคิดไม่สามารถปฏิบัติการ
ต่อความเป็นจริงได้
  
1:00:48  มันจะปฏิบัติการต่ออะไรบางอย่าง
ที่ไม่ใช่ความเป็นจริง
  
1:00:54  ดังนั้นหลังจากที่คุณได้ฟังถ้อยคำ
พล่ามเพ้อมากมายนี้แล้ว...
  
1:01:10  ...คุณตระหนักรู้ถึงธรรมชาติ
ของความกลัวแล้วหรือยัง
  
1:01:20  เห็นความจริงแท้ของมัน
 
1:01:24  ถ้าหากคุณเห็นความจริงแท้ๆ
ของมันจริงๆ ความกลัวก็หายไป
  
1:01:33  มันไม่ใช่เรื่องที่คุณจะไป
ควบคุมความคิด
  
1:01:36  คุณนั่นแหละคือความคิด
คุณเข้าใจไหม
  
1:01:41  นี่คือการถูกครอบงำ
อันน่าประหลาดอย่างหนึ่งของเรา...
  
1:01:44  ...ที่ว่าคุณแตกต่างจากความคิด...
 
1:01:49  ...จึงทำให้คุณบอกว่า
"ฉันจะควบคุมความคิด"
  
1:01:53  ถ้าหากเราแตกต่างจากความคิด...
 
1:01:57  แต่เมื่อคุณตระหนักว่า
ตัวความคิดนั้นคือ "ตัวฉัน"...
  
1:02:03  ...และความคิดนั้นสร้างอนาคตขึ้นมา
ซึ่งก็คือความกลัว...
  
1:02:07  ...และเห็นความเป็นจริงของมัน...
 
1:02:09  ...ไม่ใช่เห็นโดยการคิดเอา
อย่างเป็นเหตุเป็นผล...
  
1:02:15  ...เพราะคุณไม่สามารถเห็นความเป็นจริง
ด้วยการนึกคิดเอา
  
1:02:17  คุณอาจจะเข้าใจคำอธิบาย
อย่างแจ่มแจ้งด้วยการขบคิด...
  
1:02:24  ...แต่นั่นไม่ใช่การเห็นความเป็นจริง
 
1:02:27  ความจริงแท้ๆ
คือความเป็นจริงที่ว่า...
  
1:02:32  ...อนาคตกาลหรือการเคลื่อนไหวทั้งหมด
ของอนาคตกาล...
  
1:02:34  ...ก่อกำเนิดความกลัวขึ้นมา
 
1:02:45  ทีนี้คุณเคยได้ยิน ได้ฟัง
เรื่องนี้มาก่อน...
  
1:02:48  ...ในวิถีทางที่อาจจะแตกต่างออกไป...
 
1:02:51  ...ด้วยคำอธิบายที่ต่างกัน
และในโอกาสต่างๆ กัน...
  
1:02:55  ...แต่คุณก็มาชุมนุมกันที่นี่อีก...
 
1:02:58  ...และในเช้าวันนี้คุณก็ได้ยินได้ฟัง
การอธิบายอย่างแจ่มแจ้ง...
  
1:03:03  ...ซึ่งไม่ใช่การวิเคราะห์
 
1:03:08  และคุณเป็นอิสระ
จากความกลัวแล้วหรือยัง
  
1:03:10   
 
1:03:13  นั่นเป็นการทดสอบ
 
1:03:19  ถ้าคุณยังคงกลัวอยู่
คุณจะพูดว่า...
  
1:03:20   
 
1:03:21  ..."ฉันกลัวนั่น...นี่"
และอะไรทำนองนั้น...
  
1:03:24  ...แสดงว่าคุณไม่ได้ฟังจริงๆ...
 
1:03:42  ขอให้เราพูดเรื่องนี้กันต่อ
ในวันพฤหัสบดี...
  
1:03:45  ...หรือวันมะรืนนี้ตอนเช้าได้ไหม
 
1:03:48  ได้ไหม